อื่นๆ

การบูลลี่ กับ เสรีภาพ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การบูลลี่ กับ เสรีภาพ

การเปลี่ยนแปลงในโลกของการกลั่นแกล้งมันมีความซ่อนเร้นความสองมาตรฐานเอาไว้ข้างใต้ลึกสุดของจิตใจมนุษย์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านการกระทำ โดย ผู้ที่บงการเบื้องหลังพฤติกรรมของเราอาจจะเป็นสังคมที่ทำให้เราต้องเป็นแบบนั้น หรือ ถ้าหากเราหยิบยกความคิดแบบสมัยใหม่ที่เชื่อว่า “เรานั้นเป็นเอกเทศจากพระผู้เป็นเจ้า เราจะสามารถแสวงหาความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาพระองค์ แต่พึ่งพาตนเองที่มีเจตจำนงเสรี” นี่คือแนวความคิดแบบเดนการ์ดผู้ที่มองว่า

“มนุษย์นั้นไม่ได้ถูกบงการโดยพระผู้เป็นเจ้า หากแต่เราคิดว่าเราถูกบงการมากกว่า ฉะนั้นมันจึงไม่มีผู้ที่ทำให้เราคิดตามว่าเราถูกบงการเหนือเสียจากพระผู้เป็นเจ้า”

แต่นั้นเป็นความคิดยอดแรกที่มีข้อยืนยันว่าเรานั้นเป็นเอกเทศ และ เป็นอิสระ อย่างแท้จริงทางความคิด และ การกระทำ แต่ในท้ายที่สุดสังคม และ รัฐ ขีดเส้นค่าตายตัวว่าบางสิ่งบางอย่างมันมีขีดจำกัด หรือ ขอบเขตของมัน ฉะนั้นแล้วอิทธิพลทั้งในทางศาสนาที่ผลิตซ้ำชุดศีลธรรมขึ้นมาผ่านทาง “กฏ” และ ชุดแบบแผนนึง(Typicality)

Advertisement

Advertisement

ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้เองว่าเมื่อการสร้างชุดศีลธรรมใดขึ้นมา ถ้าให้เรายกตัวอย่างก็คงเป็นการกระทำแบบคริสต์จักรการสร้างชุดความคิดขึ้นมาเพื่อครอบงำและบอกว่าเป้าหมายจริง ๆ แท้ก็คือพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด การไถ่บาป หรือ การลดโทษ นั้นก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราถูกบงการโดยมนุษย์ที่นำพระเจ้ามาเป็นเครื่องมือ หรือ มันอาจเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าเองที่เป็นนามธรรมโดยคนเหล่านั้นถูกพระองค์ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสรรเสริญ และ ความเกรงขามในอำนาจเหนือธรรมชาตินั้น

ในขณะเดียวกันเสรีภาพจากความเป็นเอกเทศพระเจ้าได้สร้างผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไว้กับโลกในหลายสภาพการณ์ที่แตกต่างกันทั้งเวลาและพื้นที่ นั้นเป็นสิ่งที่จอห์น สจ๊วต มิลล์ เขียนลงบน On liberty งานเขียนของเค้าเกี่ยวกับเสรีภาพกับปัจเจกบุคคล ที่เพื่อยืนยันว่า

Advertisement

Advertisement

“มนุษย์นั้นเป็นอิสระโดยแท้”

ถ้าหากเราพูดตามเจตจำนงเสรี แต่สำหรับมิลล์ได้พัฒนามันจากความเป็นเอกเทศตรงนั้นจนสร้างกรอบใหม่ขึ้นมาเป็นพลเมืองเสรี มันหมายความว่าเสรีภาพของเรานั้นตั้งต้นอยู่บนสิทธิขั้นพื้นฐาน ฉะนั้นแล้วการจะสรุปประเด็นเสรีภาพให้ง่ายดายมากที่สุดเราจะต้องแยกเสรีภาพออกในหลาย ๆ แนวความคิดใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Positive freedom หรือ Negative freedom กับ internal freedom และ external freedom ซึ่งทั้ง 4 ตัวนี้มีเงื่อนไขในการแสดงออกของมัน โดยเงื่อนไขนั้นได้ตีขอบเขตผ่าน “ทางกายภาพ”

เมื่อย้อนกลับมาถึงประเด็นย่อยที่สุดอย่าง “การบูลลี่” ถ้ามองในด้านเสรีภาพกับการบูลลี่นั้นเป็นเรื่องที่ผิดปกติ ถ้าหากเรานับถึงประเภทเสรีภาพและขอบเขต ที่สร้างผลกระทบในทางกายภาพการบูลลี่ที่นิยามความหมายว่า “กลั่นแกล้ง” มันจึงมีความสอดคล้องกับความจริงที่นิยามตัวของมันเป็นแม่แบบสากล

Advertisement

Advertisement

ฉะนั้นแล้วการกลั่นแกล้งในทางกายภาพจึงขัดกับหลักเสรีภาพ แต่ทั้งนี้ขอบเขตของเสรีภาพที่เราต้องพึงระวังไว้เสมอในทางด้านของการแสดงออกที่ในระยะเวลาของตำราปรัชญาการเมืองได้ระบุถึงการตีเส้นต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะการมองถึง “การพูด” ที่มันกลายเป็น “การกระทำที่มิสมควร” นั้นคือเสรีภาพเชิงลบที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพที่ผิดหลัก มันจึงจะย้อนถ้อยคำเหมือนเดิมว่าการบูลลี่ถ้าตามนิยามมันจะผิด ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของบุคคล เพราะ การกระทำดังกล่าวไม่ได้เคารพความเป็นมนุษย์ แต่ในทางกลับกัน

ถ้าเราหยิบยกความสองมาตรฐานและการผลิตสร้างนิยามบูลลี่แบบใหม่ขึ้นมามันจะกลายเป็นว่า “หลักการเบื้องหลังการรณรงค์บูลลี่” ต่าง ๆ นั้นล้มเหลว เพราะ ความสองมาตรฐานนั้นเอง มนุษย์ไม่สามารถยินยอมรับมันในฐานะที่จะต้องรับหลักการดังกล่าวมาใช้โดยขัดแย้งกับธรรมชาติมนุษย์เอง นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมการบูลลี่ถึงมีคนต่อต้าน แต่ก็ยังมีคนทำอยู่ ทั้งนี้เพราะเนื้อหาและหลักการเองมันครอบคลุมทุกประเด็น แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ

“มิติที่ทำไม่ได้ในทุกประเด็นเนื้อหา” หมายความว่า “เราต่อต้านเรื่องนึง แต่เราสนับสนุนให้เกิดการบูลลี่อีกเรื่องนึง”

ฉะนั้นมันจึงเป็นความผิดพลาดที่แสดงให้เห็นถึงความสองมาตรฐานของการรณรงค์บูลลี่ในมิติต่างๆ ถ้าว่ากันบนหลักเสรีภาพทั้งการรณรงค์และการบูลลี่ในนิยามความหมายที่ถูกผลิตใหม่ นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ ถึงแม้ว่านิยามใหม่จะสนับสนุนให้ต่อต้าน Hate speech ก็ตามแต่ถ้าเรายืนยันหลักการเสรีภาพในแบบของมิลล์ เราจะบอกว่า hate speech อยู่บนขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงออกที่สามารถกระทำได้

ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ตามมามันจะเข้าสู่วงแคบอย่าง “วุฒิภาวะ มารยาท ความสมควร” ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นข้อขัดแย้งเชิงศีลธรรมแล้วทั้งสิ้น ในมิตินึงสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถพิทักษ์รักษาความสงบสุขได้จริง มันจึงทำให้ถ้อยคำเหล่านี้ไม่ได้มีรากฐานบนเสรีภาพ ที่จะสามารถทำให้เกิดการพัฒนาได้(มันกลายเป็นว่า สิ่งเหล่านี้มันถูกมาใช้ประกอบเหตุผลไม่ใช่แค่ฝ่ายจารีตในประเทศไทยเท่านั้น)

ฉะนั้น การบูลลี่จึงเป็นสิ่งที่เสรีภาพสามารถตีแผ่กว้างให้ทำชอบธรรม การตีกว้างผลลัพธ์ที่เกี่ยวโยงกับความรู้สึกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกิดการต่อต้านในการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในภาคประชาสังคม การนำหลักรณรงค์ดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อท้าทายธรรมชาติของมนุษย์แต่ในปัจจุบัน

มันไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้และจะไม่บรรลุ มันจึงเป็นคำถามที่ต้องทบทวนว่าเราควรจะปรับตัวกับการกระทำเหล่านี้ได้อย่างไร? และ ควรจะพิจารณาความเหลื่อมล้ำจากทุนทางสังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจอย่างไร? นั้นจึงเป็นคำถามท้าทายหลักการรณรงค์บูลลี่ในมิติต่าง ๆ ที่ไม่อาจสามารถทำได้อย่างแท้จริง..

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
WittgensteinMIZ
WittgensteinMIZ
อ่านบทความอื่นจาก WittgensteinMIZ

ผู้เขียนเคยทำ blog และ เพจซึ่งทำหน้าที่ผลิตบทความเป็นตัวอักษรขึ้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ส่วนใหญ่

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์