อื่นๆ

คุณมีวิธีการเผชิญกับความเครียดอย่างไร ด้วยกลไกการป้องกันตนเอง (Defense Mechanisms)

202
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คุณมีวิธีการเผชิญกับความเครียดอย่างไร ด้วยกลไกการป้องกันตนเอง (Defense Mechanisms)

กลไกการป้องกันตนเอง (Defense mechanisms) คือ วิธีการของจิตใจ ซึ่งใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ตั้งแต่ปัญาที่เล็กน้อยไปจนถึงปัญหาที่ใหญ่ในชีวิต มนุษย์จะใช้กลไกการป้องกันตนเองเพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายใจขึ้น

จุดมุ่งหมายในการใช้กลไกการป้องกันตนเอง

1. ใช้ป้องกัน Ego จากสิ่งที่มาคุกคาม และโลกภายนอกที่จะมาทําให้ Ego อ่อนแอลง หรือทําให้เกิดความไม่สบายใจ

2. เป็นวิธีแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เป็นการใช้แก้ไขแก้ไขปัญหาในขณะที่เกิดปัญหา แต่ปัญหานั้นก็จะยังไม่ถูกแก้ไข เพราะการใช้กลไกการป้องกันตนเองจะทำให้ตนเองรู้สึกสบายใจไปชั่วขณะ

3. การใช้กลไกการป้องกันตนเองทำให้ตัวเองรู้สึกภูมิใจ รู้สึกว่าตนมีคุณค่า ไม่ใช่ผู้ผิด

4. เพื่อลดความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกมีความสุขมากขึ้น

ชนิดของกลไกการป้องกันตนเอง

1. การเก็บกด (Repression)

Advertisement

Advertisement

เป็นรากฐานของกลไกการป้องกันตนเองทุกชนิด เป็นวิธีการขจัดความคับข้องใจที่ไม่มีทางแก้ไขได้ หรือประสบการณ์ปวดร้าวที่ได้รับ หรือความต้องการที่ไม่ได้รับการยอมรับ หรือสภาพการบางอย่างที่ทําให้บุคคลสะเทือนใจหรือไม่สบายใจให้ออกไปจากความทรงจํา เป็นการเก็บกดความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แรงขับ ความจําที่ขัดแย้งและก่อให้เกิดความปวดร้าวทางจิตใจอย่างรุนแรงต่างๆซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับจากระดับจิตสํานึกไปสู่ระดับจิตไร้สํานึก เป็นการเก็บกดอย่างไม่ได้ตั้งใจ (Involuntary) เป็นกลไกป้องกันปฐมภูมิ (Primary ego defense) และเกิดจากกระบวนการจิตไร้สํานึก เป็นการปรับตัวที่พยายามลืมสิ่งที่ตนเองไม่ต้องการ โดยไม่ยอมรับรู้หรือเวลาทําผิดก็พยายามลืมเสีย ทําให้ความทุกข์เหล่านั้นไปสะสมอยู่ที่จิตไร้สํานึก (unconscious) เพื่อจิตใจไม่ต้องรับรู้ความเจ็บปวด

Advertisement

Advertisement

การเก็บกด (Repression)2. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)

เป็นการหาเหตุผลซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงมาป้องกันตัวเองจากข้อบกพร่องต่างๆ เป็นการให้เหตุผลแก่ตนเองสําหรับพฤติกรรมต่างๆซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตําหนิหรือเพื่อรักษาหน้าของตนเอาไว้และกันไม่ให้รู้สึกว่าตนผิด โดยอาศัยเหตุผลและสติปัญญาเพื่ออธิบายพฤติกรรมที่กระทําลงไป บุคคลก็รู้ถึงสิ่งที่กระตุ้นให้เขาทําพฤติกรรมเช่นนั้น แต่เพราะมันเป็นภัยต่อความรู้สึกมั่นคงและความภาคภูมิใจในตนเองจึงต้องหาสาเหตุอื่นมาปลอบใจ คนที่ใช้กลไกทางจิตชนิดนี้มักจะพูดว่า "ฉันทําสิ่งนี้ เพราะ..."

การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)3. การโทษผู้อื่น (Projection)

เป็นการซัดทอดความคิด ความรู้สึก หรือแรงขับดันที่ไม่พึงพอใจไปให้ผู้อื่นเพื่อให้ตนเองพ้นผิดและสบายใจ ดังสุภาษิต “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” กลไกชนิดนี้คนปกติก็เคยใช้แต่จะใช้นานๆครั้งและไม่รุนแรง

Advertisement

Advertisement

การโทษผู้อื่น (Projection)4. การปฏิเสธ (Denial)

เป็นกลไกการป้องกันตนเองที่พบบ่อยที่สุดในเวชปฏิบัติทั่วไป หมายถึง การไม่ยอมรับรู้หรือปฏิเสธ ความคิด ความรู้สึก แรงขับ ความจํา พฤติกรรม หรือสภาพการณ์บางอย่างที่ก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง

กลไกชนิดนี้อาจเป็นขบวนการที่ปกติใช้เพื่อชะลอหรือปกป้องจิตใจจากข่าวร้ายที่ได้รับ เช่น นายแดงได้รับข่าวร้ายทางโทรศัพท์ว่ามารดาซึ่งแข็งแรงดีได้รับอุบัติเหตุเสียชีวิต ทันทีที่ผู้รายงานพูดจบประโยค นายแดงอุทานทันทีว่า "ไม่จริง เป็นไปไม่ได้" เมื่อนายแดงมีเวลาตรวจสอบข่าวร้ายนั้นพบว่าเป็นความจริงในที่สุดเขาก็ยอมรับ ถือว่านายแดงมีสุขภาพจิตปกติ

การปฏิเสธ (Denial)5. การแยกตัว (Isolation)

เป็นการแยกตัวเองตามลําพังเมื่อเกิดปัญหาและความข้องกับใจ เมื่อลองหาทางออกด้วยกลไกป้องกันตนเองแบบต่างๆแล้วไม่ได้ผล จนกระทั่งในที่สุดก็พบว่าวิธีหลบหนีไปให้พ้นจากสถานการณ์นั้นๆ โดยแยกตัวเองออกไปจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ เพราะตามหลักความจริงถ้าคนเราไม่พยายามต่อสู้อุปสรรคหรือแก้ปัญหา ความผิดหวังหรือเจ็บซ้ำที่จะได้รับจากการเผชิญสถานการณ์ย่อมไม่มี ดังนั้นบางคนจึงชอบวิ่งหนีปัญหาเอาดื้อๆเพื่อความสบายใจชั่วขณะ

การแยกตัว (Isolation) กลไกการป้องกันตนเอง (Defense Mechanisms) ยังมีอีกมากมายหลายชนิด แต่ละบุคคลก็มีกลไกการป้องกันตนเองที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ เพียงแต่ต้องปรับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลทางจิตใจ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์