อื่นๆ

ผลกระทบของค่าเงินบาทที่แข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ผลกระทบของค่าเงินบาทที่แข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง

ถ้าเราลองย้อนดูค่าเงินบาทในช่วงเวลาที่ผ่านมา จะพบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินในโลก ยกเว้นคริปโตเคอเรนซี อย่างบิตคอยน์ ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างก้าวกระโดด

และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยได้ทำสถิติแข็งค่าสูงที่สุดในรอบ 6 ปี อยู่ที่ 30.330 บาท ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จนทำให้ค่าเงินบาทของไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ ในทวีปเอเชียในปีนี้ แข็งค่าไปแล้วเกือบๆ 7% (Cr.สำนักข่าว Bloomberg)

[อัพเดท : 30/12/2562 ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง ณ ดอลลาร์ละ 29.88 บาท ก่อนจะปิดที่ระดับ 29.92 บาทในช่วงสิ้นปีซึ่งแข็งค่าขึ้น 8.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว]

อะไรที่ถึงทำให้ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าได้มากถึงขนาดนี้ ?

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่านี่เป็นคำถามที่น่าจะตอบได้หลายแบบตามทฤษฎีไม่ว่าจะเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง, ความเข้มแข็งทางการเงินหรือทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น, การลงทุนจากต่างประเทศ, อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการท่องเที่ยวและปริมาณการค้า

Advertisement

Advertisement

แต่ถ้าเราลองนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์จะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเทศไทยมีดุลการค้าเป็นบวก(ดุลการค้าเกินดุล)มาตลอด 4–5 ปีที่ผ่านมา หรือในอีกความหมายคือ ส่งออก(ขาย/ได้รับเงิน) มากกว่า นำเข้า(ซื้อ/จ่ายเงิน) ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นไปตามกลยุทธ์ของรัฐบาลที่ต้องการขยาย GDP โดยเน้นการส่งออกเป็นหลัก รวมถึงดูจากสถิติจะพบว่าเราบริโภคสินค้าต่างประเทศในแนวโน้มที่ลดลง แต่ต่างชาติกลับบริโภคสินค้าของเรามากขึ้น จึงส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น

สุดท้ายแล้วเมื่อมีเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าไหลออก ก็ส่งผลให้มีความต้องการแลกเงินต่างชาติเป็นไทยเพิ่มขึ้น เมื่อค่าเงินเรามีคนต้องการเพิ่มขึ้น ก็จะแข็งค่าขึ้นตามเมื่อเทียบกับสกุลต่างชาติ

[ อัพเดท :ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ค่าเงินบาทถึงแข็งค่าขึ้น
1) ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลงในช่วงวันเวลาที่ผ่านมา
2) แนวโน้มการเจรจาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ (Trade War) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะลงทุนในตลาดเอเชีย ทำให้มีเงินไหลเข้ามามาก เช่นเดียวกับค่าเงินต่างๆในภูมิภาคเอเชียที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นไปพร้อมๆ กัน รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นก็ทำให้นักลงทุนย้ายเงินออกจากสกุลดอลล่าร์ที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ออกมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ดอลล่าร์ก็เลยอ่อนไปด้วยครับ ]

Advertisement

Advertisement

การส่งออก

การแข็งค่าของเงินบาทที่เกิดขึ้นมีผลกระทบกับเราอย่างไร

ถ้าจะตอบแบบง่าย สั้น และเร็วที่สุด คงหนีไม่พ้นปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจไทย อย่าง “การส่งออก”

เพราะการที่เงินบาทแข็ง คนไทยซื้อสินค้าต่างประเทศถูก กลับกันชาวต่างชาติก็ซื้อสินค้าของไทยไทยในราคาที่แพงขึ้นด้วย ทำให้เขาก็ชะลอคำสั่งซื้อสินค้า แล้วรอการปรับตัวของค่าเงินบาท เพื่อรอราคาถูกลง เป็นไปตามกลไกตลาดปกติ รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอย่างสหรัฐฯ จีน ยุโรป และญี่ปุ่นก็ได้ชะลอตัวลง จนส่งผลให้การส่งออกล่าสุดของไทยหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด

สังเกตได้จากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกกำหนดราคาในรูปของเงินสกุลต่างประเทศ เช่น USD, Euro ถึงแม้ราคาในตลาดโลกไม่ได้เปลี่ยนมากนัก แต่ด้วยค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมามาก ทำให้ราคาสินค้าเกษตรส่งออกในรูปเงินบาทต่ำลง

ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทยในอุตสาหกรรมการส่งออก ทำให้รายได้เกษตรกรลดลง แม้จะเรากระจายตลาดส่งออกมากขึ้นก็อาจจะไม่ช่วย ถ้าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน

Advertisement

Advertisement

นอกจากเรื่องการส่งออกแล้ว การแข็งค่าของเงินบาทก็ยังมีผลกระทบต่อปัจจัยอื่นๆ อีกมาก เช่น

📌 ราคาของที่นำเข้ามาส่วนใหญ่ถูกลง

ของถูกลงใช่ว่าจะดี แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องของการหิ้วของ brand name เข้าประเทศแบบผิดกฏหมาย เพราะเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น 5% ก็เท่ากับราคาของจากต่างประเทศมีราคาถูกลง 5% ทันที

📌ของแพงในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

เพราะการท่องเที่ยวไทยกลายเป็นสินค้าราคาแพงในสายตานักท่องเที่ยวจากทุกประเทศทั่วโลก

เพราะในขณะที่ความแปลกใหม่และความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวไทยและวัฒนธรรมไทย ในสายตานักท่องเที่ยวเองก็ไม่ได้มีมากไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านของเราที่เปิดใหม่ อย่างเช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม แถมค่าเงินถูกกว่าเงินบาท

ทำให้นักท่องเที่ยวก็จะหันไปเที่ยวประเทศอื่นเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบรายได้ของร้านค้า ร้านอาหาร การจ้างงาน และเม็ดเงินที่หมุนเวียนในระบบของไทยลดลง

📌 สำหรับคนไทยที่ทำงานรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนในรูปสกุลเงินต่างประเทศ ก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน

เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้น ก็เท่ากับได้เงินเดือนลดลง เงินบาทที่ส่งกลับบ้านก็ลดลง ตรงกันข้ามบริษัทต่างชาติที่ตั้งอยู่ในไทยและต้องจ่ายค่าตอบแทนในรูปเงินบาท ก็มีต้นทุนแรงงานสูงขึ้นเช่นกัน

ถ้ากลุ่มบริษัทเหล่านี้ทนไม่ไหว ก็อาจจะต้องย้ายฐานไปผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน ที่นอกจากค่าแรงจะต่ำกว่าแล้ว ค่าเงินก็ถูกกว่าเราอีก

แหล่งที่มา : ภาพโดย MichaelWuensch จาก Pixabay

เหรียญมีสองด้านเช่นใด ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ก็ย่อมมีผลดีกับเราเช่นกัน

  • ต้นทุนในการท่องเที่ยวต่างประเทศถูกลง เพราะค่าเงินบาทที่แข็งส่งผลให้เราสามารถแลกเงินต่างประเทศในปริมาณเท่าเดิมด้วยเงินบาทที่ถูกลงได้ จะเรียกได้ว่า ตอนนี้เป็นช่วงที่ควรเที่ยวต่างประเทศมากที่สุด
  • การนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในก่อสร้างและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของรัฐมีต้นทุนที่ถูกลง รวมถึงลดความรุนแรงของผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นนอกจากค่าแรงจะต่ำกว่า ค่าเงินก็ถูกกว่าเราอีก

ถ้างั้นค่าเงินบาทควรแข็งหรืออ่อน ถึงจะดีกับประเทศเรา ?(อัพเดท)

ค่าเงินบาทแบบไหนที่จะดีกับประเทศ ควรขึ้นอยู่กับโครงสร้างของประเทศนั้นๆ ซึ่งหากประเทศนั้นยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ค่าเงินแข็งก็จะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อระบบเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่สำคัญของโลกที่เน้นการส่งออกต่างๆ เช่น การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และสินค้าเกษตร อีกทั้งเรายังต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวในประเทศอีกด้วย ซึ่งค่าเงินที่แข็งเกินไปในระยะยาวอาจจะส่งผลไม่ดีต่อเศรษฐกิจเราได้

ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดของค่าเงินบาทที่มีต่อประเทศคือ ค่าเงินบาทที่ควรมีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนขึ้นหรือลงเร็วจนเกินไป จนส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวไม่ทัน

สิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมุมมองของนักลงทุน

นักลงทุนต่างชาติจะชะลอการเอาเงินทุนเข้าประเทศไทย รวมถึงอาจมีการเทขายหุ้นและชะลอเวลาคำสั่งซื้อการส่งออกเพื่อรอของถูกลง

ในขณะเดียวกัน นักลงทุนในประเทศทั้งรายย่อยทั้งรายใหญ่ รวมถึงนักท่องเที่ยวไทย นักเรียนที่กำลังจะไปเรียนต่อจะมีการระดมซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บไว้ (ซึ่งก็คือการขายเงินบาท)

แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นเราจะสามารถแก้ได้ยังไง ?

คงจะตอบได้เพียงคำว่า “ รอ

รอตลาดมันปรับตัวมันเอง ค่าเงินบาทที่แข็งก็จะทำให้คนไทยบริโภคสินค้านำเข้ามากขึ้น ดุลการชำระเงินก็จะเปลี่ยนมาเป็นนำเข้ามากกว่าส่งออก และค่าเงินบาทก็จะตกลงไปในที่สุด ส่งผลให้การส่งออกกลับมาเป็นปกติ ตามกลไกตลาด

แต่ถ้าให้รอ จนถึงตอนนั้น บางทีมันอาจจะสายเกินไปแล้ว

รัฐบาลในฐานะผู้บริหารประเทศและบริหารเศรษฐกิจควรกระตุ้นให้เกิดการบริโภคผ่านการนำเข้ามากขึ้น แต่อีกด้านก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ง่ายเลย เพราะถ้ารัฐบาลออกนโยบายบอกให้ช่วยกันบริโภคสินค้านำเข้าในเวลานี้ คนคงตลกกัน เพราะสภาพเศรษฐกิจตอนนี้ทุกคนก็แทบ “ไม่มีจะกิน” อยู่แล้วจากปัจจัยเศรษฐกิจซบเซาในประเทศ หรือถ้ารัฐบาลยอมเอาเงินไปซื้อสินค้านำเข้าเพิ่ม คนก็น่าจะมองมุมต่างโวยอีกว่าทำไมไม่เอาเงินมาอัดฉีดเศรษฐกิจในประเทศเพื่อเพิ่มการจ้างงานและรายได้คนในประเทศ

waiting

สำหรับมุมมองของผู้เขียน มองว่าปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มีผลกระทบอย่างมากต่อ “การส่งออก” ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย รวมถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน ทางแก้เดิมๆ อาจไม่สามารถช่วยให้การส่งออกดีขึ้นได้ แต่หากจะแก้ได้ในระยะยาว เราควรพึ่งพาลูกค้าต่างชาติน้อยลง หันมาส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สร้างสินค้าที่มีนวัตกรรม และราคาที่ไม่ผันตามตลาดโลกมากนัก รวมถึงสร้างตลาดเพื่อคนในประเทศมากกว่าการส่งออก

****

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญกว่าการแก้ปัญหา คือ การเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าเกิดจากค่าเงินบาทแข็งค่า หรือแท้จริงแล้ว มันมีปัญหาอื่น ที่เป็นระเบิดเวลาซ่อนอยู่ด้วยกันแน่…

ขอบคุณรูปภาพจาก canva และ Pixabay

1.ภาพโดย Markus Distelrath

2.ภาพโดย MichaelWuensch

3.ภาพโดย Free-Photos

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์