อื่นๆ

ย้อนรอยเครื่องจักรไอน้ำ Steam Engine !!

977
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ย้อนรอยเครื่องจักรไอน้ำ Steam Engine !!

เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยก็มีพื้นฐานอะไรไม่ต่างจากการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนมองว่าเทคโนโลยีสมัยเก่าเป็นเพียงของล้าสมัยไม่มีประโยชน์อะไรที่ต้องนึกถึง แต่อันที่จริงถ้าไม่มีเทคโนโลยีสมัยเก่าก็ไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่มีการพัฒนาถ้ามันสมบูรณ์แบบตั้งแต่แรก การพัฒนามันมีไม่หยุดหย่อน ตั้งแต่จากขวดโหลแก้วถนอมอาหารมาเป็นกระป๋องโลหะ ( กระป๋องเดอะตินแคน ) หรือ จากกระดานดำมาเป็นกระดานไวท์บอร์ด เทคโนโลยีบางอย่าง ถึงแม้ว่ามันจะถูกคิดค้นขึ้นมานานแล้ว แต่ก็ยังใช้อยู่นั้นเป็นเพราะยังไม่มีเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ดีกว่า ตอบโจทย์ได้มากกว่า มาแทนที่ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ นั้นก็คือ เครื่องจักรไอน้ำ ใช่แล้ว เครื่องจักรไอน้ำถูกคิดค้นขึ้นก่อนสงครามโลกซะอีก แต่เชื่อไหมว่า ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนยังใช้หลักการของเครื่องจักรไอน้ำอยู่ หลายคนคิดว่าเครื่องจักรไอน้ำหายไปตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว ไม่มีใช้มานานแล้ว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่

Advertisement

Advertisement

เครื่องจักรไอน้ำมีหลักการง่าย ๆ สั้น ๆ ที่ว่าเอาน้ำมา ใช้ความร้อนต้มให้เดือด แล้วเอาความดันไอน้ำไปหมุนเป็นต้นกำลังให้อะไรก็ได้ที่เราต้องการ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (หลักการของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน) หรือ หัวรถจักร (หัวรถจักรสมัยเก่า )  จริง ๆ ถ้าไม่มีเครื่องจักรไอน้ำหลายเมืองคงไม่มีไฟฟ้าใช้กัน เว้นแต่บ้านไหนหรือเมืองไหนมีโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ หรือกังหันลม หรือ เขื่อน แต่ลองคิดดูสิ ทั้ง ๆ ที่โซล่าเซลล์ หรือกังหันลม หรือ เขื่อน ถูดคิดขั้นมาหลายปีแล้ว ทำไมหลาย ๆ เมืองยังไม่ใช้ ก็เพราะ ข้อเสียของมันยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดินฟ้าอากาศ หรือ สภาพภูมิประเทศและโดยเฉพาะเรื่องประสิทธิภาพที่ต่ำ เมืองใหญ่ ๆ ที่มีความต้องการไฟฟ้ามาก ถ้าจะใช้แต่โซล่าเซลล์ หรือ กังหันลม คงจะไม่พอกิน หรือถ้าพอคงต้องใช้พื้นที่ไปอย่างสิ้นเปลืองมาก ๆ ปัจจุบันเลยยังไม่มีโรงไฟฟ้าไหนที่ให้ประสิทธิภาพสูงเท่าโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะให้พลังงานสูง แต่ก็ถือว่าเป็นหลักการที่ไม่ต่างอะไรจากเครื่องจักรไอน้ำที่ เอาความร้อนจากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาต้มให้น้ำเดือดเป็นไอ ไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นถ้าบอกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีลักษณะการทำงานเหมือน ๆ กับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนก็คงไม่ผิดhttps://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F-2411932/

Advertisement

Advertisement

สรุปแล้วหลักการของเครื่องจักรไอน้ำถือว่าเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่มั้ย ?

ผมคิดว่าเป็นนะ เพราะตั้งแต่ที่ถูกคิดค้นขึ้นมายังไม่มีอะไรมาแทนที่มันได้ 100% มีแต่พัฒนาให้เครื่องจักรไอน้ำนั้นทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำงานง่ายมากยิ่งขึ้น แต่หลักการทำงานหลัก ๆ ยังคงเหมือนเดิม ถึงจะมีระบบอื่นมาแทนแต่คนเราก็ยังต้องพึ่งหลักการของเครื่องจักรไอน้ำอยู่ในบางสถานการณ์

ย้อนรอยประวัติของเครื่องจักรไอน้ำ

โธมัส เซฟเวอรี่ คนอังกฤษเป็นนักประดิษฐ์ด้วย ก่อนหน้านี้เขาประดิษฐ์หลายอย่างแต่ที่สร้างชื่อเสียงให้เขาน่าจะเป็นเครื่องสูบน้ำนี่แหละ เครื่องสูบน้ำของโธมัสใช้หลักของสุญญากาศ เครื่องสูบน้ำของเขาจะอัดไอน้ำเข้าไปในกระบอกสูบ ( ลองนึกถึงสลิงป้อนยานะ ) พออัดเต็มที่แล้วเขาก็เอาน้ำเย็นใส่เขาไปในกระบอกสูบที่มีไอน้ำซ้ำ ปรากฏว่า ไอน้ำกลับควบแน่นเป็นน้ำเหมือนเดิม เกิดที่ว่างในกระบอกสูบเป็นสุญญากาศ ลูกสูบเลยถูกดันขึ้นและสูบน้ำขึ้นมาด้วย แต่ ๆ เครื่องสูบน้ำของโธมัส ประสิทธิภาพของเครื่องต่ำมาก ๆ ทำงานได้ไม่ดีเลย ถ้าเขาเพิ่มความดันไอน้ำมาก ๆ ก็ ตูม !! สรุปแล้ว คือ เครื่องสูบน้ำของ โธมัส ใช้งานได้จำกัดมาก ๆ และเขาได้จดสิทธิบัตรไว้ในปี 1698

Advertisement

Advertisement

ต่อมา โธมัส นิวโคเมน ( ชื่อโธมัส เหมือนกันอีก ) เป็นช่างเหล็กในประเทศอังกฤษ เมืองที่โธมัสอาศัยอยู่นั้น ประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อย ๆ และอยู่ใกล้เหมืองแร่ด้วย ทำให้เหมืองขุดลึกไม่ได้เพราะถ้าขุดลึกน้ำจะทะลักออกมา โธมัสเกิดปัญหาขึ้นวิธีแก้ไขของเขาคือ เขาสร้างเครื่องสูบน้ำขึ้นมาเพื่อดูดน้ำออกจาเหมืองใกล้ ๆ เมืองของเขา หลักการของเครื่องสูบน้ำของโธมัสไม่ต่างอะไรจากโธมัสในปี 1698 แต่เครื่องสูบน้ำของ โธมัส นิวโคเมน ทำงานได้ดีกว่าถึงแม้จะมีขนาดใหญ่และเสียงดัง แต่ติดลิขสิทธิ์ นิวโคเมน เลยต้องเป็นหุ้นส่วนกับ เซฟเวอรี่ ในเวลาต่อมาhttps://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-4524438/

แล้วใครเป็นคนประยุกต์เครื่องจักรไอน้ำให้เคลื่อนที่ได้  ?

ริชาร์ด ทรีวิธิค เขาเป็นคนอังกฤษอีกแล้ว เขามีความสนใจในเครื่องจักรไอน้ำมาก เขาอยากช่วยพ่อของเขาในสมัยหนุ่ม ๆ เขาเลยหาวิธีที่จะเอาเครื่องจักรไอน้ำมาดัดแปลง เขาคงคิดว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเอาเครื่องจักรไอน้ำไว้บนรางให้มันเคลื่อนที่ไป และปิ้ง ! เขาได้คิดรถไฟรุ่นแรกขึ้นมาเป็นหัวรถจักรไอน้ำ มันถูกใช้ในปีต้น ศตวรรษที่ 18 ขนแร่เหล็ก ถ่านหิน ในยุคนั้นมันช้าเอามาก ๆ มีความเร็วของหัวรถจักรแค่ 9 ไมล์ ต่อชั่วโมง หรือพูดง่าย ๆ คือ 14.481 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

( รถมอเตอร์ไซด์ยังเร็วกว่า ) และต่อมาคนสุดท้ายของเรา เขาคือเจมส์ วัตต์ เขาปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำที่มีขนาดใหญ่ของนิวโคเมน ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และชื่อของเขาก็กลายเป็นหน่วยของกำลังที่ใช้คำนวณทางฟิสิกส์ต่อไป คือหน่วย วัตต์

https://pixabay.com/th/vectors/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F-1297412/เรื่องเล่าจาก สตีม

ช่วงชีวิตหนึ่ง ผมเคยเป็นกุ๊กพาร์ทไทม์ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นแฟรนไชส์ชื่อดังในห้าง มีหลายเมนูมาก ๆ โดยเฉพาะราเมน ผมอยู่กะดึกที่ต้องปิดร้าน การทำความสะอาดร้านเป็นไปตามปกติ จนกระทั่งไปสะดุดตาเข้ากับเตาลวกเส้นราเมน เหมือนว่ามันจะถูกลืมทำความสะอาดไป ผมเดินเข้าไปใกล้ ๆ หยิบผ้าเช็ดครัว จะเช็คได้มันต้องชุบน้ำหมาด ๆ ใช่ปะ เอ้า ๆ เปิดก๊อกน้ำ โอ้ย !! ผมร้องลั่นครัว ทุกคนหันมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น .... ผมเปิดก๊อกน้ำร้อนลวกมือตัวเอง มันเป็นก๊อกน้ำร้อนที่ใช้ลวกเส้นราเมน มือแดง ล้างมือแบบไม่ต้องใช้สบู่ละควันไอจากก๊อกออกมาเต็ม เป็นไงบ้างครับไอน้ำเนี่ยมีพลังงานสูงอยู่นะ ฮ่า ๆ


ขอบคุณรูปภาพ

หน้าปก

- ล้อรถไฟ คลิก

- หัวรถจักร คลิก

- ปล่องไอน้ำ คลิก

โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก คลิก

เครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่ คลิก

เครื่องจักรไอน้ำขนาดเล็ก คลิก

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์