ไลฟ์แฮ็ก

วิธีการประเมินความเสี่ยงแบบง่าย ๆ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิธีการประเมินความเสี่ยงแบบง่าย ๆ

โดยปกติคนเรามักจะสัเกตุเห็นแต่สิ่งมันใหญ่ ๆ เด่น ๆ หรืออะไรที่นาน ๆ จะได้ยินได้เห็นสักครั้ง ซึ่งอันตรายและความเสี่ยง ก็เป็นแบบนั้นเช่นเดียวกันครับ วันนี้เลยอยากจะขอนำเสนอการทำ Threat Analysis หรือวิธีการประเมินความเสี่ยงแบบง่าย ๆ แต่ก่อนอื่นผมขอยกตัวอย่าง สนุก ๆ เรื่องนึงครับ

... ลองนึกภาพตามผมดูนะครับ นักปั่นมือใหม่ตื่นแต่เช้ามืด คว้าเสือหมอบคู่ใจออกไปปั่นโลดแล่นบนถนนในกรุง หลบหลีกรถลาที่แม้ว่าจะไม่หนาแน่นนักแต่ก็ขับขี่ด้วยความเร็วและปราศจากน้ำจิตน้ำใจ ถึงกระนั้นนักปั่นหนุ่มก็ยังปั่นต่อไปอย่างมีความสุข แต่ทันใดนั้นเอง .... ที่ระยะ 100 เมตรข้างหน้า ฝูงหมาจรนอนเกลื่อนอยู่บนผิวจราจร หันหลังมองท้ายโอเครถว่างไม่มีตามมาซักคัน

เสือหมอบหมาข้างถนน

อาอย่างไรดีจะกลับหลังก็ใช่ที่ รถเสือหมอบคันละเกือบแสนซะอย่าง ... คิดดังนั้นแล้วก็ยกก้น (ศัพท์นักปั่นเรียก “ยก”) นิ้วกดสับเกียร์เพิ่มสปีดไปที่สุดกำลัง เสือหมอบพุ่งทยานผ่านฝูงหมาจรด้วยความเร็วกว่า 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฝูงหมาตกใจวิ่งไล่ตามโดยพลัน แต่ด้วยความเร็วระดับนี้มีหรือที่หมาจรมันจะทัน ราวอึดใจไม่ถึง 50 เมตรหมาจรตัวสุดท้ายที่วิ่งตามมาก็ถอดใจ นักปั่นหนุ่มหัวเราะในใจเสียงดัง 555 – “พวกมรึงมันกระจอกมากกกกก” แล้วชะลอความเร็วลง และแล้วนาทีนั้นเอง ....... “เชี่ย !!!!! ซวยแล้วกู”

Advertisement

Advertisement

เวลาคุณจะออกไปปั่นจักรยานเสือหมอบบนถนนในกรุงเทพ นอกจากผิวถนนและพาหนะ รถเมล์ รถตู้ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ที่อันตรายสุด ๆ แล้ว ... ผมคิดว่านักปั่นจักรยานจะรู้ดีว่า อีกอย่างที่อันตรายมาก ๆ กับนักปั่น คือ หมา ผมเองก็มีประสบการณ์ตรงเกือบทุกสัปดาห์ที่ถูกหมาริมถนน (ทั้งจรจัดและเจ้าของเลี้ยงนอกบ้าน) ไล่ฟัด แต่อย่างไรก็ดีไม่มีซักครั้งเลย ที่ผมจะโดนกัด ไม่ใช่เพราะผมปั่นเร็วกว่าหมานะครับ เพราะหลัง ๆ ผมเจอหมาผมจะลดความเร็วเสมอ (เดี๋ยวจะเฉลยว่าทำไม) แต่เป็นเพราะผมมีประสบการณ์มากขึ้นและผมเรียนรู้ว่าแนวโน้มที่หมามันจะกัดผมนั้นมันน้อยมาก คือมันไล่แต่มันไม่กัด .... อย่างไรก็ตามคนที่ไม่เคยปั่นริมถนนเมืองกรุงคงนึกไม่ออก ว่าท้ายที่สุดแล้ว อะไร คือ อันตรายที่สุดของนักปั่นเช่นผม มันไม่หมาครับ แต่มัน คือ ขี้หมา !!!! เพราะรถเสือหมอบร้อยละ 99 ไม่มี MUD GUARD (บังโคลน) ครับ

Advertisement

Advertisement

... ซีนต่อมา ทุกท่านคงนึกภาพออกว่ามันสยอดสยองแค่ไหน ขี้หมาเละ ๆ กระเด็นเลอะเทอะตั้งแต่ก้นยันหมวก

สิ่งที่อยากจะบอก คือ เวลาเราทำ Threat Analysis … เรามักจะมโนเห็นแต่ภัยคุกคามที่มันใหญ่ ๆ เห็นง่าย ๆ เรื่องเดิม ๆ ซึ่งที่จริงมันไม่เคยเป็นภัย หรือ ไม่มีความเสี่ยงมากพอกับที่เราต้องเสียทรัพยากรในการเตรียมการป้องกัน ............. แต่สุดท้ายเรามักจะพังจะเดือดร้อนกับภัยคุกคามที่เราคิดไม่ถึง หรือเห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ปัจจัยเสี่ยงน้อย ๆ

ตารางประเมินความเสี่ยง - เคล็ดลับในการวิเคราะห์ วางแผนการรับมือ โดยหลักการเราจะให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย (หรือบ่อยๆ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะสร้างผลกระทบรุนแรง --- สีแดง ... เราต้องดำเนินการทำแผน 3 ส่วน คือ 1. วางแผนป้องกัน  2. วางแผนเผชิญเหตุ (ขณะเกิดเหตุจะต้องทำอะไรบ้าง/อย่างไร)  และ 3. วางแผนฟื้นฟูสถานการณ์ (หลังเกิดเหตุแล้ว ต้องทำอะไร/อย่างไร) ... สุดท้ายครับ แผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง อีกครึ่งคือ 'อย่าลืมซ้อม' (exercise) ด้วยนะครับตารางประเมินความเสี่ยงภาพจาก shutterstock

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์