ไลฟ์แฮ็ก

วิธีการรับมือกับเศษรฐกิจในปี 2022 มีวิธีอะไรบ้าง 

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิธีการรับมือกับเศษรฐกิจในปี 2022 มีวิธีอะไรบ้าง 

หลังจากที่ในปี 2021 มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ขึ้นอย่างรุ่นแรงส่งผลให้วิกฤติเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อคนทั่วโลกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังนำมาซึ่งปัญหาครอบครัว แรงงาน ปัญหาสินค้าขาดแคลน ความขัดแย้ง และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมายที่ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนทั่ว ซึ่งภัยที่เข้ามาคุกคามนี้เอง ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องรับมือและเฝ้าระวัง เศรษฐกิจโลกในปี 2022-2023 เป็นพิเศษ แต่จะมีวิธีการรับมืออะไรบ้างนั้นเราได้รวบรวมมาแบ่งปันดังนี้

1.เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

แน่นอนว่า เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นมากซึ่งจะช่วยให้เราควบคุมความเสี่ยงจากวิกฤติต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ตกงาน หรือหมุนเงินไม่ทัน เงินสำรองส่วนนี้จะช่วยเข้ามาอุดรอยรั่วและลดปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เราอยากจะแนะนำคือเงินสำรอง ควรเตรียมไว้อย่างน้อย3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เผื่อเกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่าง ๆ โดยเงินสำรองฉุกเฉินนี้ สามารถฝากเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูง หรือออมในกองทุนรวม ตราสารหนี้ระยะสั้นหรือกองทุนรวมตลาดเงินที่สามารถอนเงินก้อนออกมาใช้ได้เลยทันทีที่จำเป็น

Advertisement

Advertisement

เงินสำรอง

2.บัญทึกรายรับรายจ่าย

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาหลายคนคงสังเกตเห็นแล้วว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นระยะ ดังนั้นเราจึงต้องควบคุมในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ เช่นการจดบันทึกรายได้รายจ่ายทั้งหมด เพื่อให้เราจัดสรร บริหารการเงินและรายได้ของเราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างทันท่วงที โดยรายควรแบ่งจดเป็น 2 ประเภทคือ

  • รายได้หลัก
  • รายได้เสริม

สำหรับค่าใช้จ่ายก็ควรแบ่งจดเป็น 2 ประเภทเช่นกันคือ

  • ค่าใช้จ่ายจำเป็น
  • ค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น

แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่จุกจิกและต้องใส่รายละเอียดเล็กน้อย แต่ถ้าหากเราพยายามทำให้ได้เป็นประจำสม่ำเสมอ เราก็จะสามารถบริหารการเงินของเราได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำเราออกจาก สถานการณ์การเงินติดได้เร็วมากอีกด้วย

บัญชี

3.บริหารหนี้ให้ดี

แน่นอนว่าการไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ แต่เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้วเราก็จำเป็นต้องบริหารหนี้ให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักเกินจะแก้ไขในอนาคต ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นได้จากการแบ่งหนี้ออกเป็นกลุ่มย่อยคือ

Advertisement

Advertisement

  • ค่าผ่อนบ้าน ไม่ควรเกิน 30% จากรายได้ต่อเดือน แต่ในกรณีที่เราไม่มีหนี้สินก้อนอื่น ก็สามารถปรับเพิ่มให้เป็น 50% ต่อเดือนเพื่อให้หนี้จบเร็วขึ้น
  • ค่าผ่อนรถ สำหรับหนี้ส่วนนี้เราควรจัดสรรให้อยู่ประมาณ 15 - 20% ของรายได้ต่อเดือน เพราะหากมากกว่านี้ อาจทำให้การบริหารจัดการเรื่องของเรายุ่งยากและกลายเป็นภาระหนักอึ่งในอนาคตได้
  • ค่าบัตรเครดิต หนี้ส่วนนี้เราควรควบคุมให้สิ้นเดือนไม่ควรเกิน 10-20% ของรายได้ต่อเดือน และควรบริหารให้ยอดภายในบัตรไม่มียอดผ่อนชำระเกิน 50% เพื่อไม่ให้เงินตึงมือมากจนเกินไป

สัดส่วน

4.ลงทุนเพิ่ม

การออมเงินและการลงทุนเพิ่มถือเป็นโอกาสดีที่ช่วยให้เรารอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ ได้ ยิ่งเราศึกษาได้เรียนรู้การลงทุนก็จะยิ่งช่วยให้เราพร้อมรับโอกาสดี ๆ ในการต่อยอดเงินหรือสร้างอาชีพเสริมได้เลย ดังนั้นการลงทุนแม้จะมีความเสี่ยงแต่หากเราศึกษาและเรียนรู้ในกระบวนการต่าง ๆ ให้ดีแล้ว เงินก้อนนี้ก็จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการลงทุนที่ดีจำเป็นต้องตั้งเป้าหมายและกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมตามระยะเวลา เช่น ลงทุนระยะสั้น ลงทุนระยะกลาง และลงทุนระยะยาว เพื่อกระจายความเสี่ยง ลดผลกระทบจากการลงทุนให้เหลือน้อยที่สุด

Advertisement

Advertisement

ลงทุน

สำหรับเทคนิคที่เราใช้และได้ผลดีมาก คือการจดบันทึกรายรับรายจ่ายเพื่อสำรองเงินฉุกเฉินในกรณีที่เงินแต่ละเดือนไม่เพียงพอ อีกทั้งการเขียนรายรับรายจ่ายแม้จะเป็นเรื่องยุ่งยากก็จริง แต่หากเราทำเป็นประจำสม่ำเสมอก็จะช่วยให้การวางแผนเรื่องการเงินของเราในแต่ละเดือนหรือแต่ละสัปดาห์ง่ายมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าวิธีนี้จะทำให้หนี้สินที่จำเป็นต้องชำระยังสามารถวางแผนได้อย่างรัดกุม กรณีมีเงินเหลือเก็บก็สามารถนำเงินไปลงทุนในกองทุน หรือตราสารหนี้เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปใช้สำหรับท่องเที่ยวหรือเงินเกษียณ

ในปี 2023 หลายคนคงคาดหวังว่าวิกฤติเศรษฐกิจคงจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ แต่การฟื้นตัวนั้นก็จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เพื่อให้เศรษฐกิจได้รับการเยียวยาและฟื้นตัวขึ้นในระยะยาว แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การวางแผนล่วงหน้า หาวิธีรับมือกับเศษรฐกิจในปี 2022 ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ไม่น้อย โดยวิธีการรับมือที่กล่าวมาข้างต้น อาทิ วิธีการเตรียมเงินสำรองและการบริหารหนี้ ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้เรารับมือกับปัญหาด้านการเงินได้เป็นอย่างดีเลย แน่นอนว่าเราไม่ควรละเลยเรื่องการรักษาสภาพจิต ใจ รักษางาน หรือทำอาชีพเสริมเพิ่ม เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามาและรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม ^^

ขอบคุณรูปภาพประกอบ :ภาพหน้าปกจาก canva (โดย Umnat Seebuaphan's Images) / รูปภาพประกอบที่ 1 จาก canva (โดย 89Stocker)/ รูปภาพประกอบที่ 2 จาก canva (โดย cpastrick)/ รูปภาพประกอบที่ 3 จาก canva (โดย khunkorn) / รูปภาพประกอบที่ 4 จาก canva (โดย Arthon meekodong)

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !​​​​​​​

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เรื่องเล่าจากดาวนี้
เรื่องเล่าจากดาวนี้
อ่านบทความอื่นจาก เรื่องเล่าจากดาวนี้

ดาวดวงนี้มีเรื่องราวที่น่าจดจำและแฝงไปด้วยมุมมองที่น่าสนใจมากมายเราจึงอยากแชร์เรื่องราว แนวคิดและมุม

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์