อื่นๆ

สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการเปิดใจ

122
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการเปิดใจ

“การเรียนรู้ตลอดชีวิต” นับว่าเป็นคุณลักษณะที่ถูกยอมรับจากหลายสำนัก ไม่ว่าเราจะหันไปถามคนรุ่นใหม่หรือใครที่ไหน ก็มักจะเห็นด้วยกับนิสัย “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” อันช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถ และการพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดนิ่ง

แม้ว่าพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะเกิดขึ้นจากตนเอง แต่ขณะเดียวกันมันก็ถูกขัดขวางด้วยตัวตนของเราเองด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเป็นตัวตนสูง (เช่นผู้เขียน)

ตัวตนภาพจาก Pixabay.com

การมีบุคลิกพิเศษ คุณสมบัตินี้ใช่ว่ามันจะไม่ดี นับว่าเป็นข้อดีเลยทีเดียวเชียว ทั้งเสริมสร้างความมั่นใจและเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง เข้าใจตนเอง ทั้งยังเป็นจุดเด่นจุดสนใจให้กับใครอีกหลายคน แต่กลับกันการมีตัวตนที่มากเกินกว่าจะลดลง ก็นำมาซึ่งการรับฟังผู้อื่นลำบากด้วยเช่นกัน แล้วแบบนี้จะเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างไรกันนะ

Advertisement

Advertisement

ผู้เขียนเองก็เคยเป็นหนึ่งในนั้นน่ะ คือ รู้มากเกิน รู้สึกว่าตัวเองเก่งเกินจนบางครั้งก็เกิดจริตที่ไม่ตรงกับผู้ส่งสาร จนเกิดการไม่รับฟังในเรื่องที่ตนอยากรู้ เกิดการไม่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน มันนับว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ตัวตนทำงานหนักจนเกินความพอดีไป พอกลับมานอนคิดได้ถึงเรื่องนี้เราก็รู้สึกว่า ทำไมเราถึงไม่ใจกว้างบ้างเลยนะตอนนั้น บางทีเรารับแต่ข้อมูลแต่ไม่ต้องตอบสนองก็ได้นี่นา ถ้าเราเรียนรู้จากคนที่เราไม่ถูกจริตได้ มันจะดีมากขนาดไหนกัน เพราะบางสถานการณ์ก็เลี่ยงไม่ได้ในการเผชิญหน้ากัน

เรียนภาพจาก Pixabay.com

ผู้เขียนจึงลองเปิดใจให้กว้างมากพอ รับฟังสิ่งที่เขาพูดมา แต่ก็ยังยากเหลือเกินในการหยุดความคิดไม่ให้คิดอะไร พอทำไปนาน ๆ ก็ดันได้ ปรากฏว่าเทคนิคอยู่ที่ลมหายใจและการใช้เหตุผลเข้ามาอธิบาย หยุดสงบสักพัก รับฟัง ไม่นานนักเราจะเห็นประโยชน์ของเขา อันไม่คิดขวางการเรียนรู้ของเราอีก

Advertisement

Advertisement

ประเด็นอยู่ตรงการฝึกสมาธิ ตั้งสติ เพื่อลดความมีตัวตนของตัวเองลง แต่ถ้าฝึกทำแล้วยังไม่ได้ผล ผมก็ขอเสนออีกแนวคิดหนึ่งที่อาจจะช่วยเป็นอีกหนึ่งแง่มุมให้ท่านผู้อ่านได้

สมาธิภาพจาก Pixabay.com

แนวคิดกระจกมนุษย์ครับ ได้อธิบายว่า คุณสมบัติที่เราไม่ชอบในตัวคนอื่นนั้น นั่นคือคุณสมบัติที่เราไม่ชอบในตัวเองเช่นกัน คล้ายกับกระจกที่สะท้อนตัวเรา เช่น เราไม่ชอบคนขี้เก๊ก เพราะเราไม่ชอบตัวเองตอนขี้เก๊ก เราไม่ชอบคนอื่นที่อวดรวย เพราะเราก็ไม่ชอบตัวเองตอนอวดรวย เราไม่ชอบคนอวดเก่ง เพราะเราก็ไม่ชอบตัวเองตอนอวดเก่ง

แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณสมบัติที่เราไม่ชอบ ไม่ยอมรับว่าตัวเองมี มันจะไม่มีดีอะไรเลย ความเป็นประโยชน์นั้นอยู่ในคุณสมบัติ แต่เรามองข้าม เพราะความมากเกินที่คนอื่นแสดงจนกดทับตัวเรา ว่าไม่ควรทำแบบนั้น จนเราก็ไม่เคยยอมรับตัวเองว่าทำแบบนั้นก็ได้เหมือนกันนะ

Advertisement

Advertisement

ยกตัวอย่าง

  1. ผู้เขียนมักจะเป็นคนที่ถ่ายรูปไม่ขึ้นกล้องมาก เพราะเก็กไม่เป็น ออกท่าทางไม่ถูก รูปที่ออกมาจึงดูง่อย ๆ ไปหมด
  2. ผู้เขียนจะดูไม่มีสง่าราศีเลยตอนออกงานสังคมแต่งตัวหรูหรา เพราะมีความฝั่งหัวตัวเองไปแล้วว่าเราไม่ชอบคนอวดรวย ซึ่งความเป็นจริงมนุษย์ทุกคนก็อวดกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แต่เราดันไปหมั่นไส้เองเพราะเราไม่มี (พูดแล้วก็เศร้า)
  3. ผู้เขียนไม่ชอบคนอวดเก่ง นั่นทำให้ทุกครั้งที่จะพรีเซนต์อะไรสักอย่าง ช่างดูไม่มืออาชีพ เอาเสียเลย

กระจกภาพจาก Pixabay.com

บุคลิกทุกอย่างมีคุณสมบัติที่ดีในตัวมัน เมื่อแสดงออกตามกาลเทศะ นั่นแสดงว่าทุกคนจะแสดงอะไรก็ได้ในพื้นที่ของตน ยิ่งเรายอมรับคนอื่นได้มากเท่าไร ผู้เขียนคิดว่า เราสามารถสร้างความรู้จากปัญญาที่หลากหลายได้มากขึ้นเท่านั้น สวัสดีครับ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์