ไลฟ์แฮ็ก

สีงาม ๆ ตามแบบงานศิลปะไทย

152
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สีงาม ๆ ตามแบบงานศิลปะไทย

งานศิลปะไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานจิตรกรรม เช่น งานวาดเขียนหัวโขน หรือฉากในการแสดงโขน หรือกระทั่งจิตรกรรมฝาผนังแบบดั้งเดิมของไทย ส่วนใหญ่ใช้สีซึ่งมีกรรมวิธีการทำเฉพาะ สีแต่ละสี มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางสีเราอาจเคยเห็นทั่วไป แต่ไม่ทราบชื่อ หรือบางสี เราอาจเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่ทราบหน้าตาว่าสีนั้น ๆ เป็นสีออกโทนใด มีวิธีการเทียบสี หรือใกล้เคียงกับสีใด

ใครที่เคยไปงานโขนพระราชทาน อาจเคยสังเกตเห็นความงามวิจิตรของภัสตราภรณ์ หรือความประณีตของอุปกรณ์ประกอบฉากที่ตกแต่งด้วยสีแบบ "ไทยเดิม" ซึ่งมักไม่ฉุดฉาด ใช้สีผสมที่บางครั้งผู้พบเห็นบอกสี หรืออธิบายได้ยากว่าเป็นสีอะไร หรือบางสี เราอาจไม่เคยพบเห็นมาก่อน

การตั้งชื่อเรียกสี หรือการกำหนดรหัสสีในต่างประเทศอาจมีหลายระบบ ระบบหนึ่งของบริษัทแห่งหนึ่งชื่อ PANTONE เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานระบบสีชนิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับแพร่หลาย ในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่มีระบบที่ชัดเจนเช่นนั้น แต่ช่างวาดเขียนโบราณที่เชี่ยวชาญการใช้สีและรังสรรค์งานศิลป์จะสามารถแยกประเภทสีได้ด้วยความชำนาญ

Advertisement

Advertisement

ลองมาดูกันว่าสีงาม ๆ อย่างที่ช่างฝีมือ หรือศิลปินไทยใช้ในงานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ มีสีอะไรบ้าง (ภาพที่ปรากฏในบทความนี้ ผู้เขียนถ่ายเองจากงานนิทรรศการโขนโครงการศิลปาชีพ ฯ ชื่อสีโบราณของไทยแต่ละสี จะมีคำอธิบายสีภาษาอังกฤษเทียบไว้ให้ดูด้วย นอกจากจะได้ความรู้เรื่องชื่อสีเพราะ ๆ แปลก ๆ ในภาษาไทยแล้ว ยังได้เรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปในตัวด้วยนะ)

1หัวโขนเหล่านี้ใช้สีแบบสีไทยโบราณดั้งเดิม ส่วนจะมีสีอะไรบ้างนั้น ลองเลื่อนดูด้านล่างได้เลย

*** ภาพแต่ละภาพจะมีชื่อสีที่เป็นชื่อเรียกแบบโบราณ คำมักผสมกันระหว่างคำภาษาบาลี สันสกฤต และคำยืมภาษาเขมร และหลังชื่อเรียกสีจะมีคำอธิบายสีเทียบมุมมอง การเห็นสีแบบปัจจุบันของคนไทย ส่วนด้านล่างเป็นชื่อสีภาษาอังกฤษ

มาลุนสี "มาลุนทเกสร" มีที่มาจากตัวละคนวานรในเรื่องรามเกียรติ์ มาลุนทเกสรเป็นวานรมีสีตัวเป็นสีเมฆ หรือ สีม่วงครามอ่อนดังภาพด้านบน

Advertisement

Advertisement


สีอื่น ๆ ที่จัดแสดงในงาน เนื่องจากเนื้อหาส่วนนี้ในนิทรรศการกล่าวถึงหัวโขนและสีที่ใช้ทาหัวโขน โดยมุมนี้เป็นหัวโขนลิง ดังนั้น ชื่อสีจึงอ้างอิงชื่อสีวานรสิบแปดมงกุฎในเรื่องรามเกียรติ์ โดยวานรทั้ง 18 มีชื่อดังต่อไปนี้ 1. เกยูร  2. โกมุท  3. ไชยามพวาน  4. มาลุนทเกสร  5. วิมลวานร  6. ไวยบุตร  7. สัตพลี  8. สุรกานต์  9. สุรเสน  10. นิลขัน  11. นิลปานัน  12. นิลปาสัน  13. นิลราช  14. นิลเอก  15. วิสันตราวี  16. กุมิตัน  17. เกสรทมาลา  18. มายูร

ส่วนสีของวานรแต่ละตัวจะเป็นอย่างไรนั้น ลองชมภาพด้านล่างได้เลย

2ข้อมูลในวิกิพีเดียประเทศไทย ระบุว่า ไวยบุตรเป็น วานรฝ่ายเมืองขีดขิน ลักษณะ สีเมฆครึ้มฝน หรือ สีมอครามแก่ หัวโล้น ปากอ้า ชาติเดิมคือพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งฝน

33

ชื่อตัวละครวานรเหล่านี้ ในรามเกียรติ์ได้นำมาเรียงร้อยต่อกันเป็นกลอนที่ไพเราะมาก เช่น

Advertisement

Advertisement

สุรเสนเจนจบรบรอนราญ     คู่กับสุรกานต์ทหารกล้า

โกมุทวุฒิไกรไวปัญญา   เคียงมากับกระบี่กุมิตัน

1สีนี้แหล่ะที่เป็นเจ้าของวรรคทอง "โกมุทวุฒิไกรไวปัญญา"

ใครที่สนใจอ่านกลอนฉบับเต็ม สามารถศึกษาได้ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ว หรือในหนังสือรามเกียรติ์ทั่วไป... ลองมาดูสีอื่น ๆ กันต่อเลย

9สีออกเหลือง หรือส้ม ในศิลปะไทยก็มีหลายเฉดสี เช่นสีชื่อ "เกสรทมาลา" หรือที่บางครั้งเขียนเป็น "เกษรทมาลา" เป็นสีเหลืองนวล ต่างจากสีนิลปาสันที่สีออกจะเข้มกว่า

ชื่อเกสรทมาลามีความสำคัญคือ ถือเป็นวานรทัพหน้า เดินนำวานรตัวอื่น ๆ ในเรื่อง ดังวรรคที่ว่า

"นำด้วยไชยามพวาน  ทหารหน้าเกสรทมาลากล้ากลั่น

ถัดมานิลราชกาจฉกรรจ์  เคียงคู่นิลขันชาญชัย"

478

4

ตัวละคร "สุรกานต์" มีความสำคัญไม่แพ้วานรตัวอื่น ๆ เพราะเป็นวานรที่ชาติเดิมคือพระมหาชัย เทพเจ้าแห่งชัยชนะ สุรกานต์เป็นผู้คุมกำลัง 30 สมุทรมาช่วยพระรามรบ เมื่อเสร็จศึกแล้วได้ครองเมืองโรมคัล (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ประเทศไทย)

-

โคลงบรรยายสีและรายละเอียดของ "ไชยยามพวาน" หรือ "ไชยามพวาร" มีเขียนบรรยายไว้ไพเราะว่า

คนธงนำทัพไท้  อวตาร

นามว่าไชยามพวาร  ภาพนี้

สีเทาพระอิสาณ  เทวบุตร์

จุติจากสวรรค์ลี้  แบ่งเพี้ยง  ภาคย์ผัน

พระเทพกระวี

25845555

สรุป วัสดุที่นำมาใช้ทำสีอย่างไทยแบบโบราณหรือของดั้งเดิมนั้น นิยมใช้วัตถุดิบใกล้ตัว เช่น ส่วนต่าง ๆ ของพืช แร่ธาตุ กรรมวิธีการทำค่อนข้างสลับซับซ้อน และความคงทนของสีก็ขึ้นกับสิ่งที่ใช้ทำ สีบางประเภททำจากดิน อาจต้องทำให้แห้ง ตากสี แล้วล้างกรองให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ จากนั้นต้องนำมาตำให้ละเอียดเป็นผงเพื่อเก็บไว้ใช้งาน เป็นต้น

***ภาพถ่ายทั้งหมด เป็นภาพที่ผู้เขียนบทความถ่ายเองจากงานนิทรรศการโขนพระราชทานที่จัดแสดง ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเอมบาสซี่ เฉดสี ความเข้มอ่อนของสีจริงอาจผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเนื่องจากคุณภาพของกล้องและแสงในห้องจัดแสดง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์