ไลฟ์แฮ็ก

อยากทำงานเป็น “ที่ปรึกษา” ต้องทำอย่างไร? (How want to be the Consultant?)

2.3k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
อยากทำงานเป็น “ที่ปรึกษา” ต้องทำอย่างไร? (How want to be the Consultant?)

อยากทำงานเป็น “ที่ปรึกษา” ต้องทำอย่างไร? (How want to be the Consultant?)

หากจะว่ากันในเรื่อง “อาชีพ” กันแล้วนั้น อาชีพที่มีรายได้สูงๆ ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หมอ, วิศวกร, นักแสดง, อาจารย์ หรือ นักธุรกิจ เป็นต้น แต่ละอาชีพก็จะมีรายละเอียดของหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางอาชีพทำงานหนักมาก บ้างอาชีพก็ไม่หนักมาก แตกต่างกันไป แต่ก็มีอยู่อีกหนึ่งอาชีพ ที่ผมจะมาเล่าให้ทุกๆ คนฟังกันในครั้งนี้ และเป็นอาชีพที่หลายๆ คนอยากจะทำ นั้นก็คือ อาชีพ “ที่ปรึกษา” ครับผม

consultantปัจจุบัน งานที่ปรึกษานั้นก็มีมากมายหลากหลายสาขา เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่ปรึกษาทางด้านธุระกิจ, ที่ปรึกษาทางด้านการตลาด, ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน, ที่ปรึกษาทางด้านงานขาย, ที่ปรึกษาทางด้านบัญชี, ที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี, ที่ปรึกษาทางด้านกฏหมาย และ อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปัจจุบันก็มีงานที่ปรึกษาแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ที่ปรึกษาทางด้านความรัก, ที่ปรึกษาทางด้านการออกเดท หรือ ที่ปรึกษาทางด้านสุขภาพหรือการออกกำลังกาย เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

Engineerแล้วการที่เราจะได้มาเป็นที่ปรึกษาละครับ ต้องทำอย่างไร ถึงจะได้เป็น ผมจะขออนุญาติ แชร์ประสบการณ์ส่วนตัวของผมก็แล้วกันนะครับ ปัจจุบันนี้ ผมก็ได้รับงานเป็นที่ปรึกษาตามโรงงานอุตสาหกรรม ทั่วๆ ไป ด้วยนะครับ นอกจากที่ทำงานประจำแล้ว ซึ่งการที่ผมจะมาเป็นที่ปรึกษาได้นั้น เริ่มต้นอย่างไร และต้องทำยังไง เดี๋ยวเรามาดูกันเลยนะครับผม


“เริ่มแรกๆ เลยนะครับ เราต้องรู้จักตัวตนของเราก่อนว่า เราถนัดในด้านไหนมากที่สุด หรืออาชีพที่เราทำอยู่นั้น เราขอบหรือเปล่า ถ้าเรารู้แล้ว เราเลือกแล้วนะครับ หรือ เราสามารถค้นหาตัวเองเจอแล้วว่าเรา อยากที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านไหน ยกตัวอย่างนะครับ เช่น การแสดง, คอมพิวเตอร์, การเงิน หรือ อื่นๆ เป็นต้น แต่สำหรับตัวผมเองแล้วนั้น“ผมเลือกที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานงานหล่อขึ้นรูปอะลูมิเนียม” นะครับ”

Advertisement

Advertisement

ที่ปรึกษา“หลังจากนั้น ผมก็ทำการทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผมขอบเท่านั้น โดยศึกษามันให้เข้าใจให้แท้จริง ผมเริ่มทำงานในทุกๆ ส่วนงานที่เกี่ยวกับงานของผม ไม่ว่าจะเป็น งานออกแบบแม่พิมพ์, งานฝ่ายผลิต, งานซ่อมบำรุง, งานด้านคุณภาพ, งานด้านจัดซื้อ, งานด้านงานขาย และ อื่นๆ จนครบ และสะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ”

เพื่อนๆ ก็เช่นกันนะครับ คือ เราต้องทำการศึกษาในสิ่งที่เราเลือกมา ให้เข้าใจอย่างแท้จริง ใครถามอะไรก็ต้องสามารถตอบได้ นะครับผม

“จากนั้น พอผมคิดว่าตัวเองมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอแล้ว ผมก็เริ่มสร้างผลงาน โดยที่เริ่มจากโครงการเล็กๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงโครงการใหญ่ๆ เก็บผลงานมาเรื่อยๆ สร้างเครื่อข่าย ติดต่อไปหาคนที่รู้จักก่อน และขยายไปเรื่อยๆ จนมีคนรู้จักพอสมควร นะครับ”

ที่ปรึกษา“จากนั้น ก็เริ่มรับงานที่เป็น วิทยากร โดยที่ใช้เครื่อข่าย ที่เคยไปสร้างผลงานไว้นั้นเองครับ และนอกจากนี้ ในยุคปัจจุบันนี้มีระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งง่ายๆมากๆ ที่เราจะหาลูกค้า นั้นเองครับผม ผมก็เริ่มโปรโมทตัวเอง โดยเริ่มจากการทำยูทูบ เฟสบุ๊ค และระบบโซเชียล อื่นๆ อีกมากมาย จนเป็นที่รู้จักมากกว่าเดิม”

Advertisement

Advertisement

Casting“หลังจากนั้น ก็จะเริ่มมีโรงงานติดต่อเข้ามาให้ไปเป็นที่ปรึกษา เรื่อยๆ นะครับ มีทั้ง เป็นแบบรายเดือน รายวัน หรือ เป็นโครงการๆ ไป นั้นเองครับผม”


นี้ก็เป็นลำดับขั้นตอนในชีวิตผมเอง ที่ก้าวมาเป็นที่ปรึษา ในทุกวันนี้ ผมหวังว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลายๆ คน ที่สนใจงานในด้านนี้นะครับ ไม่มากก็น้อย หวังว่า เพื่อนๆ คงจะจับเนื้อหาสำคัญๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางได้บ้างนะครับ หากมีคำถาม หรือข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามมาได้เลยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับผม


ภาพหน้าปกจาก: Pixabay / Tumisu

ภาพลำดับที่ 1 - 5 จาก: เป็นภาพจากผู้เขียนเอง


เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์