ไลฟ์แฮ็ก

เคล็ดลับเปลี่ยนงานใหม่จะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี

5.6k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เคล็ดลับเปลี่ยนงานใหม่จะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี

เคล็ดลับเปลี่ยนงานใหม่จะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี

สำหรับหลายๆ ท่าน ที่อยากจะเปลี่ยนงานใหม่ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกเงินเดือน ใหม่เท่าไหร่ดี ใช่ไหมครับ เพราะคิดว่าถ้าเรียกเงินเดือนมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ไม่ได้งาน หรือถ้าหากเรียกเงินเดือนน้อยไปก็อาจจะทำให้ ตัวเองได้รับผลตอบแทนที่ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะได้รับ

เคล็ดลับในการเรียกเงินเดือนใหม่นั้นก็มีแตกต่างกันไปมากมาย แล้วแต่ใครจะมีวิธีคิดอย่างไรใช่ไหมครับ ต่างคนก็ต่างมีเทคนิค วิธีการ หรือเคล็ดลับที่แตกต่างกันไป ส่วนตัวของผมเองก็เช่นกัน ก็มีเคล็ดลับดีๆ ที่อยากจะมาแชร์ ให้กับเพื่อนๆ ทุกๆ ท่าน เผื่อจะเป็นประโยชน์ หรือแนวทางในการใช้ประกอบการคิดในการเรียกเงินเดือนใหม่ กับที่ทำงานใหม่ ได้นะครับผม

ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราต้องเรียกเงินเดือนใหม่เท่าไหร่นั้น ก่อนอื่นเลย เราต้องรู้จักตัวเองให้ดีเสียก่อนนะครับ ว่าตัวเราเองนั้นทำอะไรได้บ้าง มีความสามารถอะไรบ้าง มีทักษะอะไรบ้าง และมีความเหมาะสมในตำแหน่งหน้าที่งานนั้นๆ หรือไม่ เราถึงจะสามารถคิดได้ว่า ตัวเราเองนั้นควรจะได้รับค่าตอบแทนเท่าไหร่ดี

Advertisement

Advertisement

เจรจาผมขอแบ่งกลุ่มของคนทำงานออกเป็นหลักๆ ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้นะครับ คือ

1. กลุ่มของคนที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย หรือน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบมาใหม่ๆนั้นเอง

2. กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานไม่นานแต่อยากที่จะเปลี่ยนงานทำ

3. กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงอยากจะเปลี่ยนงานในสายงานเดิม

4. กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงอยากจะเปลี่ยนงานในสายงานใหม่

5. กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงจนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไปแล้ว

ซึ่งในแต่ละกลุ่มงานนั้นก็จะมีเงื่อนไขในการเรียกเงินเดือนที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น

กลุ่มของคนที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย หรือน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบมาใหม่ การเรียกเงินเดือนส่วนมากแล้วก็จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของบริษัทนั้นๆ และก็บวกกับค่าความสามารถพิเศษต่างๆ หรือค่าทักษะต่างๆ เช่น ปริญญาตรี ตำแหน่งวิศวะกร จบใหม่ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 20,000 บาท หากมีความสามารถทางด้านภาษาเช่น อังกฤษ, ญี่ปุ่น หรือ ความสามารถอื่นๆ เช่น งานเชื่อม, ใบประกอบวิชาชีพ (กว.) ก็ต้องบวกเพิ่มไปอีกได้ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท เป็นต้น สรุปเงินเดือนโดยรวมก็จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 30,000 บาท เป็นต้นครับผม

Advertisement

Advertisement

กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานไม่นานแต่อยากที่จะเปลี่ยนงานทำ สำหรับบุคคลในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทจะไม่นำค่าปะสบการณ์มาคิดให้ โดยคือรวมไปอยู่ในกลุ่มของ คนที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย หรือน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบมาใหม่ เลย วิธีการคิดเงินเดือนก็ให้คิดเหมือนกันไปเลยนะครับ

กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงอยากจะเปลี่ยนงานในสายงานเดิม สำหรับกลุ่มนี้จะสามารถเรียกเงินเดือนได้มากพอสมควร เพราะสามารถนำค่าประสบการณ์ในการทำงานมาคิดรวมเข้าไปด้วยได้นะครับ ซึ่งเงินเดือนใหม่ที่ควรจะได้นั้น จะได้มาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนประสบการณ์การทำงาน เช่น มีประสบการณ์การทำงานมา 10 ปี ก็ย่อมสามารถเรียกเงินเดือนได้มากกว่าคนที่มีประสบการณ์น้อยกว่า นั้นเอง ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเงินเดือนของบริษัทนั้นๆ ด้วยนะครับ

Advertisement

Advertisement

กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงอยากจะเปลี่ยนงานในสายงานใหม่ สำหรับกลุ่มนี้อาจจะขอเพิ่มเงินเดือนจากเดิมได้ไม่มากนัก ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่า ทักษะการทำงานที่เรามีอยู่นั้น สามารถนำไปใช้กับสายงานใหม่ที่เราจะย้ายไปทำนั้น ได้มากแค่ไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คนที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็จะมีน้อยมากๆ หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่ค่อยมีใครเปลี่ยนสายการทำงานกันนะครับผม

กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงจนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สำหรับคนในกลุ่มนี้นั้น สามารถเรียกเงินเดือนได้เพิ่มมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากมีความสามารถเฉพาะทาง และเป็นบุคคลที่มีจำนวนน้อยมาก มีคนที่เก่ง หรือมีประสบการณ์การทำงานเฉพาะทางในแต่ละด้านนั้นมีน้อยมากๆ ซึ่งค่าตอบแทนก็สูงตามเป็นธรรมดานะครับ เช่น ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องกฏหมาย, ผู้เชี่ยวชาญในด้านหุ่นยนต์ หรืออื่นๆ เป็นต้น

สำเร็จ

โดยส่วนตัวผมแล้ว เวลาที่ผมจะเปลี่ยนงานใหม่ทุกๆ ครั้ง นอกจากเงินเดือน รายได้ที่จะได้รับใหม่แล้วนั้น ผมยังมีหัวข้อที่คิดประกอบกันด้วยดังนี้ คือ

1. เงินเดือนปัจจุบันคิดเป็นทั้งปี

2. โบนัสประจำปี

3. รายได้อื่นๆที่ได้รับทั้งปี เช่น ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ค่าน้ำมัน หรืออื่นๆ เป็นต้น

4. สวัสดิการที่พึ่งได้ เช่น ประกันชีวิต, ที่พักอาศัย หรืออื่นๆ เป็นต้น

5. การใช้ชีวิตโดยรวมระหว่างครอบครัว กับ การทำงาน เช่น เวลา, ครอบครัว, บรรยากาศการทำงาน, สิ่งแวดล้อม หรือ อื่นๆ เป็นต้น

6. สิ่งที่ต้องเสียไป และสิ่งที่จะได้มา เช่น ประสบการณ์ หรือตำแหน่งงานใหม่ที่สูงขึ้น แต่ต้องสูญเสียเพื่อนร่วมงานที่ดีไป เป็นต้น

วิศวกร

ต่อไปมาดูกันนะครับว่า เคล็ดลับที่ผมใช้นำมาคิด เงินเดือนใหม่นั้นคิดกันยังไง ยกตัวอย่างนะครับ คือ

1. เงินเดือนปัจจุบันที่ได้รับอยู่ สมมติอยู่ที่ 10,000 บาท ต่อ เดือน

- อัตราการขึ้นเงินเดือนคิดเป็นขั้นต่ำปีละ 5% โดยคิดเป็น 3 ปีล่วงหน้า คือ 10,000 x 5% = 500 บาท

- เงินเดือนปีแรกคิดเป็นทั้งปีจะอยู่ที่        120,000 บาท ต่อ ปี

- เงินเดือนปีที่สองคิดเป็นทั้งปีจะอยู่ที่      126,000 บาท ต่อ ปี (10,000 x 5% = 500 บาท / 10,500 บาท ต่อ เดือน)

- เงินเดือนปีที่สามคิดเป็นทั้งปีจะอยู่ที่      132,300 บาท ต่อ ปี (10,500 x 5% = 525 บาท / 11,025 บาท ต่อ เดือน)

- คิดเป็นเงินเดือนที่พึ่งได้ คือ (120,000 + 126,000 + 132,300 = 378,300) / 36 = 10,510 บาท ต่อ เดือน

2. โบนัสปัจจุบันที่ได้รับอยู่ คือ 5 เท่าของเงินเดือน ต่อ ปี

- เงินโบนัสปีแรกคิดเป็นทั้งปีจะอยู่ที่        50,000 บาท ต่อ ปี

- เงินโบนัสปีที่สองคิดเป็นทั้งปีจะอยู่ที่      52,500 บาท ต่อ ปี (10,000 x 5% = 500 บาท / 10,500 บาท ต่อ เดือน)

- เงินโบนัสปีที่สามคิดเป็นทั้งปีจะอยู่ที่      55,125 บาท ต่อ ปี (10,500 x 5% = 525 บาท / 11,025 บาท ต่อ เดือน)

- คิดเป็นเงินโบนัสที่พึ่งได้ คือ (50,000 + 52,500 + 55,125 = 157,625) / 36 = 4,380 บาท ต่อ เดือน

3. รายได้อื่นๆ ที่ได้รับอยู่

- ค่าน้ำมัน       500 บาท ต่อ เดือน

- ค่าอาหาร      500 บาท ต่อ เดือน

- ค่าครองชีพ    500 บาท ต่อ เดือน

- รายได้อื่นๆ โดยรวม    1,500 บาท ต่อ เดือน

4. สวัสดิการอื่นๆ ที่ได้รับ

- ประกันชีวิต    100,000 บาท ต่อ ปี

- ค่ารักษาพยาบาล       30,000 บาท ต่อ ปี

- ที่พักอาศัยฟรี

5. การใช้ชีวิตโดยรวมระหว่างครอบครัว กับ การทำงาน

- ที่ทำงานเดิม ต้องทำงาน วันจันทร์ ถึง วันเสาร์ เวลาทำงาน 7:30 – 17:00 แต่ที่ทำงานใหม่ ทำงานแค่ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลาทำงาน 8:00 – 17:30

6. สิ่งที่ต้องเสียไป และสิ่งที่จะได้มา

- ที่ทำงานเดิม ทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการ ส่วนที่ทำงานใหม่ ทำงานในตำแหน่งใน ผู้ช่วยผู้จัดการ

วิศวกร

สรุปวิธีการคำนวณคือเงินเดือนใหม่ คือ

หัวข้อที่ 1 + 2 + 3 = (10,510 + 4,380 + 1,500 = 16,390 บาท ต่อ เดือน)

แล้วนำหัวข้อที่ 4, 5 และ 6 มาพิจารณาร่วมกันว่า ในการที่เราจะย้ายงานนั้น มันคุ้มค่าที่จะย้ายงานหรือไหม หากคิดพิจารณาแล้วคิดว่าคุ้มค่า ในการย้ายงานไหม มีผลประโยชน์มากกว่าในการย้าย ในทุกๆ หัวข้อคิดดูดีแล้วว่าโดยรวมดีกว่า ส่วนตัวผมเองผมจะคิด เพิ่มจากที่คำนวณได้เพิ่มไปอีก 10% – 30% ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความสามารถในการทำงานของเรา

แต่โดยส่วนมากแล้วผมจะใช้ 30% นะครับ เนื่องจากว่า ตัวผมเองเป็นบุคลากรใน กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงจนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยใครจะเพิ่มกี่เปอร์เซนต์ แต่ละท่านควรคิดพิจารณาเอาเองนะครับ โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์การทำงานของเราเอง นะครับผม เช่น

คำนวณมาได้    16,390 บาท ต่อ เดือน คิดเพิ่มไปอีก 30% = 16,390 x 30% = 22,000 บาท ต่อ เดือน (คิดที่ประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี เนื่องจากว่าเป็นบุคลากรใน กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงจนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน)

สรุปก็คือ ถ้าหากผมจะต้องย้ายงานที่ใหม่ จากเงินเดือน 10,000 บาท ต่อ เดือน จะต้องได้เป็น 22,000 บาท ต่อ เดือน

สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม การเรียกเงินเดือนเพิ่ม ในขณะเปลี่ยนงานใหม่ ก็ไม่ได้มีสูตรตายตัวนะครับ แต่นี่ก็เป็นเพียงหนึ่งไอเดีย หรือแนวทางในการคิดนะครับ ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างเงินเดือนของบริษัท, ความรู้ความสามารถ, ประสบการณ์การทำงาน, ช่วงเวลา หรือแม้กระทั้งโชคชะตาด้วยนั้นเอง

ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านประสบความสำเร็จ ได้งานทำ ได้เงินเดือน ได้ทำงานในบริษัทที่ทุกๆ ท่าน คาดหวังไว้นะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับผม


ภาพหน้าปกจาก: Pixabay / geralt

ภาพจากลำดับที่ 1 จาก: Pixabay / StarFlames

ภาพจากลำดับที่ 2 จาก: Pixabay / trigidey

ภาพจากลำดับที่ 3 จาก: Pixabay / 089photoshootings

ภาพจากลำดับที่ 4 จาก: Pixabay / mwitt1337

ภาพจากลำดับที่ 5 จาก: Pixabay / Tumisu

*STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*

ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`

คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkq

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQ

ร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์