อื่นๆ

เล่าวิถีชีวิตเกมเมอร์ ตอน วิวัฒนาการของการซื้อขายไอเทมในเกม

129
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เล่าวิถีชีวิตเกมเมอร์ ตอน วิวัฒนาการของการซื้อขายไอเทมในเกม

ในยุคสมัยนี้เกมมือถือแทบไม่มีสิ่งที่เรียกว่าการตั้งร้านขายของในเกมกันแล้ว จะมีแต่เพียงเฉพาะเกมมือถือแนว MMORPG ที่อาจมีระบบร้านค้ารวมให้เรานำไอเทมราคาแพงไปตั้งขายแล้วรอคนอื่นมาซื้อไป โดยระบบการขายก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละเกม แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความสะดวกสบายของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งแตกต่างจากเกมออนไลน์สมัยก่อนอย่างชัดเจน วันนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์วิวัฒนาการซื้อขายไอเทมในเกมสมัยก่อนกันครับ


สมัยที่เกมออนไลน์เปิดใหม่ ๆ นั้น บางเกมยังไม่มีระบบตั้งร้านขายของอัปเดตเข้ามา ทำให้การขายไอเทมในสมัยนั้นต้องมีประยุกต์ใช้การขายของจากชีวิตจริงเข้ามาสู่ในเกม โดยในชีวิตจริงนั้น ขณะที่เราไปเดินตลาดเพื่อหาซื้อของ เราจะเห็นแม่ค้าบางร้านตะโกนขายของกัน ถ้าแม่ค้าเสียงแหบแล้วก็อาจเปิดโทรโข่งขายของวนไป แต่ในเกมเราพูดไม่ได้!!! ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำกันคือการพิมพ์ประกาศของที่เราจะขายพร้อมราคาลงในช่องแชท แน่นอนว่าการทำแบบนี้ไม่มีทางที่คนทั้งเกมจะเห็น ดังนั้นจึงมักมีจุดรวมตัวกันเพื่อขายของโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น Free Market ของเกม MapleStory ถึงแม้ว่าในเวลาต่อไปตัวเกมจะอัปเดตระบบตั้งร้านขายของเข้ามาแล้ว แต่เนื่องจากต้องใช้เงินจริงในการซื้อ ผู้เล่นบางคนไม่อยากเติมเงินจึงยังเลือกใช้วิธีดั้งเดิมอยู่นั่นเอง

Advertisement

Advertisement

aq1แหล่งอ้างอิงรูปภาพประกอบบทความ : ภาพ โดย Pexels จาก Pixabay

การประกาศขายของแบบดั้งเดิมนี้เราจะต้องทำให้ข้อความของเราสั้น กระชับ อ่านครั้งเดียวรู้ทันทีว่าขายอะไร และในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามทำให้ข้อความของเราโดดเด่นเพื่อส่งไปถึงสายตาคนซื้อให้ได้มากที่สุด ดังนั้นเรามักจะเห็นการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาต่อท้ายประโยค ยกตัวอย่างเช่น "ขายชุดเกราะนักรบเลเวล 60 ราคา 600 k ครับ@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@" จะเห็นว่ามีการเพิ่ม @ เข้ามาทำให้ประโยคของเราดูเด่นขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการผลักดันประโยคของคนขายคู่แข่งให้หายไปได้อย่างรวดเร็วด้วย เป็นกลไกการขายที่เหมือนจะวุ่นวาย แต่ก็เป็นอีกหนึ่งสีสันของการขายของในสมัยนั้นเลยทีเดียว

aq2แหล่งอ้างอิงรูปภาพประกอบบทความ : ภาพ โดย MoteOo จาก Pixabay

บางเกมจะมีระบบตั้งร้านขายของอัตโนมัติติดตัวมาให้กับตัวละครผู้เล่นเลย สิ่งที่ผู้เล่นต้องทำก็คือเลือกของที่จะขาย กำหนดราคา เปิดร้านค้า แล้วเปิดเกมรอจนกว่าจะมีคนมาซื้อ...ใช่ครับ!! เราต้องเปิดเกมทิ้งตัวละครขายของเอาไว้แบบนั้นแหละ!! จะเก็บเลเวลก็ไม่ได้ จะทำเควสก็ไม่ได้เช่นกัน ทำได้อย่างเดียวคือรอ ระหว่างนี้บางคนอาจสลับหน้าจอไปดูการ์ตูนหรือซีรีส์ต่าง ๆ หรือถ้าใครคอมพิวเตอร์แรงหน่อยก็เปิดเกมอื่นขึ้นมาเล่นเป็นจอที่สองไป เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นตลาดเมือง Morroc ของเกม Ragnarok

Advertisement

Advertisement

aq3แหล่งอ้างอิงรูปภาพประกอบบทความ : ภาพ โดย 200 Degrees จาก Pixabay

ต่อมาระบบการซื้อขายก็มีการปรับปรุงให้มีสะดวกสบายต่อผู้เล่นมากขึ้นในเกมออนไลน์ยุคต่อ ๆ มา เช่นระบบตลาดกลางที่เราสามารถสำรวจราคาขายทั่วไปก่อนแล้วค่อยตั้งราคาขายตามต้องการได้ ซึ่งบางเกมอาจไม่จำกัดจำนวนเงินขั้นต่ำหรืออาจจะคิดเป็นค่าเฉลี่ยราคาไอเทมในตลาดปัจจุบันก็แล้วแต่ระบบของเกมนั้น ๆ แล้วตัวละครเราก็สามารถไปเก็บเลเวลหรือทำเควสได้ตามปกติ ถ้าไอเทมขายออกจะมีจดหมายแจ้งเตือนมา เป็นต้น

aq4แหล่งอ้างอิงรูปภาพประกอบบทความ : ภาพ โดย ElasticComputeFarm จาก Pixabay

จากวิวัฒนาการของการซื้อขายไอเทมภายในเกม ไม่ว่าจะแบบดั้งเดิม ตั้งร้าน หรือตลาดกลาง เรามักจะเห็นสิ่งที่เรียกว่าการตัดราคาเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะเกมที่ระบบการตั้งร้านค้าที่เราสามารถสำรวจราคาไอเทมที่เราต้องการจะขายในท้องตลาดก่อนได้ว่าราคาต่ำสุดและราคาสูงสุดของไอเทมชิ้นนั้นอยู่ที่ราคาเท่าไร แล้วประเมินความต้องการของไอเทมชิ้นนั้นในเกมดูว่าขณะนั้นมีความต้องการมากน้อยขนาดไหน ถ้าต้องการมากก็สามารถตั้งราคาสูงได้ แต่ถ้าความต้องการต่ำก็ต้องตั้งราคาให้ต่ำที่สุดหรือต่ำกว่าราคาต่ำสุดเพื่อตัดราคา เป็นต้น บางคนมองไกลกว่านั้นโดยการไปตรวจสอบกับเกมเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศที่มักมีการอัปเดตมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ประเทศเรา โดยไปดูว่าในอนาคตจะมีการอัปเดตใดที่ทำให้ไอเทมบางอย่างในเกมราคาสูงขึ้นหรือไม่ ถ้ามีเราก็จะไปทำการหามากักตุนเอาไว้ก่อนเป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าการซื้อขายไอเทมในเกมสมัยก่อนนั้นสนุกสนานมากเลยทีเดียว ผมเชื่อว่าผู้อ่านก็คงมีประสบการณ์ซื้อขายไอเทมในเกมมาบ้างเหมือนกัน มาร่วมแชร์ประสบการณ์กันได้ที่เพจของผมนะครับ สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อนแล้ว สวัสดีครับ

Advertisement

Advertisement


Facebook Fanpage ของผู้เขียนบทความ :https://www.facebook.com/PDEsterTheCreator/

แหล่งอ้างอิงรูปภาพปกบทความ : ภาพ โดย Free-Photos จาก Pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
PDEsterCreator
PDEsterCreator
อ่านบทความอื่นจาก PDEsterCreator

ผมคือ PDEster ผู้ชื่นชอบในการเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ติดตามบทความใหม่ๆ ได้ด้วยการกด Follow หรือทาง Faceb

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์