ไลฟ์แฮ็ก

เล่าเรื่องให้เป็นเรื่องเล่า

575
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เล่าเรื่องให้เป็นเรื่องเล่า

“นี่ๆ เมื่อวานมันสนุกมากเลยอะ” “สนุกยังไงแก” “มันสนุกอะ บอกไม่ถูก รู้แต่มันสนุก” “....”

เหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นได้กับหลายๆคน ที่ไม่รู้จะอธิบายยังไง กับสิ่งที่เจอมา

เอาเป็นว่า บอกได้แค่ว่า “สนุกอะ” .... ความจริงก็ไม่ผิดหรอกนะ ที่จะไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งที่รู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้ เพราะว่า บางทีมันก็เป็นแค่ “ความรู้สึก” เนอะ

แต่ว่า - - เวลาที่เราต้องพูดเล่าเรื่อง โดยเล่าให้เป็นเรื่อง เป็นราว ในการทำงานนั้น

หลายคนก็ยังคงเจอปัญหาเหมือนข้างบน คือ “จะเล่ายังไงดี”

บางคนบอกว่า ก็เล่าไปดิ อยากเล่าไรก็เล่า อยากพูดไรก็พูด ..... เอายังงั้นก็ได้นะ แต่ - - มันทำให้เห็นเลยว่า “เราเล่าไม่เป็นเรื่อง” พอๆกับไม่ได้เรื่องเลย

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/IMG_2909.JPG?itok=DpDN9FIf

เล่าเรื่องเป็น vs เล่าเรื่องได้

แล้วจะทำยังไงดี ที่จะทำให้เรา “เล่าเรื่องเป็น” ไม่ใช่แค่ “เล่าเรื่องได้” เพราะสองแบบนี้ต่างกัน ตรงนี้เล่าเรื่องได้ คือ

Advertisement

Advertisement

  • ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของตัวเองออกไปได้
  • ผู้ฟังเข้าใจเรื่องเล่าเพียงบางส่วน แต่ขาดความสนใจทั้งหมด

เล่าเรื่องเป็น คือ

  • ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของตัวเองออกไปได้อย่างน่าสนใจ กระชับ ชัดเจน
  • ผู้ฟังเข้าใจเรื่องเล่าชัดเจน และ สนใจเรื่องเล่า

ถ้าจะดูให้ละเอียดขึ้น จะเห็นว่า “เล่าเรื่องได้” เหมือนกับ อยากเล่าก็เล่าไปสิ น่าสนใจ หรือคนจะฟังหรือเปล่า ไม่รู้นะ

ในขณะที่ “เล่าเรื่องเป็น” คือ คนที่สามารถเล่าได้อย่างน่าสนใจ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ ที่สำคัญเลย คนฟังสนใจและอยากฟังต่อ

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/IMG_7679.JPG?itok=_i3v_ioh

ทำอย่างไรให้สามารถเล่าเรื่องเป็นเรื่องเล่าได้

ความจริง ยากนะ กับการที่จะฝึกทักษะการพูดให้เล่าเรื่องเป็น เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการพูดที่แตกต่างกัน คนที่ฝึกการพูดมาตั้งแต่เด็ก ย่อมมีพื้นฐานที่ดีกว่าคนที่ไม่ได้ฝึก ... แต่ก็ใช่ว่า คนที่เพิ่งเริ่มฝึก จะไม่สามารถเทียบเท่าคนที่มีพื้นฐานดีมาได้เลย เพราะเรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และการฝึกฝนอย่างเนื่อง

Advertisement

Advertisement

จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ทำงานอยู่ใน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และยังทำงานในด้านของการเล่าเรื่องมาโดยตลอด

มีวิธีการที่จะทำให้ทุกคนสามารถเล่าเรื่องต่างๆ ให้เป็นเรื่องเล่าที่สนใจได้ ดังนี้

  • ฟัง & อ่าน ให้มาก : การฟังและการอ่านจะช่วยเพิ่ม “คลังข้อมูล” ให้กับเรา แต่เมื่อฟังและอ่านแล้ว จะต้องจดจำในสิ่งที่ฟังและอ่านไปด้วยนะ ไม่ใช่สักแต่ว่าอ่าน หรือสักแต่ว่าฟัง ... ถ้าใครขยันหน่อยก็ลองจดบันทึกสั้นๆไว้ก็ดีนะ อีกอย่างที่สำคัญเลยคือ ชอบมีคนถามว่า ควรฟังหรือควรอ่านอะไร... ตอบได้เลยว่า “ทุกอย่างจ้า” เพราะยิ่งฟังมาก ยิ่งอ่านมาก ก็ยิ่งมีคลังข้อมูลมากเท่านั้น
  • ฝึกจับประเด็นจากสิ่งที่ฟัง & อ่าน : จับประเด็น คือ การบอกได้ว่า สิ่งที่เราฟัง&อ่าน นั้น ตรงไหนคือเรื่องสำคัญ แล้วเรื่องที่สำคัญนั้นมีอะไรบ้าง ถ้าหากมันยากนัก ก็ลองใช้คำถาม ถามตัวเองเลยว่า “เรื่องนี้ต้องการบอกอะไรเรา”คำตอบที่ได้นั้น ต้องเป็นคำตอบสั้นๆ ไม่ต้องขยายความให้เยิ่นเย้อ ... บอกเลยว่า ยากนะสำหรับบางคน ที่ติดกับการอธิบายยาวๆ หากแต่ก็ต้องฝึกนะจ๊ะ ไม่งั้นจะกลายเป็นยิ่งขยาย ซึ่งจะนำไปสู่ความเยอะในที่สุด
  • ลองอธิบายสั้นๆขยายประเด็น : ข้อเมื่อกี๊ แนะนำไปว่าให้จับประเด็นสั้นๆให้ได้ จากนั้นก็นำมาต่อข้อนี้เลยจ้า ลองอธิบายสั้นๆ จากประเด็นเมื่อกี๊ อธิบายโดยใช้ภาษาของตัวเอง แล้วลองถามคนข้างๆ หรือถามเพื่อนว่า เข้าใจไหม... บอกเลยว่า ข้อนี้ต้องอาศัยคนข้างๆ หรือเพื่อนๆ เป็นคนที่จะคอยสะท้อนให้เรารู้ว่า สิ่งที่เราพูดไปนั้น สั้นกระชับและเข้าใจหรือไม่ ... เมื่อใดก็ตามที่คนฟังยังสงสัย และมีคำถาม นั่นแสดงว่า เราอาจยังไม่สามารถอธิบายประเด็นได้เข้าใจ
  • กำหนดเรื่องสักเรื่อง ลองเล่าและอัดวิดิโอ : ขั้นนี้เป็นขั้นที่ เราจะได้ฝึกว่า ถ้าจะเล่าเรื่องสัก 1 เรื่อง ควรมีประเด็นอะไรบ้าง จดประเด็นไว้ แล้วลองพูดอธิบายประเด็นนั้นๆ ... สิ่งสำคัญที่สุด คือ “เล่าเรื่องให้เป็นธรรมชาติ...เล่าเรื่องให้เป็นตัวเรา” แต่ก็ไม่ใช่ว่า เป็นตัวเราจนเกินไป เพราะอย่าลืมว่า เราต้องการให้ทุกคนฟังเรื่องของเรา ดังนั้น “การใช้ภาษาในการเล่า หรือ เนื้อหาที่จะเล่า” จะต้องเรียบเรียงให้ต่อเนื่อง และไม่สะดุด ... การอัดวิดิโอ จะช่วยทำให้เราได้เห็นตัวเราเอง ว่าเล่ารู้เรื่องไหม เล่าเรื่องได้เข้าใจไหม เล่าเรื่องแล้วเป็นอย่างไร...
  • เล่าเรื่องด้วยภาพ : การเล่าเรื่องด้วยภาพ ดีกว่า การเล่าเรื่องด้วยตัวอักษร เนื่องจากจะช่วยทำให้เราไม่ต้องกังวลกับตัวอักษร เพราะหลายคนกังวลกับตัวอักษรจนเผลออ่านตาม แทนที่จะเล่า ก็มีเยอะไป... ภาพ จะช่วยทำให้คนฟังสนใจฟังสิ่งที่เราจะพูด แต่ การจะหาภาพให้เหมาะสมกับเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อีกอย่าง ผู้เล่าจะต้องพยายามกำหนดประเด็นที่จะเล่าเรื่องจากภาพให้ได้ ไม่เช่นนั้นท้ายสุดแล้ว จะกลายเป็นว่า ออกมาบ่นให้ทุกคนฟังhttps://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/IMG_2114.JPG?itok=i21jEg5S

Advertisement

Advertisement

การเล่าเรื่องให้เป็นเรื่องเล่า ไม่ได้เกิดจากพรสวรรค์เท่านั้น หากแต่ “พรแสวง” หรือการฝึกฝนต่างหากเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าคุณไม่ฝึกฝน ไม่เรียนรู้ ไม่ปรับปรุงทักษะการเล่าให้น่าสนใจ ทุกอย่างก็ไม่เกิดขึ้น....ลองเล่าดูนะคะ เริ่มเล่าจากเรื่องง่ายๆ เล่าจากสิ่งที่สนใจ เล่าจากเหตุการณ์ที่ประทับใจ ค่อยๆเล่าไป แล้วจะกลายเป็นเรื่องเล่าเอง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์