อื่นๆ

แรงบันดาลใจจากเมล็ดพันธุ์สู่งานเซรามิกสร้างสรรค์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แรงบันดาลใจจากเมล็ดพันธุ์สู่งานเซรามิกสร้างสรรค์

ธรรมชาติสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาให้มีความยิ่งใหญ่สวยงามสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่พักอาศัย แหล่งอาหารของบรรดาสัตว์ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้อาศัยอยู่ด้วยกัน โดยมีเมล็ดพันธุ์ในการสืบทอดและขยายพันธุ์ จากต้นไม้ใหญ่สู่เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ อาศัยเวลาความชื้นและแสงแดดที่เหมาะสม เมล็ดพันธุ์จะสร้างรากอ่อนหยั่งลงสู่พื้นดินที่สมบูรณ์

ภาพโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย Pramet Klangmuenwai

ผลงานสร้างสรรค์ ของผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย ชิ้นที่ 1 (สัมพันธภาพแห่งธรรมชาติ)

ภาพโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย Pramet Klangmuenwai

ผลงานสร้างสรรค์ ของผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย ชิ้นที่ 2 (ความงอกงามแห่งเมล็ดพันธ์)

จากเมล็ดพันธุ์ สู่ต้นกล้า เป็นต้นไม้ใหญ่ ก่อเกิดเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์ พืชพันธุ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชเล็กหรือต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีช่วงเวลาวงจรชีวิตที่มีกระบวนการของการเจริญเติบโตกลายเป็นต้นอ่อน โดยมีเปลือกทำหน้าที่เสมือนเกราะห่อหุ้มสิ่งสำคัญที่อยู่ภายในเอาไว้เพื่อให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตออกมาทำหน้าที่ต่อไปเป็นความงามของช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านที่มีกระบวนการเกิดขึ้นและค่อยเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ดเล็กๆ

Advertisement

Advertisement

ภาพโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย Pramet Klangmuenwai

ความประทับใจดังกล่าวจึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ที่เกิดจากจากความประทับใจในพลังและความงามของเมล็ดพันธุ์ที่สามารถกักเก็บความอุดมสมบูรณ์ไว้ในเมล็ด โดยอาศัย น้ำ แสงแดด และระยะเวลาที่เหมาะสมจากเล็ดพันธุ์กลายเป็นต้นกล้า เป็นต้นไม้ใหญ่ ก่อเกิดเป็นผืนป่า สร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ผู้วิจัยผลงานนี้ได้บอกเล่าเรื่องราวผ่านรูปทรง โดยการตัดทอนและเติมแต่งจากรูปทรงของเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของความอุดมสมบูรณ์และการเกิดใหม่ของพืช โดยกระบวนการสร้างสรรค์ผ่านเทคนิคเครื่องปั้นดินเผา

ภาพโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย Pramet Klangmuenwai

ผลงานสร้างสรรค์ ของผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย ชิ้นที่ 3 (สัมพันธภาพแห่งธรรมชาติ รูปทรง)

การออกแบบ ในขั้นตอนของการออกแบบ เริ่มจากการนำแรงบันดาลใจมาคิดวิเคราะห์จนนำไปสู่การสรางสรรค์ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา “แสงแห่งชีวิต” ที่มีแนวความคิดมาจากโดยการตัดทอนและเติมแต่งจากรูปทรงของเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของความอุดมสมบูรณ์และการเกิดใหม่ของพืช แล้วได้นำไปพัฒนาต่อเป็น ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา “แสงแห่งชีวิต”

Advertisement

Advertisement

ภาพโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย Pramet Klangmuenwai

การผสมส่วนผสมต่างๆเพื่อให้ได้เนื้อดินปั้นที่ดี มีคุณภาพ

ซึ่งมีกระบวนการพัฒนาเนื้อดินปั้นจากแหล่งดินพื้นบ้านเขตทวีวัฒนาเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตทวีวัฒนาเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตรกรรมเช่นการทำนา สวนผัก ผลไม้ และสวนกล้วยไม้ คุณสมบัติของดินในเขตพื้นที่ทวีวัฒนาซึ่งเกิดจากการทับถมกันของตะกอนดินผ่านระยะเวลานาน

ภาพโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย Pramet Klangmuenwai

ภาพตารางสามเหลี่ยม (Triaxial Blend) ที่ใช้คำนวนหาอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับเป็นดินปั้นเครื่องปั้นดินเผา

สามารถนำมาปรับปรุงเป็นดินปั้นเครื่องปั้นดินเผาโดยการใช้สูตรตารางสามเหลี่ยม (Triaxial Blend) ใช้ดินพื้นบ้านจากเขตทวีวัฒนาเป็นส่วนผสมหลัก โดยมีส่วนผสมกับวัตถุดิบอื่นคือดินขาวและดินเชื้อเพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์คุณสมบัติที่เหมาะสมของเนื้อดินปั้นและสามรถเป็นประโยชน์ต่อไปในการพัฒนาท้องถิ่นตามนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่ทวีวัฒนาได้ในอนาคต

Advertisement

Advertisement

ความประทับใจของผู้เขียนก่อเกิดความงามขึ้นมาในจิตใจที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดผ่านอารมและความรู้สึก มาเป็นประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับพลังความงานที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดออกมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะชอบผลงานเหล่านี้  และถ้าผู้เขียนมีผลงานชุดใหม่ออกมา จะนำมาถ่ายทอดให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้รับชมต่อไป.......อีกไม่นานแน่ๆครับ

เครดิตภาพทั้งหมดโดยผู้เขียน ปราเมศวร์ กลางหมื่นไวย  Pramet Klangmuenwai (RTang)

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน  App TrueID โหลดเลย ฟรี !

STAR COVER

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์