อื่นๆ

ตลาดนัดรองเท้าแตะ - คู่มือพร้อมเทคนิคการเดินตลาดฉบับเข้าใจง่าย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ตลาดนัดรองเท้าแตะ - คู่มือพร้อมเทคนิคการเดินตลาดฉบับเข้าใจง่าย

ตลาด หมายถึง สถานที่ที่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน แต่ทางเศรษฐศาสตร์แล้วตลาดไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว ตลาดที่คนเรามักจะพูดถึงจะเป็นตลาดที่มีสถานที่ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน และเป็นตลาดที่อยู่คู่คนไทยเรามาช้านาน เพราะการแลกเปลี่ยนเป็นกิจกรรมของคนเรามาตั้งนานแล้ว

ถ้าเราจะพูดถึงการแบ่งประเภทของตลาด มันสามารถที่จะแบ่งได้หลายประเภทมาก ๆ และแบ่งได้หลายเกณฑ์อีกต่างหาก ฉะนั้นแล้ว ตลาดที่จะพูดถึงก็คือ ตลาดสด

ตลาดสด คือ ตลาดซื้อขายอาหารสดไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ รวมถึง เครื่องเคียงและอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบอาหารอีกด้วย ส่วนมากแล้ว ตลาดสดมักจะขายเป็นประจำวันมีสถานที่แต่ละร้านและเวลาเปิด - ปิด ที่แน่นอน แตกต่างกับตลาดนัดที่สถานที่ของแต่ละร้านและเวลาเปิด - ปิด ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน

Advertisement

Advertisement

การเดินซื้อของที่ตลาดสดเป็นเรื่องที่หลายคนคุ้นเคยกันดี หรือบางคนก็ไม่เคยหรือพูดง่าย ๆ คือ เดินไม่เป็น แต่ไม่เป็นไรสำหรับคนที่สนใจเทคนิคเล็ก ๆ ของการเดินตลาด หรือ อยากเดินตลาดเองคนเดียว เรามีเทคนิคที่คิดว่าช่วยคุณได้แน่นอน แต่จะเริ่มจากเทคนิคง่าย ๆ เหมือนใส่รองเท้าแตะเดินตลาด ก่อนแล้วค่อยเรียงลำดับไปถึง เทคนิคที่คาดไม่ถึง


ร้านขายเนื้อสัตว์เนื้อสัตว์

ปลา

  • โดยปกติแล้วที่ตลาดร้านขายเนื้อต่าง ๆ จะขายเนื้อจากสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้น เช่นร้านขายหมู จะขายแค่เนื้อส่วนต่าง ๆ ของหมูจะไม่ขายเนื้อไก่ หรือ เนื้อวัว ในร้านเดียวกัน
  • ร้านขายหมูจะแขวน กระดูกหมูที่หน้าตาจะเป็นแพ ๆ คล้ายสายพาน หรือ แผงกระสุน
  • ถ้าร้านขายหมูใหญ่ ๆ จะมีขายเลือดหมู และเครื่องในด้วย บางร้านก็ไม่มี
  • ส่วนมากแล้วหน่วยเล็กที่สุดที่ร้านขายเนื้อสัตว์จะขายให้ได้คือครึ่งกิโล เราสามารถซื้อ สะโพกไก่ ครึ่งกิโล 1 กิโล 2 กิโล ได้ แต่ซื้อแค่ 2 ขีด ไม่ได้ ( ในบางกรณีที่บางพื้นที่สามารถซื้อเป็นขีดหรือบอกแม่ค้าพ่อค้าได้ว่าจะซื้อในราคากี่บาท แต่พบได้ไม่บ่อยมากนัก )
  • ชิ้นส่วนของเนื้อไก่ที่หน้าตาคล้าย ๆ น่องไก่แต่เล็กกว่า จริง ๆ แล้วนั่นเรียกว่า ปีกบน ไม่ใช่น่องไก่อันเล็ก
  • ร้านขายเนื้อหมูไม่มีเบค่อนขายนะ
  • ร้านขายปลามีความพิเศษที่ว่าจะขายปลาชนิดอื่นในร้านเดียวกันด้วย ปลาที่หาซื้อได้ง่ายที่สุดคือ ปลาทับทิม และ ปลานิล ยกเว้นปลาทูที่จะแยกร้านขาย
  • การขายปลานิล และปลาทับทิม จะขายเป็นตัว ๆ โดยแม่ค้าจะชั่งให้ว่าตัวนี้หนักเท่าไหร่ คิดราคากี่บาท ถ้าเราตกลงได้แล้วว่าจะเอาตัวนี้ แม่ค้าก็จะถามต่อว่า จะเอาไปทำอะไร ทอด หรือนึ่ง ซึ่งแม่ค้าจะบั้งปลา ขอดเกล็ด คว้านเครื่องในออกให้ รวมถึงตัดหัวออกให้ด้วยถ้าเราต้องการ เป็นเซอร์วิสที่ทางร้านจะทำให้ฟรี ถ้าเราตกลงกัน
  • กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก หอยต่าง ๆ มักจะขายร้านเดียวกัน ราคาของปลาหมึกและกุ้ง จะต่างกันที่ขนาดตัว ถ้ากุ้งตัวใหญ่หน่อยราคาจะตกอยู่ที่ประมาณครึ่งกิโล 200 บาท

Advertisement

Advertisement

ร้านขายเครื่อปรุงและอาหารแปรรูป

เครื่องปรุง

  • เป็นร้านที่หาซื้อเครื่องปรุง เครื่องเคียง อาหารแปรรูปพวก ไส้หรอก ลูกชิ้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ได้หมดไม้ว่าจะเป็น ซอสต่าง ๆ เกลือ พริกไทบยป่น พริกไทยเม็ด พริกแกง ( พริกแกงแต่ละชนิดราคาไม่เท่ากัน และขายเป็นขีดหรือกิโลกรัมเท่านั้น ) กุ้งแห้ง เคย รวมถึงของแห้งพวกเส้นด้วย
  • ร้านขายเครื่องปรุง ถือเป็นร้านที่ขายของได้หลากหลายมาก บางร้านขายหน่อไม้ดอง ปลาร้า

ร้านขายผัก

ผัก

  • ผักแต่ละชนิดจะขายไม่เหมือนกันยกตัวอย่างเช่น แตงกวา เห็ดหูหนู และอื่น ๆ จะชั่งกิโลขาย ถั่วฟักยาว ต้นหอมผักชี ตะไคร้ เครื่องต้มยำ จะขายเป็นกำ กำละ 5-10 บาทแล้วแต่บางร้าน ฟัก กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ จะขายเป็นหัวโดยคิดราคาจากน้ำหนักของแต่ละหัวที่ต้องการ ถ้าหนักก็จะแพงขึ้นมาหน่อย
  • อย่าไว้ใจถ้าเจอผักราคาถูกกว่าปกติในบางร้าน เพราะอาจจะเป็นของค้างจากเมื่อวานก็ได้

Advertisement

Advertisement

ร้านขายไข่

ไข่

  • ทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่จะขายทีละ 10 ฟองเป็นอย่างต่ำ ราคารจะแตกต่างกันที่ขนาดของไข่ ไข่เบอร์ใหญ่ที่สุดคือเบอร์ 0 ถ้าขนาดเล็กลงมาก็จะเป็นไข่เบอร์ 1 2 3 เล็กลงมาเรื่อย ๆ ไข่ที่เปื้อนหรือเบี้ยวผิดรูปจะคละ ๆ มาขายราคาจะถูกมาก ๆ
  • แผงไข่ 1 แผงจะมี 30 ฟอง ถ้าซื้อเป็นแผงราคาจะไม่ถูกลง แต่ถ้าเอาแผงไข่ไปเองจะดีกว่า ป้องกันไข่แตกจากการขนย้ายได้ดี แต่ถ้าไม่เอาแผงไข่ไป มีสองทางเลือกคือให้แม่ค้าใส่ถุงมาเลย แม่ค้าจะรองก้นถุงด้วยหนังสือพิมพ์ แต่ป้องกันอะไรได้ไม่มาก หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือขอซื้อแผงไข่จากแม่ค้าเลย ถ้าซื้อแผงจากเม่ค้าหรือเอาแผงไปเองแม่ค้าจะมัดแผงไข่ให้ด้วยเชือกฟางฟรี ถือว่าเป็นเซอร์วิสที่ดีทีเดียว
  • บางร้านมีไข่เค็มขายแต่จะคิดราคาต่อฟองแทน

ร้านขายของสวน

สวน

  • ร้านขายของสวนเป็นแม่ค้าที่หอบของใส่ตะกร้ามาขาย ส่วนมากจะเป็นถั่วพู สายบัว ดอกอัญชัน สะเดา ใบตอง มะดัน และอื่น ๆ
  • แม่ค้าขายของสวนจะมาวางตะกร้าไว้แต่เช้า เช้าตรู่เลย ถ้าอยากไปซื้อต้องไปเช้ามาก ๆ ตื่นสายคืออด เพราะของจะหมดก่อนหรือแม่ค้าจะกลับไปเอง แต่ในบางพื้นที่ที่ของสวนหาง่ายอาจจะตั้งขายกันจนถึงเย็น

ร้านขายของแห้งไม่แปรรูป

ของแห้ง

  • จะเป็นร้านที่ขายของจำพวกเครื่องปรุงที่ไม่ผ่านการแปรรูปพวก หัวหอม กระเทียมไทย กระเทียมจีน หอมหัวแดง เผือก บางร้านขายใบเตยด้วย
  • ร้านแบบนี้ทมีสองระบบขาย บางร้านก้ขายเป็นกิโล บางร้านขายเป็นถุงเล็ก ๆ 10 บาท 20 บาท

ร้านขายขนม
ขนม

  • ส่วนมากแล้วร้านขนมจะมีสองระบบขาย คือ แบบสำเร็จรูป แล้วไม่สำเร็จรูป แบบสำเร็จรูปเมื่อเราซื้อมาแล้วจะสามารถกินได้เลย แบบไม่สำเร็จรูปมักจะขายให้กับคนที่จะไปทำขนมขายต่ออีกที ขายไม่สำเร็จรูปยกตัวอย่างคือ เฉาก๊วยที่มีแต่เฉาก๊วยจริง ๆ ลูกชิดก็มีแต่ลูกชิด จริง ๆ หรือจะเรียกร้านขนมไม่สำเร็จรูปพวกนี้ว่า ร้านขนมเพียว ๆ ก็ได้
  • ร้านขนมไม่ใช่ว่าจะมีแต่ขนมไทย บางร้านขายเค้ก หรือขนมปัง คุกกี้ด้วย

ร้านขายผลไม้

ผลไม้

  • ถ้าเป็นผลไม้ลูกใหญ่จำพวก ทุเรียน แตงโม สับประรด จะขายเป็นลูก ๆ ไปเลย หรือเรียกอีกชื่อว่า ขายยกลูก แต่ถ้าเป็นมะพร้าวคงหาซื้อยากหน่อย
  • ผลไม้ลูกเล็กพวก ส้ม ชมพู่ มะม่วง องุ่น ลองกอง มักจะขายเป็นกิโล

จริง ๆ แล้วในตลาดแต่ละพื้นที่มีร้านต่าง ๆ อีกเยอะในบางพื้นที่มีร้านที่ขายของใช้ทั่วไปด้วย การเดินตลาดต้องอาศัยประสบการณ์หน่อยเพราะบางครั้งก็เจอเหลี่ยมของแม่ค้าเข้าให้ แต่จะเป็นแค่บางร้านเท่านั้น หลังจากนี้จะยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดที่มีร้านต่าง ๆ มากมายมารวมกันโดยมองที่ภาพรวม

  • ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เป็นของที่หาซื้อได้ง่ายมาก แต่ราคาก็เปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากเช่นกัน วันนี้ซื้อหมูบดกิโลละ 150 บาท พรุ่งอาจจะเป็น 155 หรือ 160 บาทก็ได้ ถ้าซื้อมะม่วงตอนเช้ากิโลละ 30 บาท ตกเย็นอาจจะเหลือ 25 บาท
  • ของขายที่หน้าตาดีจะแพงกว่าของขายที่หน้าตาไม่ดีเป็นเรื่องปกติ
  • ควรใส่กางเกงขาสั้นรองเท้าแตะไปเดินตลาดเพราะไม่ใช่ทุก ๆ ตลาดจะเป็นตลาดที่พื้นแห้ง
  • ช่วงโควิด 19 ต้องใส่หน้ากาอนามัยเข้าตลาดเพราะถ้าไม่ใส่บางร้านจะไม่ขายให้
  • ของขายที่มีเซอร์วิสของแม่ค้าเสริมเข้ามาด้วยจะคิดราคาเพิ่ม เช่น พริดขี้หนูที่เด็ดขั่วให้แล้ว หรือกระเทียมที่ปอกให้แล้ว ยกเว้นการแพคไข่ลงแผง หรือ ขอดเกล็ดปลา หรือตัดรากผักบุ้งจีน หรือคั้นกะทิสด
  • ถ้าเราตกลงกันดี เราสามารถบอกแม่ค้าไว้ได้ ว่าจะไปซื้ออย่างอื่นก่อนในระหว่างที่รอแม่ค้าหรือพ่อค้า กำลังบริการกับตัวของที่เราซื้อ เช่น ขอตัวไปซื้อผักในระหว่างที่แม่ค้าคั้นกะทิสดหรือคว้านใส้ปลาให้เราอยู่ ตัวอย่างคำพูดง่าย ๆ ที่คนไทยรู้จักดี คือ

เดี๋ยวมาเอานะพี่

จากเทคนิคที่ว่ามา สามารถนำไปใช้ได้โดยเฉพาะคนที่ชอบการทำอาหารกินเองอยู่กับบ้าน เพราะลองคำนวณดูแล้ว ถ้าไม่เร่งรีบมากนักและมีความสามรถในการทำอาหาร ทำกินเองจะคุ้มกว่าซื้อกินเป็นเรื่องปกติ

ถ้ารู้เทคนิคที่ช่วยให้การเดินตลาดขนาดนี้แล้วมันก็ง่ายเหมือนใส่รองเท่าแตะนั้นแหละครับ


รื่องเล่าจากตลาดตอนเช้าในจังหวัดนนทบุรี

ผมเดินไปจ่ายเองตลาดตั้งแต่ อายุ 14 ปี สิ่งที่ชอบมากที่สุดคือ จะมีร้านขายไก่อยู่ร้านหนึ่ง ผมซื้อเขาประจำทุกครั้งที่ต้องการ จนเขามักจะถามไถ่อยู่เสมอว่า หนูวันนี้ไม่เอาอะไรหรอลูก เป็นประโยคที่ได้บ่อย ๆ เวลาที่ต้องเดินผ่านร้านนี้ แต่ทำไมผมถึงซื้อร้านนี้เป็นประจำ ผมมีเหตุผลอยู่สามข้อด้วยกัน

  1. ร้านนี้ตั้งอยู่ในที่ ๆ ไม่ใกล้ไม่ไกลมากนัก
  2. สินค้ามีคุณภาพ ตั้งแต่ซื้อมาได้ไก่สดอยู่เสมอ
  3. แม่ค้าปากหวานมากก บางวันก็ชม  พ่อหนุ่มหล่อขนาดนี้ยังไม่มีแฟนหรอ  ( ผมลอยละครับป้า )

เก่งนะเนี่ยยังหนุ่มอยู่เลยทำกับข้าว เดินตลาดเป็นละ  ( เดี๋ยวผมมาซื้อร้านป้าประจำเลยครับ )

ป้าลดให้ 10 บาทนะเห็นมาซื้อ บ่อย ๆ  ( เยี่ยมเลยครับป้า ถือว่าเราได้ประโยชน์ทั้งคู่ ดีล !! )

เห็นมั้ยครับร้านขายไก่ที่ว่ามีความได้เปรียบทางการค้าเอามาก ๆ ความได้เปรียบที่สำคัญที่สุดเลยคือ อัธยาศัยต่อลูกค้า สร้างความพึงพอใจแล้วเขาจะซื้อเราบ่อย ๆ ซื้อซ่้ำ เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกิดจากความพึงพอใจของผู้ผลิตและผู้บริโภค เหมือนที่ผมซื้อไก่จากร้านป้าเป็นประจำ


ขอบคุณรูปภาพถ่ายเอง วาดเองหมดจ้า

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์