อื่นๆ

การตกหลุมรักของดวง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การตกหลุมรักของดวง

ดวงเป็นเด็กนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 ดวงและเพื่อนๆ ได้ลงทะเบียนเรียนในวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบทางสังคม ปัญหาเกิดขึ้นเมื่ออาจารย์อยากจะให้ดวงและเพื่อนๆ ทำโครงการขึ้นมาสัก 1 ชิ้นในรายวิชานี้ ความคิดแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวของดวง คือ โครงการ ซึ่งดวงได้รับแรงบันดาลใจจากดาราดังที่ดวงชอบ และเข้าร่วมโครงการนี้ไปมอบสิ่งของแก่ชาวบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาลที่ขาดแคลน

แรงบันดาลใจของดวง

เมื่อดวงและเพื่อนๆ ไปนำเสนอโครงการนี้กับอาจารย์บอกสั้นๆ ว่า “ไม่ผ่าน”

Design Your Life

ทำไมโครงการของดวงและเพื่อนๆ ที่ได้เสนออาจารย์ถึง “ไม่ผ่าน” ?

อาจารย์เริ่มต้นตั้งคำถามดวงกับเพื่อนๆ ว่า โครงการที่ไปมอบสิ่งของให้กับชาวบ้านเป็นการสร้างพลเมืองอย่างไร? ดวงและเพื่อนๆ อึกอักตอบไม่ได้

อาจารย์อธิบายต่อว่า เรื่องของพวกคุณทำให้ผมนึกถึงการตกหลุมรักความคิดแรก ซึ่งเป็นข้อควรระวังหากเราต้องการไอเดียดีๆ ในการออกแบบงาน เพราะความคิดแรกที่เราคิดออกมานั้นเกิดจากธรรมชาติการทำงานของสมองที่ขี้เกียจและมีความต้องการอยากจะจัดการปัญหาให้เร็วที่สุด สมองจะส่งสารเคมีออกมาให้เราตกหลุมรักเสมือนที่เราตกหลุมรักครั้งแรก ซึ่งรักแรกมักจะไปไม่รอดเสมอ ส่วนใหญ่แล้วความคิดแรกมักจะเป็นความคิดกลางๆ ที่ไม่ค่อยจะสร้างสรรค์ ดังนั้นหากเราต้องการโครงการที่สร้างสรรค์ เราควรหาเครื่องมือที่จะช่วยเค้นสมองของเราออกมา

Advertisement

Advertisement

อย่าตกหลุมรักแรกอาจารย์จึงแนะนำดวงให้ทำแผนที่ทางความคิดเพื่อเป็นเครื่องมือในการเค้นความคิดจากสมองออกมา ประโยชน์ของการทำแผนที่ความคิด คือ การขยายขอบเขตความคิดและค้นหาแนวทางใหม่ๆ ด้วยการวาดเป็นภาพ ซึ่งจะทำให้เราเห็นความคิดที่เชื่อมโยงกัน

ดวงและเพื่อนๆ จึงร่วมกันทำแผนที่ความคิดตามขั้นตอน ดังนี้

1.เลือกหัวข้อ เทคนิคการเลือกหัวข้อง่ายนิดเดียว คือ ขอให้คำนึงว่า หัวข้อที่เราเลือกนั้นเป็นการแก้ปัญหาให้ของตัวเอง หรือผู้อื่นหรือไม่

2.เขียนแผนที่ความคิด ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่เราจะต้องไม่พอใจอะไรง่ายๆ เพราะอย่างที่ได้พูดไว้ว่า สมองเรานั้นขี้เกียจ ดังนั้นเราต้องด้นความคิดออกมาให้เยอะที่สุดเพื่อเอาไว้เลือก

3.เขียนความเชื่อมโยง ลำดับ และสรุปแนวคิด

แผนที่ความคิดเค้นสมองเมื่อดวงและเพื่อนๆ คิดโครงการได้และนำไปเสนออาจารย์ อาจารย์เล่าคำพูดคมๆ ของผู้ก่อตั้งสถาบัน D.School ของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดว่า “...คุณต้องพิจารณาไอเดียหลุดโลกก่อนจึงจะพบไอเดียที่ทำได้จริง ฉะนั้นจงอย่ากลัวที่จะคิดเพี้ยนๆ เพราะนั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดใหม่เอี่ยมที่เป็นไปได้...”

Advertisement

Advertisement

ภาพประกอบ: วันด้า

เครดิต: โปรแกรม Paint

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์