ไลฟ์แฮ็ก

ออมเงินอย่างไรให้เหลือเก็บ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ออมเงินอย่างไรให้เหลือเก็บ

เชื่อว่าหลายคนเป็นโรคทรัพย์จางบ๊อยบ่อย รวยต้นเดือน พอกลางเดือนไม่พอใช้ นั้นเป็นเพราะบริหารการเงินไม่ดี

วันนี้จึงอยากมาแชร์ไอเดีย เป็นเคล็ดลับดี ๆ ให้เงินเหลือเก็บมาฝาก จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นมาดูกันเลยค่ะ

แยกเหรียญไว้มีเก็บ

เหรียญ เทคนิคที่เราใช้  คือการแยกเหรียญ 5 บาทและ 10 บาทเอาไว้ ทุกครั้งที่ได้เงินทอนกลับมา หากมี 2 เหรียญ นี้อยู่จะเก็บเอาไว้ใส่กระปุกออมสิน พอสิ้นปีแล้วค่อยนำมารวมและนำไปฝากธนาคาร

ฝากประจำ

ฝากประจำ

ฝากประจำกับธนาคารที่ตัวเองเองสะดวก โดยเราเริ่มฝากประจำให้ลูกเดือนละ 1500 บาท เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการเก็บ และการทำงาน เพราะลูกคือที่สุดของหัวใจ และคือเป้าหมายที่ดี ที่จะทำให้เรามีแรงเก็บ หากยึดที่ตัวเอง คำว่าเดี๋ยวก่อน เดี๋ยวค่อยเก็บจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งจนทำให้ไม่ได้เก็บสักที วิธีเก็บเพื่อลูกนี้ละเวิร์คสุด ฝากประจำ 2 ปี อย่างน้อยสองปีเราก็มีเงินก้อนให้ลูกล่ะ 36,000 บาทยังไม่รวมดอกเบี้ยอีกนิดหน่อย

Advertisement

Advertisement

ซื้อสลากออมสิน

ออมิสน เราเลือกที่จะซื้อสลากออมสินเดือนละ 1000 มากกว่าจะเสี่ยงหวย หรือลงทุนด้วยวิธีอื่น เพราะรู้สึกว่ารับความเสี่ยงได้น้อย และเงินต้นไม่หาย อย่างน้อยจะฝากเดือนละ 1000 หากได้จ๊อบพิเศษมาก็จะหยอดในสลากออนไลน์ไว้ ซึ่งนอกจากจะได้เงินต้นที่ออมแล้วยังได้ลุ้นรางวัล บางครั้งก็ได้ 150  800  เคยครั้งหนึ่งถูกรางวัลที่ 4 ได้เพิ่มมา 10000 บาท ถือว่าคุ้มมากค่ะกับการออมด้วยวิธีนี้

หารายได้พิเศษจากเขียนบทความ trueid

ทรู ทุกครั้งที่มีโอกาสได้รับค่าเขียนมา เราจะแยกเงินส่วนนี้ไว้เป็นรายได้พิเศษที่หาได้ จากนั้นจะเก็บรวบรวมจนกว่าจะได้เงินก้อน เพื่อเบิกออกมาซื้อสลากออมสินออนไลน์ เพราะขั้นต่ำเขาฝากที่ 1000 บาท

หลังจากครบ 3 ปีที่เราฝากสลากออมสินได้ เงินส่วนหนึ่งถ้าสามารถเก็บเป็นเงินก้อนได้ เราจะแบ่งมาซื้อสะสมทองคำเอาไว้ เพื่อเป็นทรัพย์สินอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถแปลงเป็นเงินได้ และแน่นอนว่า เราได้วางระบบการเงินนี้ให้กับลูก ทุกครั้งที่เขาอยากได้อะไรก็ตาม หากนอกเหนือจากการเรียน เราจะให้เขาเก็บสะสมให้ได้เงินจำนวนครึ่งนึงก่อน ถึงจะสามารถซื้อสิ่งนั้นได้ อีกครึ่งเราถึงออกให้ ตอนนี้น้องอยู่ ป.5 สามารถจัดการการเงินได้ดี

Advertisement

Advertisement

โดยเราจะจ่ายเงินให้เป็นสัปดาห์เพื่อให้เขารู้จักบริหารจัดการเงินที่มีเอง วันไหนใช้เงินเกิน นั้นแสดงว่า วันที่เหลือเขาต้องประหยัดให้พอใช้ และนี่คือการบริหารจัดการการเงินของครอบครัวเรา หวังว่าคงจะมีประโยชน์ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์