ไลฟ์แฮ็ก

6 เทคนิคช่วยจำง่าย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
6 เทคนิคช่วยจำง่าย

"ความจำ" เป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้กับทุกอิริยาบทในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความจำ ยังเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สลับซับซ้อนในสมองของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นได้เองพอๆกับ-การลืม! การจำที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยสิ่งเร้าและปัจจัยภายนอกหลายอย่างเป็นตัวช่วย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ที่ผู้อ่านควรทำความเข้าใจก่อน คือ

1. ความจำทันที (Immidiate Memory) : คือความจำทันทีที่เกิดขึ้นจากสิ่งเร้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ได้ยิน มองเห็น รับรส ได้กลิ่น ที่เกิดขึ้นกระทันหัน ณ เวลานั้น แล้วเกิดการจำได้ทันทีชั่วขณะหนึ่ง แต่ความจำแบบนี้แม้จะจำได้อย่างรวดเร็วก็สามารถเลือนหายไปได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน หากมีการลืมเกิดขึ้นกับความจำแบบนี้ แม้จะเกิดการประมวลผลพยายามนึกย้อนหลังแล้ว ก็จะนึกไม่ออก เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนไม่ได้จำตั้งแต่แรก

Advertisement

Advertisement

2. ความจำระยะสั้น (Short-term Memory) : คือความจำที่เกิดขึ้นเมื่อเราตั้งใจจำเรื่องราวนั้นๆไว้ชั่วคราวเพียงไม่กี่นาที บางคนอาจจะมีความจำระยะสั้นได้ 8-10 นาที และกับบางคนอาจจะน้อยหรือมากกว่านั้น เมื่อความจำระยะสั้นเกิดขึ้นแล้วไม่มีการทบทวน ทำซ้ำ ไม่มีสิ่งเร้าในแนวทางเดียวกันมากระทบเพิ่ม ความจำระยะสั้นนี้ก็จะเลือนหายไปในที่สุด ซึ่งความจำแบบนี้หากมีการลืมเกิดขึ้น ประมวลผลนึกย้อนหลังก็จะนึกไม่ออก แต่ยังคงมีความรู้สึกว่าผ่านประสาทสัมผัสต่างๆมาบ้าง เพียงแต่นึกไม่ออกเท่านั้น

3. ความจำระยะยาว (Long-term Memory) : คือความจำที่อยู่ในระบบความทรงจำนานที่สุด นานเป็นปีๆหรือตลอดชีวิตของบุคคลนั้น เกิดจากการพัฒนาความจำระยะสั้นที่ได้รับการทบทวน ฝึกฝน เกิดกิจกรรมต่างๆจากความจำระยะสั้นบ่อยๆ ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าในแนวทางเดียวกันให้เกิดการทำซ้ำ จากความจำระยะสั้นก็จะพัฒนาเป็นความจำระยะยาวในที่สุด และหากมีการลืมเกิดขึ้นกับความจำแบบนี้ ผู้เขียนขอบอกเลยว่า คุณจะนึกมันออกในที่สุด แต่ต้องใช้เวลา อาจจะครู่หนึ่งหรืออาจจะนานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน แต่เมื่อเจอสิ่งเร้าใดที่เป็นไปในทางเดียวกันกับเรื่องราวเหล่านั้นที่เคยลืมไปแล้วก็จะจำได้ขึ้นมาเอง

Advertisement

Advertisement

ความจำสามารถผันแปรได้ตามช่วงอายุ สุขภาพ ความสมบูรณ์ของร่างกาย สิ่งเร้าภายนอกต่างๆ กิจกรรมต่างๆที่ทำ หากเกิดความสมดุล มีวิถีแนวทางการจำที่เหมาะสมกับเรื่องนั้นๆ หรือบุคคลนั้นๆ ความจำก็จะอยู่กับคุณไปอีกนานและเสถียร แต่ถ้าคุณเครียดซึ่งนั่นคือศัตรูตัวฉกาจของความจำ มีอาการเจ็บป่วย พบเจอสิ่งเร้าไม่พึงประสงค์ มีกิจกรรมเป็นพิษภัยต่อตนเองส่งผลให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ในขณะนั้น ความจำของคุณจะปรวนแปร ไม่เสถียร ผิดเพี้ยน หรือลืมได้ ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการให้คุณมีความจำที่ดีมีความสุขมากกว่า โดยชี้แนะแนวทางง่ายๆที่จะช่วยให้คุณจำได้ง่ายและนานขึ้น มาดูกันว่ามีอะไรบ้างและวิธีไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

6 เทคนิคช่วยจำ : ภาพจากผู้เขียน

6 เทคนิคช่วยจำ

1. มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ต้องการจำ

  • ความตั้งใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเราเลือกและตั้งใจจำอะไรสักอย่าง คุณควรทำใจให้นิ่งมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการจำ วิธีนี้จะช่วยให้ความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความจำระยะยาวแข็งแรงขึ้น

Advertisement

Advertisement

2. ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส ได้ยิน กลิ่น เสียง)

  • สิ่งเร้าที่ทำให้มีความจำเกิดขึ้นก่อนเกิดการกระทำอื่นๆทั้งหมด มาจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส ได้ยิน กลิ่น เสียง) ดังนั้นจงใช้ให้เป็นประโยชน์ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยวาดรูปขึ้นในความคิดของบุคคลนั้นควบคู่ไปกับการจดจำ การกระทำนี้จะช่วยให้คุณจำได้อย่างรวดเร็ว และจำได้นาน นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกความจำตามประสาทสัมผัสที่ได้รับบ่อยๆได้
  • ยกตัวอย่างเช่น ในประสาทสัมผัสทั้ง 5 เราได้รับแรงกระตุ้นจากได้ยิน และการเปล่งเสียงบ่อยที่สุด จะมีผลกับการพูดของเรา การจำคำพูด การเรียนภาษา การร้องเพลง หรือเมื่อเราถูกกระตุ้นด้วยประสาทการรับรส และได้กลิ่นบ่อยที่สุด จะมีผลกับการจดจำสูตรอาหาร การทำอาหาร หรืออะไรที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสการรับรส และได้กลิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง *ไม่ใช่ประสาทสัมผัสอื่นๆไม่ทำงาน แต่สิ่งที่นึกออกเป็นสิ่งแรก เป็นผลมาจากการได้รับแรงกระตุ้นจากประสาทสัมผัสด้านใดบ่อยที่สุดเท่านั้นเอง*

3. จัดการแบ่งกลุ่มข้อมูลและใส่หัวข้อกำกับ

  • เมื่อต้องเจอกับข้อมูลมากมาย ที่มีความซับซ้อน เป็นการยากที่เราจะจำทุกรายละเอียดครบถ้วนทั้งหมดได้ตั้งแต่แรกโดยไม่ตกหล่นข้อมูลใดเลย ผู้เขียนแนะนำให้คุณจัดการกับข้อมูลนั้นด้วยการสรุปรายละเอียดก่อน จากนั้นแบ่งกลุ่มเป็นข้อมูลย่อยเพื่อง่ายต่อความเข้าใจ และใส่หัวข้อกำกับตัวใหญ่ และเด่น เพื่อง่ายต่อการจดจำ

4. ถาม - ตอบ และหาจุดเชื่อมโยงของเนื้อหา

  • การถาม - ตอบ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับกระบวนการความคิดและการประมวลผล ดังนั้น เมื่อเราคิดคำถามขึ้นมา เราจะต้องประมวลผลดึงเอาความจำมาใช้เพื่อตอบคำถามหรือแก้ปัญหาเหล่านั้น เมื่อเราตอบคำถามได้ เท่ากับเราหาจุดเชื่อมโยงเจอว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป วิธีนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเนื้อหา และพบจุดเชื่อมโยงโดยอัตโนมัติไปพร้อมๆกัน

ภาพจากผู้เขียน

5. จดบันทึกช่วยจำ

  • การจดบันทึก อาจดูเหมือนน่าเบื่อ เหนื่อย เมื่อยมือ บางคนอาจคิดว่านั่นจดบันทึกหรืองานศิลปะกันแน่? แต่ผู้เขียนไม่ได้บอกให้คุณจดทุกอย่างทั้งหมดในโลกนี้ลงไป คุณเพียงแค่เลือกจดข้อมูลสำคัญที่ต้องจำ ต้องใช้ หรืออาจจะเอาการตั้งคำถามสั้นๆ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไม ลงไปเป็นตัวนำ เพื่อให้คุณรู้ถึงความสำคัญเหล่านั้น ซึ่งอาจจะลงสีไฮไลท์ ขีดเส้นไต้ วาดรูปนิดหน่อย เช่น พรุ่งนี้จะต้องติดต่อคุณเชน เวลา 14.00 น. (ใคร-เมื่อไหร่) เรื่องการลงทุน และเช่าพื้นที่ร้านค้าหน้าโลตัส (อะไร-ทำไม) วาดรูปไอคอนโทรศัพท์ ลงสีนิดหน่อย และตามด้วยเบอร์โทร 089-xxxxxx (อย่างไร) แล้วคุณจะพบว่า แค่การเขียนหรือวาดรูปเล็กๆน้อยๆ ทำให้คุณจำข้อมูลได้นานอย่างน่าเหลือเชื่อ อีกประการหนึ่ง การเขียนต่างๆนั้น ต้องผ่านประสาทสัมผัสด้านการมองเห็น และผ่านกระบวนความคิดออกมาด้วยว่าจะเขียนอะไร จะเน้นข้อมูลอะไร รวมไปถึงความสวยงามสบายตาในแบบฉบับของผู้เขียนเอง ทำให้เกิดสมาธิ สามารถคลายเครียด สร้างความพึงพอใจที่จะกลับมาเปิดดูบ่อยๆ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการทำซ้ำโดยอัตโนมัติ วิธีนี้จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ความจำของคุณดีขึ้นและนานขึ้นด้วย

ภาพจากผู้เขียน

ภาพจากผู้เขียน

ภาพจากผู้เขียน

6. ทำซ้ำ และทำบ่อยๆ

การทำซ้ำ และทำบ่อยๆ เป็นที่มาของคำว่าการฝึกฝน เมื่อการฝึกฝนมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น และเมื่อเกิดความชำนาญ ผลที่ตามมาก็คือความจำที่แม่นยำยาวนาน ยากต่อการลืมนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ความจำที่เกิดขึ้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคล แม้จะสามารถแชร์วิธิการช่วยจำต่างๆสู่กันได้ แต่การจะทำให้ความจำของตัวเราเองมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการค้นหาช่องทางที่เหมาะสม รวมถึงความถนัดของตนเองด้วย ผู้เขียนเพียงแนะนำ 6 เทคนิคดีๆ ช่วยให้การจำง่ายขึ้น โดยที่คุณเองต้องหาช่องทางที่เหมาะสมกับตนเองต่อไป

เนื้อเรื่อง : Cactist Topia

ข้อมูลอ้างอิง :

  1. อ้างอิง 1
  2. อ้างอิง 2

เครดิตภาพทั้งหมด : จากผู้เขียน

อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน  App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
CactistTopia
CactistTopia
อ่านบทความอื่นจาก CactistTopia

จากประสบการณ์ตรงที่ผ่านมาหลายด้าน จึงเขียนบทความเพื่อถ่ายทอดความรู้ สาระน่ารู้และเทคนิคต่างๆ รวมไปถึ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์