ไลฟ์แฮ็ก

5 ข้อดี ของการใช้กระติบข้าวพื้นบ้านใส่ข้าวเหนียว

7.3k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 ข้อดี ของการใช้กระติบข้าวพื้นบ้านใส่ข้าวเหนียว

กระติบข้าว ถือเป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน ที่มีมาอย่างยาวนาน ชาวอีสานจะสานกระติบข้าวด้วยไม้ไผ่ที่มีปล้องยาว โดยคัดเลือกไม้ไผ่ที่มีคุณภาพอายุประมาณ 2 ปี หากเป็นไม้ไผ่ที่อ่อนเกินไป มอดแป้งก็จะมาเจาะได้ หากเป็นไม้ไผ่ที่อายุมากเกินไปก็จะทำให้หักได้ หรือระบายอากาศและความชื้นได้ไม่ดี เท่ากับไม้ไผ่อายุกลาง ๆ เห็นได้ว่าการเลือกไม้ไผ่ของการสานกระติบข้าวชาวอีสาน มีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก ในบทความนี้ไม่ได้เล่าเรื่องการเลือกไม้ไผ่ครับ แต่จะมาบอกเล่า 5 ข้อดี ของการใช้กระติบข้าวพื้นบ้านใส่ข้าวเหนียวครับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ข้าวเหนียวไม่แฉะ เป็นเพราะผิวของไม้ไผ่ใช้ด้านในของเนื้อไม้ มีความอ่อนตัว และสามารถระบายอากาศเก็บความชุ่มชื่นในตัวไม้ ได้เป็นอย่างดี เคล็ดลับสำคัญของการสานกระติบข้าวก็คือ ชั้นด้านในจะมีความห่าง ช่องว่างระหว่างช่องตอก เพื่อไอน้ำจะระเหยไปอยู่ และเก็บช่องว่างตรงกลาง ด้วยเหตุนี้ข้าวเหนียวจึงไม่แฉะเพราะระบายอากาศได้ดี

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

2. ข้าวเหนียวไม่แข็ง ข้าวเหนียวแข็ง เป็นเพราะโดนอากาศเย็น แล้วคลายความร้อนออกไปในทันที ทำให้ข้าวเหนียวแข็ง แล้วทานไม่อร่อย แต่กระติบข้าวไม้ไผ่สามารถเก็บความร้อนได้ เพราะช่างจะสานสองชั้น ทำให้ความชุ่มชื่นโดยรอบตัวกระติบช่วยรักษาคุณภาพของข้าวเหนียวให้นิ่ม

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

3. ระบายอากาศและเก็บความร้อนได้ดี จากที่กล่าวไปแล้วว่ากระติบข้าวจะสานสองชั้น ชั้นในจะสานห่าง ๆ ให้มีช่องว่างระหว่างเส้นตอก ส่วนชั้นนอกจะสานถี่ แทบจะไม่มีช่องว่างระหว่างเส้นตอก ด้วยเหตุนี้กระติบข้าว จึงเก็บข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบเก็บความร้อนได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน พร้อมกันนั้นเมล็ดข้าวจะไม่มีไอนำ้เกาะ

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

4. ไม่มีสารพิษตกค้าง หลายคนเลือกใช้กระติบข้าวพลาสติก และใช้กระติก แล้วเอาผ้าขาวรองเพื่อดูดซับไอน้ำ ด้วยการนึ่งข้าวเหนียวที่เพิ่งขึ้นมาจากเตาจะมีความร้อน เมื่อโดนผ้าขาว และพลาสติก ที่ไม่ได้เป็นวัสดุบรรจุความร้อนโดยเฉพาะ จะทำให้สารเคมีคลายตัว แล้วมาเคลือบเม็ดข้าวทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่สำคัญการเลือกใช้พลาสติกยังทำให้ข้าวแฉะอีกด้วย ตรงข้ามกับกระติบข้าวเหนียวซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ

Advertisement

Advertisement

ภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรีภาพถ่ายโดย ภาณุพงศ์ ธงศรี

5. พกพาสะดวก กระติบข้าวมีหลายขนาด โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14.50 เซนติเมตร 12.50 เซนติเมตร และ 10.50 เซนติเมตร มีหูห้อยสามารถสะพาย หรือใส่กระเป๋าเพื่อพกพาในการเดินทางได้ สะดวกสบายต่อการใช้งาน

เห็นได้ว่ากระติบข้าวพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำกันมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันยังไม่มีที่เก็บข้าวชนิดไหนใช้ได้ดีเท่ากระติบข้าว คุณสมบัติพิเศษนอกจากที่กล่าวมาก็คือ ข้าวเหนียวที่นึ่งสุก เวลาเรารับประทานจะได้กลิ่นหอมของไม้ไผ่ ไม่ต้องอุ่นข้าวเหนียวบ่อยครั้งซึ่งเป็นอีกวิธีการที่ช่วยในการลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์