ไลฟ์แฮ็ก

วิธีการเพาะเมล็ดผักอย่างง่าย ใครๆก็ทำได้

680
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิธีการเพาะเมล็ดผักอย่างง่าย ใครๆก็ทำได้

ปัจจุบันการมีการปลูกผักอย่างเเพร่หลาย มีทั้งนิยมปลูกหลากหลายรูปแบบก่อนที่จะเริ่มปลูกเราต้องศึกษาก่อนว่าจะปลูกกับอะไร เพาะพันธ์เเบบไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือของการปลูกคือเมล็ด วันนี้ผมมีวิธีการเพาะเมล็กผักมาให้ศึกษากัน ถ้าพร้อมเเล้วเริ่มกันได้เลย

  • เมล็ดพันธุ์ผักที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


1. เมล็ดแบบไม่เคลือบ

เเบบไม่เคลือบ

เมล็ดประเภทนี้จะผ่านการลดความชื้นมาแล้ว สามารถเก็บรักษาในภาชนะที่ปิดสนิทในตู้เย็น (อุณหภูมิ 4 - 10 องศา C) ได้นาน ประมาณ 1 - 2 ปี  ข้อดีของเมล็ดแบบไม่เคลือบคือมีราคาถูกกว่าเมล็ดแบบเคลือบค่อนข้างมาก  การเพาะเมล็ดแบบไม่เคลือบนี้แนะนำให้กระตุ้นการงอกโดยใช้กล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท รองด้านในด้วยกระดาษชำระประมาณ 2 ชั้นแล้วพรมน้ำให้กระดาษเปียก และเทน้ำออก จากนั้นให้นำเมล็ดสลัดมาโรยลงบนกระดาษชำระ โดยไม่ต้องพรมน้ำซ้ำ แล้วปิดฝากล่องให้สนิท (แนะนำให้นำไปวางไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ห้องปรับอากาศ) ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมงเมล็ดจะเริ่มงอกให้ย้ายลงวัสดุปลูกได้เลยครับ อย่าปล่อยให้เกิน 72 ชั่วโมง (3 วัน) เพราะรากผักสลัดจะยาวเร็วมากและทำให้ย้ายปลูกได้ยาก การกระตุ้นการงอกด้วยวิธีนี้จะทำให้เมล็ดที่เราเพาะมีเปอร์เซ็นต์การงอกและความสม่ำเสมอของการงอกสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่จะเข้าทำลายเมล็ดจากการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรง ให้ผักที่ปลูกมีความสม่ำเสมอของต้นที่เท่ากัน มากกว่าการเพาะลงในวัสดุปลูกโดยตรง  เนื่องจากการเพาะลงวัสดุปลูกโดยตรงนั้นเมล็ดสลัดมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลง อีกทั้งผู้ปลูกยังควบคุมปัจจัยการงอกของเมล็ดได้ยากกว่าด้วย

Advertisement

Advertisement


2. เมล็ดแบบเคลือบ

แบบเคลือบ

เมล็ดชนิดนี้จะถูกคัดเลือกมาจากเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนำมาเคลือบด้วยแป้งหรือดินเหนียว (Pelleted seed) เพื่อเป็นการรักษาสภาพของเมล็ดเอาไว้ ข้อดีของการใช้เมล็ดแบบเคลือบก็คือ สะดวกในการเพาะเมล็ดเนื่องจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น วัสดุที่หุ้มเมล็ดยังช่วยนำพาความชื้นสู่เมล็ดได้อย่างทั่วถึงทั้งเมล็ด ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยการงอกที่ไม่สม่ำเสมอของการเพาะเมล็ดลงได้  ส่วนข้อเสียของเมล็ดแบบเคลือบนี้คือ มีราคาแพง เนื่องจากเมล็ดแบบเคลือบจะเป็นสินค้าที่ถูกผูกขาดจากบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จากยุโรป ปกติผู้ปลูกหลายท่านมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์สลัดว่า เมล็ดแบบเคลือบจะมีอัตราการงอกดีกว่าแบบไม่เคลือบ ซึ่งจริงๆ แล้วอัตราการงอกของเมล็ดทั้ง 2 แบบไม่ต่างกันเลย  ซึ่งมีบ่อยครั้งที่มักพบปัญหาในการเพาะเมล็ด ถ้าปัจจัยการงอกไม่สมบูรณ์ กล่าวคือการเพาะเมล็ดแบบเคลือบหากฝังเมล็ดในวัสดุปลูกลึกเกินไปก็ทำให้เมล็ดเน่า หรือถ้าหากฝังตื้นเกินไปก็ทำให้เมล็ดได้ความชื้นไม่เพียงพอก็ทำให้ไม่งอกเช่นกัน เมล็ดแบบเคลือบปกติจะเหมาะกับการนำไปเพาะกับวัสดุเพาะเกล้าพวกพีทมอส หรือเพอร์ไลท์ มากกว่าการนำไปเพาะลงฟองน้ำเนื่องจากปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการงอกของเมล็ดสลัดคือ "อ๊อกซิเจน" ด้วยการเพาะเมล็ดลงในฟองน้ำโดยตรงปัญหาที่พบคือเมล็ดไม่งอก หรืองอกไม่พร้อมกัน สาเหตุก็มาจากการที่เมล็ดสลัดจะถูกบีบอยู่ในฟองน้ำที่เปียกและแฉะ บวกกับถ้าช่วงที่เพาะถ้ามีอุณหภูมิของอากาศสูง (ร้อนอบอ้าว) เมล็ดสลัดที่เพาะนั้นก็มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่งอกเนื่องจากขาดอ๊อกซิเจนและมักจะมีเชื้อราเกิดขึ้นที่เมล็ดได้ง่าย

ส่วนข้อเสียอีกประการของเมล็ดแบบเคลือบโดยส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ลูกผสม หรือ Hybrid F1 ทำให้ต้นทุนการผลิตเมล็ดเคลือบจะสูงกว่าเมล็ดแบบไม่เคลือบ และเมล็ดแบบเคลือบนี้จะมีชนิดและสายพันธุ์ของผักสลัดให้เลือกค่อนข้างน้อยกว่าแบบไม่เคลือบมาก

Advertisement

Advertisement

อัตรการเจริญเติบโต สรุป การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด จึงควรเลือกให้เหมาะกับเรามากที่สุด คือหากเราปลูกเพื่อรับประทานเอง, ทำเป็นสลัดมิกส์ หรือใช้จำหน่ายเพื่อลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ ก็แนะนำให้เลือกใช้เมล็ดแบบไม่เคลือบก็พอเนื่องจากเก็บได้นาน, ราคาถูก มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือก   แต่หากต้องการปลูกเพื่อเป็นการค้าและต้องปลูกเป็นจำนวนมากเพื่อลดขั้นตอนการเพาะเมล็ดก็สามารถเลือกใช้เมล็ดแบบเคลือบแทนก็ได้  แต่ทั้งนี้ผักที่ปลูกจะมีคุณภาพทั้งทางด้านรูปลักษณ์, สีสรร รวมถึงน้ำหนัก จะดีหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และปัจจัยอื่นๆ ในการปลูก การดูแลพืชนั้นประกอบด้วยเป็นสำคัญ

เมล็ดพันธุ์ผักทุกชนิดที่เรานำมาเพาะต้องอาศัยปัจจัยในการทำให้เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน คือ น้ำ, อุณหภูมิ, ออกซิเจน  และสำหรับพืชบางชนิดอาจต้องใช้แสงช่วยในการกระตุ้นการงอกด้วย ตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้แสงสีแดงช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ด และใช้แสงสีน้ำเงินช่วยในการเจริญเติบโตของต้นพืชด้วย

Advertisement

Advertisement

โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมและดีที่สุดในการเพาะเมล็ดสลัด จะอยู่ในช่วง 18  - 25 องศาเซลเซียส ปัญหาที่สำคัญในการเพาะเมล็ด คืออากาศของเมืองไทยค่อนข้างร้อน ซึ่งมีผลทำให้การงอกของเมล็ดเป็นไปได้ช้า และมีเปอร์เซ็นต์งอกต่ำ เนื่องจากขณะที่เมล็ดได้รับความชื้นจากน้ำ เมล็ดจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในตัวเมล็ด ในกระบวนการงอกนั้นเมล็ดต้องการอ๊อกซิเจนช่วยในกระบวนการดังกล่าวนี้ หากอุณหภูมิสูงจะทำให้อ๊อกซิเจนต่ำ บวกกับถ้าวัสดุปลูกแฉะมากเกินไป ทำให้เมล็ดมีโอกาสเสี่ยงกับการขาดอ๊อกซิเจน และเชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย  ดังนั้นการเพาะเมล็ดสลัดอย่าให้วัสดุที่ปลูกเปียกชื้นมากเกินไป  วิธีที่จะช่วยให้เพาะเมล็ดให้มีอัตราการงอกสูงขึ้นได้นั้น แนะนำให้เพาะเมล็ดในช่วงเย็นหรือช่วงกลางคืน เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวสภาพอากาศมีอุณหภูมิต่ำซึ่งเป็นผลดีต่อการงอกของเมล็ดสลัด

อุณห๓ุมิกับการงอก ตารางความสัมพันธ์ของอุณหภูมิที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

ตัวเลขนอกวงเล็บคือ % ในการงอกของเมล็ด, ตัวเลขในวงเล็บคือ จำนวนวันที่ใช้ในการงอก

  • สรุป จากตางรางด้านบนจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิมีผลเป็นอย่างมากต่อระยะเวลาและเปอร์เซ็นต์ในการงอกของเมล็ดพืชแต่ละชนิด ตัวเลขสีแดงคือค่าเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพืชที่ดีที่สุดในอุณหภูมินั้นๆ เช่น

  • - สลัดอุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 20 - 25 องศาเซลเซียส โดยจะมีเปอร์เซ็นสูงสุดและใช้เวลาน้อยที่สุด
  • - ปวยเล้ง อุณหภูมิที่เหมาะที่สุดคือ 5 องศาเซลเซียส โดยจะมีเปอร์เซ็นสูงสุด แต่ใช้เวลาไม่สั้นที่สุด

ขอบคุณรูปภาพ : Pixbay,Masakigarden,Zen Hydroponic

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
DiyKub
DiyKub
อ่านบทความอื่นจาก DiyKub

นักเขียนมือใหม่ผู้รักงานเขียนเล่าเรื่องเป็นชีวิตจิตใจ นักเขียนหน้าใหม่ เเต่หน้าเก่า เล่าเเต่เรื่องดี

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์