ไลฟ์แฮ็ก

วิธีกำจัดหนอนศัตรูพืชด้วย บี.ที.(บาซิลัส ทูริงเยนซิส)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิธีกำจัดหนอนศัตรูพืชด้วย บี.ที.(บาซิลัส ทูริงเยนซิส)

เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ บี.ที. เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยมีความสำคัญเป็นอย่างมากในระบบนิเวศน์ ซึ่งเชื้อ บี.ที. ดังกล่าวจะควบคุมจำนวนประชากรแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ โดยเฉพาะจะออกฤทธิ์กับหนอนชนิดต่างๆ   กล่าวคือเมื่อหนอนได้รับเชื้อบี.ที. โดยการกินใบพืชที่มีเชื้อบี.ที. ติดอยู่เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ บี.ที. จะสร้างสารพิษไปทำลายระบบย่อยอาหารของหนอน และทำให้กระเพาะของหนอนบวมและส่งผลให้หนอนตัวนั้นหยุดการกินอาหาร เคลื่อนไหวช้าลง ชักกระตุก เป็นอัมพาตและตายภายใน 1 - 2 วัน เชื้อบี.ที.เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อคน, สัตว์ และที่สำคัญไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

หนอน1 รูปภาพโดย nidan จาก Pixabay

ข้อแนะนำในการใช้เชื้อ บี.ที.

1. เชื้อ บี.ที. เหมือนกับสารชีวภัณฑ์ทั่วไป ที่ควรฉีดพ่นในช่วงที่แสงแดดไม่จัดเกินไป โดยแนะนำให้ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ

Advertisement

Advertisement

2. ควรใช้สารจับใบร่วมด้วยทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เชื้อบี.ที. ให้เกาะติดที่ลำต้น และใบของพืชได้ดียิ่งขึ้น

3. หลังจากผสมเชื้อกับน้ำสะอาดที่ไม่มีครอรีนให้พักไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงก่อนฉีดพ่นเพื่อให้เชื้อขยายตัวและสร้างสารพิษเพื่อเตรียมพร้อมในการกำจัดหนอน

4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองมากที่สุดเพื่อให้ละอองน้ำที่พ่นทั่วต้นพืชมากที่สุด

5. ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกัน 3 - 5 วัน/ครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของหนอนรุนแรง

6. หลีกเลี่ยงการผสมเชื้อ บี.ที. กับสารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารปฎิชีวนะ, ทองแดง, คอปเปอร์, คลอไรด์ เป็นต้น

7. เชื้อ บี.ที.แบบผง ให้เก็บในภาชนะปิดมิดชิดเก็บรักษาในตู้เย็นจะเก็บได้นาน 2 - 3 ปี

8. ก่อนนำไปใช้แนะนำให้ขยายเป็นเชื้อสดก่อน เพื่อให้ได้เชื้อที่มีความแข็งแรงและพร้อมที่จะทำงาน

Advertisement

Advertisement

หนอน2รูปภาพโดย  จาก Pixabay

ชนิดของหนอนที่เชื้อ บี.ที.สามารถควบคุมได้ดี

พืชผัก :  หนอนใยผัก, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้ผัก, หนอนเจาะสมอฝ้าย, หนอนผีเสื้อขาว, หนอนกินใบผัก ฯลฯ

พืชไร่ :  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด, หนอนบุ้ง, หนอนคืบละหุ่ง ฯลฯ

พืชสวน ( ไม้ผล ) :  หนอนประกบใบส้ม, หนอนกินใบชมพู่, หนอนร่าน, หนอนแก้วส้ม, หนอนไหมป่า, หนอนหัวดำ, หนอนแปะใบองุ่น, หนอนชอนใบ ฯลฯ

ข้อดีและข้อควรระวังของการใช้เชื้อ บี.ที.

  • ข้อดี

1. ใช้เฉพาะเจาะจงกับแมลงเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม ไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่นๆ

2. ปลอดภัยต่อคน, สัตว์ และพืช จึงมีความปลอดภัยในการใช้สูง

3. ไม่มีพิษตกค้าง คือเมื่อฉีดพ่น บี.ที. แล้วสามารถเก็บผักมาบริโภคได้ทันที

4. มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดหนอนเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ

  • ข้อควรระวัง

1. อย่าใช้กับใบหม่อนที่จะนำไปเลี้ยงไหม เนื่องจากจะทำให้หนอนหม่อนตายได้

Advertisement

Advertisement

หนอน3รูปภาพโดย GLady จาก Pixabay

การใช้เชื้อ บี.ที. แบบผง

1. กรณีมีหนอนระบาดมาก ใช้เชื้อ บี.ที. 3 - 5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3 - 5 วัน

2. กรณีควบคุมหรือป้องกัน ใช้เชื้อ บี.ที. 3 - 5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 - 10 วัน

วิธีการขยายเชื้อ บี.ที.

  • สูตรที่ 1 การใช้น้ำมะพร้าวอ่อน

1. ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ลูก หาซื้อได้ตามห้างทั่วไป เจาะเปิดฝามะพร้าวให้พอใส่เชื้อลงไปได้

2. ตักเชื้อ บี.ที. แบบผงด้วยช้อนสะอาด ขนาด 1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) ใส่ลงไปในลูกมะพร้าวแล้วคนเชื้อ บี.ที. ให้ผสมไปกับน้ำมะพร้าว ปิดฝามะพร้าวทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน ก็นำเชื้อที่หมักได้ไปผสมน้ำสะอาดปราศจากครอรีน ประมาณ 20 ลิตรต่อเชื้อหมักน้ำมะพร้าว 1 ลูก

  • สูตรที่ 2 การใช้นมพาสเจอร์ไลท์

1. ใช้นมพาสเจอร์ไลน์ที่หาซื้อได้ตามร้านค้า ( แนะนำรสหวานที่มีน้ำตาลเยอะหน่อย ) ขนาด 250 ซีซี

2. ตักเชื้อ บี.ที.  1 ช้อนชา ( 5 กรัม ) ด้วยช้อนสะอาดเทลงไปในขวดนม ปิดฝาขวดนมไม่ต้องปิดสนิท หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน ก็นำเชื้อที่หมักได้ไปผสมน้ำสะอาดปราศจากครอรีน ประมาณ 20 ลิตรต่อเชื้อหมักด้วยนม 250 ซีซี

*การหมักเชื้อด้วยวิธีทั้ง 2 แบบนี้แนะนำให้หมักไว้ประมาณ 24 - 36 ชั่วโมง เป็นช่วงที่เชื้อจะมีความแข็งแรงที่สุด


รูปภาพหน้าปกโดย TheDigitalArtistจาก Pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
DiyKub
DiyKub
อ่านบทความอื่นจาก DiyKub

นักเขียนมือใหม่ผู้รักงานเขียนเล่าเรื่องเป็นชีวิตจิตใจ นักเขียนหน้าใหม่ เเต่หน้าเก่า เล่าเเต่เรื่องดี

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์