ไลฟ์แฮ็ก
เทคนิคเตรียมความพร้อมการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติทางการจัดการ
การนำเสนองานวิจัย มีความประสงค์ต้องการผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วม โดยเปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มบริหารธุรกิจ กลุ่มบริหารรัฐกิจ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ/บริหารรัฐกิจ/มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เจ้าภาพในการจัดงานคือคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติทางการจัดการ ครั้งที่ 1(The 1st National Conference on Management : NCOM 2018) ในหัวข้อ “การจัดการความท้าทายในยุค 4.0” (Challenge Management : Bridging to 4.0 Transformation) ณ โรงแรมนิวซีซัน สแควร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ภาพถ่าย : นักเขียน
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มาเป็นองค์ปาฐก หัวข้อ “การจัดการความท้าท้ายในยุค 4.0” เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้กับอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณ กับหน่วยงานภายนอก เพื่อนำไปสู่การสร้างบรรยากาศทางวิชาการที่ดี อันจะก่อให้เกิดการต่อยอดขององค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
Advertisement
Advertisement
ภาพถ่าย : นักเขียน
เทคนิควิธีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน
1.ด้านผลงาน
ต้องเป็นผลงานที่เขียนขึ้นมาเอง พร้อมทั้งได้รับการพิจารณาจากคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้รับจดหมายตอบรับการพิจารณาการนำเสนอบทความในงานประชุมวิชาการเป็นลายลักษณ์อักษร
2.รูปแบบการนำเสนอ
รูปแบบในการจัดทำไวนิลเพื่อการนำเสนอ ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กำหนด และต้องมีการติดต่อจัดทำด้วยตนเอง โดยไม่คัดลอกผลงานหรือเนื้อหามาจากผู้อื่น ยกเว้นงานวิจัยอ้างอิงอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้สามารถออกแบบต่าง ๆ ได้ตามอัธยาศัย เพื่อให้มีความสวยงามและน่าสนใจ
3.การเตรียมความพร้อมของตนเอง
การเตรียมความพร้อมของตนเองต้องมีการเตรียมตัว ฝึกความเข้าใจ ค้นหาเทคนิคที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง มีการซ้อมก่อนนำเสนอ เพื่อให้เกิดความลงตัว และมีการเตรียมความพร้อมในการตอบคำถามเกี่ยวกับผลงานเป็นอย่างดี ทั้งนี้เทคนิคในการนำเสนอขึ้นกับความสามารถและใช้วิธีการของตนเองที่แตกต่างกันออกไป
Advertisement
Advertisement
ภาพถ่าย : นักเขียน
อนึ่งการจัดประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน และมีจำนวนผู้นำเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์กว่า 50 ผลงาน นับว่าเป็นเวทีทางวิชาการที่สามารถเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมให้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคประเทศไทย 4.0 ได้เป็นอย่างดีค่ะ
ความคิดเห็น