ไลฟ์แฮ็ก
บอกเล่าประสบการณ์การซื้อ"กองทุนรวม"
กองทุนรวม มีผลตอบแทนที่มากกว่าฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ สลากธกส. และสลากออมสิน
แต่น้อยกว่าหุ้น เพราะเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น หุ้นเราต้องเลือกเอง วิเคราะห์เองหลายอย่าง
รายละเอียดจะเยอะกว่ากองทุนรวมมากและใช้เงินเยอะกว่าด้วยค่ะ
เครดิตรูปภาพ : ภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay
❤กองทุนรวม
ผู้ที่จะเปิดบัญชีเพื่อซื้อหน่วยลงทุนต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
เหมาะกับผู้ที่ไม่ค่อยมีพื้นฐานด้านการลงทุนมาก่อน และมีเงินเก็บจำนวนหนึ่งไม่ต้องมาก แค่พอมีก็พอ
(ควรเป็นเงินเย็น เดี๋ยว!!!อย่าเพิ่งเอาเงินไปแช่ตู้เย็นกันนะคะ😂
เงินเย็น หมายถึง หายไปเราก็ไม่เดือดร้อนประมาณนี้ค่ะ
และอย่าเพิ่งตื่นตูมถ้ากลัวเงินหายหรือขาดทุนก็เลือกที่ความเสี่ยงต่ำ ๆ แค่นั้นเองค่ะ)
ถ้าใครยังไม่มีเงินเก็บ ไม่ชอบความเสี่ยงสูง แนะนำให้เปิดบัญชีซื้อกองทุนรวมตลาดเงิน
Advertisement
Advertisement
ซึ่งให้ผลตอบแทนมากกว่าฝากประจำ หรือฝากออมทรัพย์ แต่ความเสี่ยงต่ำ ราคาขึ้นลงไม่มาก.
และเหมาะกับคนที่อยากลงทุนในหุ้นแต่เงินน้อย กลัวขาดทุนหนัก อ่านงบการเงิน วิเคราะห์การเงินไม่เป็น
กองทุนรวมทำให้ผู้ที่มีเงินน้อย แต่อยากมีสัดส่วนเป็นเจ้าของกิจการใหญ่ทั้งในไทยและต่างประเทศ
ได้มีโอกาสเข้ามามีสัดส่วนการเป็นเจ้าของในหุ้นที่เราสนใจ เราก็ค่อยไปเช็คว่าหุ้นที่สนใจอยู่ในกองทุนตัวไหนบ้าง
แค่นั้นเอง (กรณีเลือกกองทุนหุ้น)
ข้อดี - มีผู้เชี่ยวชาญคอยจัดการ คือ ผู้จัดการกองทุน คอยวิเคราะห์จัดสรรกองทุนให้เรา
คนส่วนใหญ่พอได้ยินว่า "ลงทุน" ก็ตกใจแล้ว ชอบตีความผิด ๆ
ว่ามีไว้ให้สำหรับคนที่รวยแล้ว หรือมีเงินเยอะเท่านั้น
ทั้งที่การลงทุนใช้ทุนน้อย ผลตอบแทนเยอะ
มีให้เลือกมากมาย แต่เพราะไม่ได้เข้ามาศึกษาจึงทำให้ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้
Advertisement
Advertisement
===========================================================
สาเหตุที่เลือกกองทุนรวม เพราะ...
● ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า 500฿ ก็ลงทุนได้
บางกองทุนไม่มีกำหนดขั้นต่ำ กี่บาทก็ได้ค่ะ
(แล้วแต่กองทุนนั้นๆ ควรอ่านรายละเอียดแต่ละกองทุนให้ดี ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง)
● ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ สลากธกส. และสลากออมสิน
เช่น ฝากประจำปกติ ดอกเบี้ย 2.5%
แต่กองทุนรวมมีตั้งแต่ 3 - 15%
ที่ให้ผลตอบแทนเราในระดับที่สามารถชนะเงินเฟ้อได้
===========================================================
เครดิตรูปภาพ : ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay
อยากเปิดบัญชีซื้อกองทุนรวม ควรเริ่มต้นอย่างไร?
1🌼เรียนคอร์สออนไลน์ฟรี เรียนจบสอบผ่านได้รับวุฒิบัตร หรือใบcertificate
เมื่อเข้าเว็บไซต์ เลือกการลงทุนในกองทุนรวม https://elearning.set.or.th
Advertisement
Advertisement
เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เข้าใจในเบื้องต้น
และดูคลิปวิดิโอในช่องyoutube ของพี่เอ academy
https://youtu.be/_5i-z9SILQk ให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
2🌼สำคัญมาก!!! ผู้ลงทุนควรประเมินความเสี่ยงที่ตนรับได้ว่ามาก-น้อยแค่ไหน ก่อนการตัดสินใจลงทุน
โดยแบบประเมินสามารถหาได้ใน google เลย เพื่อเป็นการเลือกกองทุนให้เหมาะสมกับเรา
3🌼รวบรวมผลคะแนน และดูว่าเรารับความเสี่ยงได้ลำดับที่เท่าไหร่ มีตั้งแต่ 1-8 เสี่ยงต่ำ-สูง
4🌼จากนั้นเลือกกองทุนให้อยู่ในระดับที่เราประเมินมา โดยดูจากหลายเว็บไซต์ หลายบทความเปรียบเทียบกัน
แนะนำเว็บไซต์ :
http://www.morningstarthailand.com/
หรือวิธีง่ายๆ สไตล์คนขี้เกียจ คือ
เข้าgoogle พิมพ์ "กองทุนรวม(ตามระดับความเสี่ยงที่ประเมินได้)"
เช่น กองทุนหุ้น 2562 ตัวไหนดีสุด?
ข้อมูลบทความที่จัดลำดับรายชื่อกองทุนดี ๆ ไว้จะขึ้นมาค่ะ
แล้วเอาชื่อกองทุนแต่ละกองไปค้นหาใน google ว่าผลตอบแทนย้อนหลังดีไหม ประวัติเป็นอย่างไรบ้างคะ ดีหรือแย่
การค้นหาในpantip ก็ช่วยได้เยอะนะคะ พิมพ์ใน google ว่า "กองทุนรวมหุ้น 2562 พันทิป"
แล้วข้อมูลคนที่เคยซื้อกองทุนนั้น ๆ จะขึ้นมาค่ะ
เป็นการแชร์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ว่ากองทุนนี้ดีจริงไหม?
แต่วิธีการดูของแอด จะดูก่อนว่าแต่ละธนาคาร มีกองทุนอะไรบ้าง
และดูระดับความเสี่ยงที่ตรงกับความต้องการเราจากที่ประเมินมาก่อนหน้านี้
ซึ่งจะมีทั้งกองทุนปันผล และไม่ปันผล แอดเลือกไม่ปันผล เพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
และแอดเน้นถือระยะยาว 30 ปีขึ้นไป ช่วยลดโอกาสการขาดทุนให้น้อยลงมากกว่าการซื้อ-ขายระยะสั้นค่ะ
เมื่อชำนาญพอในการเลือกกองทุนค่อยซื้อแบบมีปันผลบ้างก็ได้แล้วแต่การจัดพอร์ตของเราเอง จะซื้อกี่กองทุนก็ได้
5🌼พยายามเข้าไปดูทุกกองทุน ทุกธนาคารที่เราสนใจให้มากที่สุด
อย่าตามใคร แต่ควรตัดสินใจเลือกกองทุนด้วยตัวเอง
เสมือนเลือกคู่ชีวิตที่เราต้องอยู่ด้วยกันไปยาวๆ
6🌼 หากเจอที่ใช่ก็อย่ารีบร้อนตัดสินใจซื้อ ถ้ายังไม่ได้อ่านหนังสือชี้ชวน ,
รายงานประจำปี , รายงานระยะ 6 เดือน และข้อมูลสำคัญการลงทุน
============================================================
วิธีของแอด
เอาตัวย่อภาษาอังกฤษของชื่อกองทุนรวมนั้น ๆ 3-5 ตัวอักษร แล้วแต่กองทุนที่เราเลือก
ค้นหาในgoogle ทีละกองทุนไปเลย เพื่อที่ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับกองทุนตัวนั้นได้ขึ้นมาให้เราเข้าไปศึกษามากยิ่งขึ้น
7🌼ต้องอ่านต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด
- วันเดือนปีที่จดทะเบียน หรือก่อตั้งมากี่ปีแล้ว
- ปันผล หรือไม่ปันผล
- นโยบายของกองทุน
- ประเภททรัพย์สินที่ลงทุน
- เปิดบัญชีขั้นต่ำกี่บาท รอบถัดไปกี่บาท และค่าธรรมเนียม
- ผลตอบแทนในอดีตย้อนหลัง 10ปี 5ปี 3ปี 1ปี 6เดือน
- ราคาหน่วยลงทุนกี่บาท?
- ผู้ดูแลผลประโยชน์
- อายุโครงการ
- วันที่ทำการซื้อ / ขายหน่วยลงทุน
- รายชื่อผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในการเปรียบเทียบกับกองทุนตัวอื่น เพื่อสำหรับการตัดสินใจของเราเอง
ถ้ากองทุนนี้สามารถผ่านพ้นวิกฤตต้มยำกุ้ง และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มาได้แล้ว ยิ่งดีใหญ่เลยค่ะ
.
.
8🌼เตรียมจำนวนเงินที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่เราเลือก
โดยทั่วไปขั้นต่ำอยู่ที่ 500 - 1,000 บาท หรือมากกว่านี้ แล้วแต่กองทุนที่เราเลือก
หากยังไม่มีสมุดบัญชีธนาคารนั้น หรือต้องการเปิดใหม่ก็เอาเล่มเดิมไปด้วย และกดบัตรคิว เลือก "เปิดบัญชีใหม่"
9🌼แจ้งพนง.ธนาคารว่าเปิดบัญชีกองทุนอะไร
พนง.จะขอบัตรประชาชนของเราไปถ่ายเอกสาร เพื่อจัดทำข้อมูลการเปิดบัญชี
และนำเอกสารมากมายหลายสิบใบมาให้เราอ่านและเซ็นชื่อ-นามสกุลลงในเอกสาร ที่พนง.ติ๊กให้ทุกใบ
10🌼พนง.จะเอารายชื่อทุกกองทุนที่มีในธนาคาร และผลดำเนินการย้อนหลังที่เรียกว่าใบ Fund Fact Sheet
รายละเอียดกองทุนที่เราแจ้งเปิดมาให้เราดู จากนั้นถามเราว่าลงทุนเท่าไหร่
เช่นของแอด ขั้นต่ำซื้อ 500฿ แอดเลือกซื้อ 1,000 บาท
รวมเปิดสมุดบัญชีใหม่ขั้นต่ำ 500฿ ไม่ทำบัตรATM
รวมเป็น 1,500฿
แต่ถ้าใครที่มีสมุดออมทรัพย์ธนาคารที่จะไปซื้อกองทุนอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปิดใหม่
พกสมุดธนาคารไปด้วย และจ่ายแค่ค่าหน่วยลงทุนที่เราซื้อกองทุนรวมเพียงเท่านั้น
500฿ 1,000฿ 2,000฿ หรือมากกว่านี้ ก็แล้วแต่กองทุนที่เลือก ว่าเปิดบัญชีกองทุนรวมที่เราสนใจขั้นต่ำกี่บาท?
ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกเดือน แนะนำให้เล็งกองทุนที่สนใจไว้
และค่อยรีบไปซื้อตอนราคาตกลงมา จะได้ในราคาที่ถูกกว่ามาก
แต่หากใครซื้อแบบ DCA คือ ซื้อทุกเดือน
เช่น เดือนละ 1,000฿ 5,000฿ หรืออาจมากกว่านี้
สะสมไปเรื่อยๆ ก็จะดีมาก เป็นการสร้างวินัยที่ดีทางด้านการเงินที่ดีมีโอกาสแตะเงินล้านได้มากขึ้น
และการซื้อแบบ DCA จะได้ราคากองทุนแบบถัวเฉลี่ย
สรุปเหมือนได้ซื้อหน่วยลงทุนเท่ากันทุกเดือน ตัวเลขจะห่างกันไม่เท่าไหร่
ไม่ว่าราคาจะสูงขึ้นหรือดิ่งลงแค่ไหนก็ตาม
11🌼จากนั้นพนง.จะเอาแบบประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของเรา
ให้ทำค่ะ แบบฟอร์มเหมือนที่มีในเว็บไซต์ทั่วไปเลย
12🌼 เอกสารต่าง ๆ ที่รอส่งพนง.ให้เลือกส่งทางปณ. หรืออีเมลที่แจ้งในเอกสาร
แอดเลือกอีเมล เพราะกลัวเอกสารตกหล่นหากส่งปณ.
13🌼หลังจากเซ็นชื่อ-สกุลครบทุกใบ จะได้สมุดมา 2 เล่มคือ
สมุดบัญชีออมทรัพย์ และสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน
อีกทั้งใบสำเนาที่เราเซ็นชื่อเปิดซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมค่ะ
เพื่อให้เราเก็บไว้เป็นหลักฐานว่าได้ทำการซื้อกองทุนรวมที่ไหน กองไหน เท่าไหร่
========================================================
วันรุ่งขึ้นค่อยเอาสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนไปอัปสมุด
ที่ตู้ธนาคารว่ามีหน่วยลงทุนขึ้นหรือยัง?
แต่ถ้าหากทั้งในสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุน และในแอปธนาคาร
ยังไม่ขึ้นหน่วยลงทุนที่เราได้ทำการซื้อไป ให้รีบแจ้งธนาคารที่เราซื้อกองทุนในทันที
โดยอย่าลืมนำเอกสารสำเนาหลักฐานที่ธนาคารให้มาตอนเราไปเปิดบัญชีซื้อกองทุนรวม
และสมุดธนาคารไปให้พนักงานเช็คดูนะคะ
14🌼รอบแรกซื้อที่ธนาคารในเวลาทำการ จ.-ศ. เวลา 08:30 - 15:30 น.
ทางที่ดีควรไปก่อนเที่ยง ช่วงเช้าๆคนยังไม่เยอะมาก เพราะต้องใช้เวลานานในรอบแรก
15🌼อย่าลืมติดตั้งแอปธนาคารที่ซื้อกองทุน แอพ internet banking ในโทรศัพท์มือถือด้วยนะ
รอบถัดไปสามารถซื้อผ่านแอพได้เลย ไม่ต้องมาธนาคาร
16🌼เน้นถือยาว ไม่ดูเข้าดูกองทุนบ่อย ถ้าไม่อยากกังวลคิดมาก ดู 6 เดือนครั้งนึงก็พอ
บางคนสิบปีเพิ่งเข้ามาดูก็มี ซื้อทิ้งไว้เรื่อย ๆ จนลืม มาดูอีกทีเงินงอกเงยกันไปยิ้มแก้มปริ 😄
เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เสี่ยงมาก-น้อยแล้วแต่เราเลือก
โดยส่วนใหญ่แต่ละธนาคารจะขายเฉพาะกองทุนของตัวเองค่ะ
ถ้าอยากซื้อที่มีหลากหลายกองทุนให้เลือก ให้ไปที่บริษัทหลักทรัพย์ได้เลยค่ะ
17🌼หากไม่พอใจในผลตอบแทนของกองทุนที่เราได้ลงทุนไปสามารถย้ายเป็นกองทุนอื่นได้ค่ะ ถ้าเป็นธนาคารเดียวกัน
(เงื่อนไขรายละเอียดและค่าธรรมเนียมในการย้ายกองทุนสามารถสอบถามได้ที่ธนาคาร)
แต่ถ้าจะเปลี่ยนเป็นกองทุนของธนาคารอื่นไปเลย ต้องขายกองทุนเดิมก่อน
แล้วค่อยไปซื้อกองทุนใหม่เท่านั้น และเริ่มต้นการลงทุนใหม่หมดเหมือนที่ทำตอนแรก
ทั้งนี้แอดไม่ค่อยแนะนำนะคะ
เพราะถ้าหากเราตั้งใจเลือกมาอย่างดีตั้งแต่แรกแล้วนั้น
วันหนึ่งขาดทุนก็ควรอดทน และใจเย็นก่อนค่ะ
การถือยาว ไม่ขายออกก่อน มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าซื้อ ๆ ขาย ๆ เสมอค่ะ
18🌼อายุน้อย 20 ต้น ๆ - 30 เสี่ยงมากได้ เลย 30 อาจปรับเบา ๆ ลงหน่อย
แต่ถ้าช่วง 40 - 50 ปลาย ๆ ควรย้ายกองทุนมาเลือกตัวที่ความเสี่ยงต่ำ เพื่อความปลอดภัยในการรักษาเงินต้นของเราเอง
19🌼กองทุน LTF ลดหย่อนภาษีได้ด้วยค่ะ
เหมาะสำหรับผู้ที่ถูกหักภาษี แต่ใครที่รายได้ยังไม่ถูกหักภาษี ยังไม่จำเป็นต้องซื้อนะคะ
ซึ่งกองทุน LTF ซื้อได้แค่ปีนี้ 2562 เป็นปีสุดท้ายแล้วนะคะ
============================================================
สรุป 🌷 ขั้นตอนที่ยากที่สุด คือ การเลือกกองทุนก่อนจะไปเปิดบัญชีที่ธนาคารนี่แหละค่ะ
แอดอ่านในหนังสือการเงิน การลงทุน เข้าดูเว็บไซต์ และยูทูบ ประมาณ 2-3 ปี
มาศึกษาจริงจังปีกว่าได้ค่ะ คือช่วงที่มีพื้นฐานพอสมควร
จึงนำความรู้ที่มีมาเลือกกองทุนที่สนใจ เลือกนานเป็นปีกว่าจะไปตัดสินใจซื้อ
แต่ใครจะเลือกเสร็จไปซื้อเลยก็ได้นะคะ โดยใช้ระยะแค่วันเดียว หลังจากศึกษาข้อมูลมาพอสมควร
เครดิตรูปภาพ : ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay
เพราะแอดเชื่อว่าจะทำอะไรฐานโครงสร้างเราต้องแน่นแข็งแรงให้ถึงที่สุดก่อนค่ะ
จึงจะไปต่อได้ ถ้าด่วน ๆ รีบร้อนตัดสินใจ อาจก่อให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ค่ะ
เหมือนสร้างบ้านสร้างตึกอาคาร เสาเข็มโครงสร้างตึกต้องแข็งแรงแน่นหนาก่อน
จึงค่อยต่อเติม มิเช่นนั้นอาคารก็อาจถล่มลงมาได้ในสักวัน
และการศึกษาหาความรู้ ตัดสินใจเลือกกองทุนเองทำให้เรามีประสบการณ์
หากขาดทุนก็ยังไม่เจ็บเท่าเราเชื่อซื้อตามคนอื่นโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อนค่ะ
ศัพท์ทางการเงิน ทั้งตัวย่อ ตัวเต็มต่าง ๆ
ก็พยายามเรียนรู้ศึกษา เวลาเข้าไปดูคลิปวิดีโอต่าง ๆเขาบรรยาย จะได้เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
แต่ถ้าไม่รู้แค่จดคำศัพท์นั้นไว้ และค่อยไปหาความหมายในgoogle แทนค่ะ
ใครสนใจก็อย่าลืมศึกษาหาข้อมูลให้เยอะๆก่อนการตัดสินใจทุกครั้งนะคะ 😀
ยิ่งตัดสินใจช้า ลังเลไม่ศึกษาการลงทุน ยิ่งเสียโอกาสในการสร้างผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น
เพราะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมากพอ จึงจะสามารถสร้างผลตอบแทนเงินล้านตามที่เราต้องการได้ในอนาคตนะคะ
การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ยอมลงทุนอะไรเลยย่อมเสี่ยงกว่ามาก
========================================================
Blockdit : https://www.blockdit.com/neemmy.bk
เครดิตรูปภาพหน้าปก : ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay
ความคิดเห็น