อื่นๆ
รีวิว บันทึกการแสดงสด MONEY COACH ON STAGE 5 ได้เวลาอยู่ดีกินดี...ซะที

นับเป็นครั้งที่ 5 ที่โค้ชหนุ่ม จักรพงศ์ เมษพันธุ์ หรือ THE MONEY COACH ทำการทอล์กโชว์ ครั้งนี้ (ในปี พ.ศ.2562) เป็นการมาด้วยคอนเซปต์ของนโยบายเพื่อความเป็นอยู่เรื่องปากท้องต้องดีขึ้นสักที ผู้เขียนซื้อดีวีดีแผ่นนี้จากงานสัปดาห์หนังสือด้วยความสนใจ หลังจากได้รับชมแล้วถือได้ว่าเป็นความรู้ที่ได้รับแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียดจนเกินไปนัก และได้เห็นมุมมองของผู้ที่ทำอาชีพอื่นๆว่ามีปัญหาทางการเงินอย่างไรบ้าง
คุณสมบัติของตัวแผ่นดีวีดี
ภายในกล่องบรรจุ 2 แผ่น มีความยาวประมาณ 3 ชั่วโมง ระบบเสียง STEREO ลำดับภาพขนาด 16:9 ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทลีฟริช ฟอร์เอฟเวอร์ จำกัด
ข้อคิดที่ได้ในมุมมองของผู้เขียน
- หนี้มีต้นทางมาจาก 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่ หนี้ใช้จ่ายเกินตัว หนี้อุปถัมภ์ และหนี้ลงทุน
- การหลอกลวงเพื่อให้เข้ามาลงทุนมีอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโค้ชหรือกูรูทางการเงินที่มักพูดให้ความรู้ก่อน แล้วปิดท้ายว่าต้องการชวนลงทุนในคอนโดที่ตนเป็นเจ้าของ เพราะอยากแบ่งปันความสำเร็จให้กับผู้เข้าเรียน นั่นทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนเพราะสิทธิ์ในการลงทุนที่จำกัด ต้องรีบตัดสินใจ สิทธิพิเศษในการกู้เพื่อซื้อคอนโดที่จำกัด และเห็นว่ากูรูคนนั้นก็พูดฟังดูสมเหตุสมผล นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหนี้การลงทุนได้ เพราะสุดท้ายการลงทุนนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ค่า ทำกำไรไม่ได้
- HAPPINOMETER มาตรวัดความสุขของบุคลากรในโรงพยาบาล เพราะพบว่าปัญหาความสุขของคนในที่ทำงานมีรากฐานมาจากเรื่องเงิน ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับผู้ช่วยพยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่เอกสารต่างๆโดยมีเงินเดือน 8000-9000 บาท จึงต้องขึ้นเวรขึ้นเวรเพิ่มอีก 8 ชั่วโมง เพื่อให้พอกินพอใช้ในแต่ละเดือน
- คนเงินเดือนสูงเองก็มีปัญหาทางการเงินได้ เพราะใช้จ่ายเกินตัว บางคนเงินเดือนหลักแสน แต่กลับติดลบห้าหมื่น และถ้าเกิดว่าโอทีหรือค่าคอมมิชชั่นมีการเปลี่ยนแปลง อำนาจซื้อของเราก็ไม่เหมือนเดิม
- สหกรณ์ออมทรัพย์เปรียบเสมือนระเบิดเวลาขององค์กร เพราะการกู้ของสมาชิกในสหกรณ์ไม่ปรากฏในเครดิตบูโร ทำให้สามารถไปกู้จากสถาบันการเงินอื่นๆได้ โดยไม่ได้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีการค้ำประกันวงเงินกู้ภายในสหกรณ์กันอย่างเป็นลูกโซ่อีกด้วย
- บางคนคนเซ็นค้ำประกันไม่ได้ จึงออกอุบายว่าใครยอมเซ็นค้ำประกันให้ จะมอบเงิน 3000 บาท โดยหลงลืมไปว่าตนต้องรับผิดชอบหนี้ก้อนนั้นทั้งก้อน ซึ่งไม่คุ้มเลยกับเงินแค่ 3000 บาท
- มาตรการสินเชื่อบัตรเครดิตระบุว่า ผู้ที่มีเงินเดือน 30000 บาท วงเงินบัตรเครดิตไม่ควรเกิน 1.5 เท่า หรือ 45000 บาท ซึ่งในรายละเอียดก็ไม่ได้ระบุว่าควรจำกัดบัตรเครดิตต่อคนควรมีกี่ใบ สุดท้ายในทางปฏิบัติก็ทำไม่ได้จริง เพราะไม่มีใครทำตาม
Advertisement
Advertisement
- การพักหนี้ หรือสินเชื่อพิเศษ ทำให้ลูกหนี้เสียวินัยในการชำระหนี้ได้ ขอให้ลูกหนี้เริ่มชำระหนี้เท่าที่มีกำลัง แม้วงเงินจะน้อยก็ตาม อย่าทิ้งระยะ ถ้าชำระ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ได้ยิ่งดี การผัดวันชำระหนี้ นานวันเข้าสุดท้ายก็จ่ายไม่ไหว เพราะเงินถูกใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปหมดแล้ว แน่นอนว่าถ้าหนีหนี้จะเสียเครดิต กู้อะไรอีกในชีวิตไม่ได้ แถมเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในภายหลัง
- ดอกเบี้ยทบต้น ส่งผลมหาศาลแบบที่เราไม่ตาดคิด ยกตัวอย่าง ถ้าเราฝากเงิน 500 บาท ดอกเบี้ย 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แน่นอนว่าดอกเบี้ยปีที่สองย่อมมากกว่าปีแรก นี่คือพลังของดอกเบี้ยทบต้น
- นักลงทุนตัวจริงพิจารณาในด้านความเสี่ยง อัตราผลตอบแทน และสภาพคล่อง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ถ้ายังจัดการกับปัญหาทางการเงินไม่ได้ ก็ยังไม่นับว่ามีความรู้ทางการเงิน
- จงออม แม้ยังมีหนี้ ควบคุมกับการรู้จักทำอาชีพเสริม เริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆในความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ลองเขียนสัก 3 อย่างที่คิดว่าทำได้ดีที่สุดแล้วนำมาแปลงเป็นรายได้ ใช้ทักษะความสามารถส่วนตัวในการทำเงิน
- หนี้เป็นสิ่งที่เกิดจากตัวเราเอง ไม่ใช่เพราะเรามีลูก ไม่ใช่เพราะพ่อแม่ป่วยชีวิตนี้เลยมีหนี้ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คาดการณ์และหาทางป้องกันได้
- เงินเก็บหลังเกษียณหาได้จาก รายจ่ายต่อเดือน × 12 × 20 (20 คืออายุที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ) = เงินทุนหลังเกษียณ ทั้งนี้อาจปรับเปลี่ยนเผื่อเงินเฟ้อในอนาคตได้
- วงจรแห่งความยากจน เกิดจากค่าใช้จ่ายที่มีภาระหนี้หนักมาตลอดชีวิต ไม่มีเงินเหลือเก็บออม เกษียณโดยไม่พอกิน สุดท้ายก็ฝากความหวังไว้กับคนรุ่นลูกมาช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ กลายเป็นมรดกหนี้รุ่นสู่รุ่น
Advertisement
Advertisement
- Road Map ชีวิตที่อยู่ดีกินดี คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี อย่าก่อหนี้ พัฒนาทักษะ ศึกษาการลงทุน สร้างทรัพย์สินให้เกิด Passive Income ช่วงอายุ 30-45 ปี สร้างครอบครัว สร้างชีวิตทางการเงินที่มั่นคง ช่วงอายุ 45-80 ปี ใช้ชีวิตอุดมสุข ไร้กังวลเรื่องเงินทอง รับมือการเปลี่ยนแปลงแบบรู้เท่าทัน รู้จักแบ่งปันคืนสู่สังคม
- ยุทธศาสตร์การเงิน 20 ปี เพื่อความอยู่ดีกินดี มีอยู่ทั้งหมด 8 ประการ
1.ตัดเงินออมอัตโนมัติจากเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์
2.สร้างเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เทียบเท่ารายจ่าย 6 เดือน
3.ปกป้องความเสี่ยงด้วยสิทธิพื้นฐาน เช่น สิทธิบัตรทอง หรือ ประกันสุขภาพ เพื่อไม่ให้หมดรายได้ไปกับค่ารักษาพยาบาล
4.สะสมทุนเกษียณ ด้วย กบข.สำหรับคนทำงานข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมก็ได้
5.วางแผนเกษียณ อย่าให้ต้องอายุมากแล้วค่อยวางแผน มันสายเกินไป ให้วางแผนตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานเลย
Advertisement
Advertisement
6.สะสมเงินลงทุน หาช่องทางทำรายได้เพิ่ม
7.สร้างงานที่ 2 อาชีพที่ 3 ธุรกิจที่ 4 ดึงทักษะตัวเองมาใช้ประโยชน์ เพราะตอนนี้ไม่มีความมั่นคงในงานประจำอีกแล้ว
8.สะสมทรัพย์สินเพื่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะได้เกษียณทางการเงิน หมดกังวลเรื่องเงิน ส่วนเรื่องการทำงานนั้นเราจะเลือกทำงานต่อหรือไม่ก็ได้ เราเลือกได้โดยที่ไม่มีเรื่องเงินมาบีบบังคับเหมือนแต่ก่อน
นับว่าเป็นความเพลิดเพลินที่แฝงแนวคิดทางการเงินที่ตอกย้ำให้เราหาทางลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อที่จะได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นนั่นเองครับ เพราะหากเราฟังผ่านๆหูแต่ขาดการลงมือทำ ผลลัพธ์ย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
เครดิตภาพ
ภาพปก โดย Product School จาก Unsplash.com
ภาพที่ 1 / 2 / 3 / 4 โดยผู้เขียน
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ข้อคิดที่ได้จาก MONEY COACH ON STAGE SPECIAL
(รีวิว) หนังสือ MONEY 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข
รีวิวหนังสือ เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง
รีวิวหนังสือ WHY THE RICH ARE GETTING RICHER (ทำไมคนรวยยิ่งรวยขึ้น)
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก มันเป็นการเรียนรู้ที่ดี แม้จะเป็นการเรียนรู้แบบถ่ายเดียว และอยากใ
ความคิดเห็น
