อื่นๆ

รีวิว บันทึกการแสดงสด MONEY COACH ON STAGE 5 ได้เวลาอยู่ดีกินดี...ซะที

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
รีวิว บันทึกการแสดงสด MONEY COACH ON STAGE 5 ได้เวลาอยู่ดีกินดี...ซะที

นับเป็นครั้งที่ 5  ที่โค้ชหนุ่ม จักรพงศ์ เมษพันธุ์ หรือ THE MONEY COACH ทำการทอล์กโชว์ ครั้งนี้ (ในปี พ.ศ.2562) เป็นการมาด้วยคอนเซปต์ของนโยบายเพื่อความเป็นอยู่เรื่องปากท้องต้องดีขึ้นสักที ผู้เขียนซื้อดีวีดีแผ่นนี้จากงานสัปดาห์หนังสือด้วยความสนใจ หลังจากได้รับชมแล้วถือได้ว่าเป็นความรู้ที่ได้รับแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียดจนเกินไปนัก และได้เห็นมุมมองของผู้ที่ทำอาชีพอื่นๆว่ามีปัญหาทางการเงินอย่างไรบ้าง

คุณสมบัติของตัวแผ่นดีวีดี

ภายในกล่องบรรจุ 2 แผ่น มีความยาวประมาณ 3 ชั่วโมง ระบบเสียง STEREO ลำดับภาพขนาด 16:9 ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทลีฟริช ฟอร์เอฟเวอร์ จำกัด

หน้ากล่องดีวีดีหลังกล่องดีวีดี

ข้อคิดที่ได้ในมุมมองของผู้เขียน

  • หนี้มีต้นทางมาจาก 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่ หนี้ใช้จ่ายเกินตัว หนี้อุปถัมภ์ และหนี้ลงทุน
  • การหลอกลวงเพื่อให้เข้ามาลงทุนมีอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโค้ชหรือกูรูทางการเงินที่มักพูดให้ความรู้ก่อน แล้วปิดท้ายว่าต้องการชวนลงทุนในคอนโดที่ตนเป็นเจ้าของ เพราะอยากแบ่งปันความสำเร็จให้กับผู้เข้าเรียน นั่นทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนเพราะสิทธิ์ในการลงทุนที่จำกัด ต้องรีบตัดสินใจ สิทธิพิเศษในการกู้เพื่อซื้อคอนโดที่จำกัด และเห็นว่ากูรูคนนั้นก็พูดฟังดูสมเหตุสมผล นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหนี้การลงทุนได้ เพราะสุดท้ายการลงทุนนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ค่า ทำกำไรไม่ได้
  • HAPPINOMETER มาตรวัดความสุขของบุคลากรในโรงพยาบาล เพราะพบว่าปัญหาความสุขของคนในที่ทำงานมีรากฐานมาจากเรื่องเงิน ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับผู้ช่วยพยาบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่เอกสารต่างๆโดยมีเงินเดือน 8000-9000 บาท จึงต้องขึ้นเวรขึ้นเวรเพิ่มอีก 8 ชั่วโมง เพื่อให้พอกินพอใช้ในแต่ละเดือน
  • คนเงินเดือนสูงเองก็มีปัญหาทางการเงินได้ เพราะใช้จ่ายเกินตัว บางคนเงินเดือนหลักแสน แต่กลับติดลบห้าหมื่น และถ้าเกิดว่าโอทีหรือค่าคอมมิชชั่นมีการเปลี่ยนแปลง อำนาจซื้อของเราก็ไม่เหมือนเดิม
  • สหกรณ์ออมทรัพย์เปรียบเสมือนระเบิดเวลาขององค์กร เพราะการกู้ของสมาชิกในสหกรณ์ไม่ปรากฏในเครดิตบูโร  ทำให้สามารถไปกู้จากสถาบันการเงินอื่นๆได้ โดยไม่ได้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีการค้ำประกันวงเงินกู้ภายในสหกรณ์กันอย่างเป็นลูกโซ่อีกด้วย
  • บางคนคนเซ็นค้ำประกันไม่ได้ จึงออกอุบายว่าใครยอมเซ็นค้ำประกันให้ จะมอบเงิน 3000 บาท โดยหลงลืมไปว่าตนต้องรับผิดชอบหนี้ก้อนนั้นทั้งก้อน ซึ่งไม่คุ้มเลยกับเงินแค่ 3000 บาท
  • มาตรการสินเชื่อบัตรเครดิตระบุว่า ผู้ที่มีเงินเดือน 30000 บาท วงเงินบัตรเครดิตไม่ควรเกิน 1.5 เท่า หรือ 45000 บาท ซึ่งในรายละเอียดก็ไม่ได้ระบุว่าควรจำกัดบัตรเครดิตต่อคนควรมีกี่ใบ สุดท้ายในทางปฏิบัติก็ทำไม่ได้จริง เพราะไม่มีใครทำตาม

Advertisement

Advertisement

แผ่นที่ 1

  • การพักหนี้ หรือสินเชื่อพิเศษ ทำให้ลูกหนี้เสียวินัยในการชำระหนี้ได้ ขอให้ลูกหนี้เริ่มชำระหนี้เท่าที่มีกำลัง แม้วงเงินจะน้อยก็ตาม อย่าทิ้งระยะ ถ้าชำระ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ได้ยิ่งดี การผัดวันชำระหนี้ นานวันเข้าสุดท้ายก็จ่ายไม่ไหว เพราะเงินถูกใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปหมดแล้ว แน่นอนว่าถ้าหนีหนี้จะเสียเครดิต กู้อะไรอีกในชีวิตไม่ได้ แถมเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในภายหลัง
  • ดอกเบี้ยทบต้น ส่งผลมหาศาลแบบที่เราไม่ตาดคิด ยกตัวอย่าง ถ้าเราฝากเงิน 500 บาท ดอกเบี้ย 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แน่นอนว่าดอกเบี้ยปีที่สองย่อมมากกว่าปีแรก นี่คือพลังของดอกเบี้ยทบต้น
  • นักลงทุนตัวจริงพิจารณาในด้านความเสี่ยง อัตราผลตอบแทน และสภาพคล่อง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ถ้ายังจัดการกับปัญหาทางการเงินไม่ได้ ก็ยังไม่นับว่ามีความรู้ทางการเงิน
  • จงออม แม้ยังมีหนี้ ควบคุมกับการรู้จักทำอาชีพเสริม เริ่มต้นจากสิ่งง่ายๆในความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ลองเขียนสัก 3 อย่างที่คิดว่าทำได้ดีที่สุดแล้วนำมาแปลงเป็นรายได้ ใช้ทักษะความสามารถส่วนตัวในการทำเงิน
  • หนี้เป็นสิ่งที่เกิดจากตัวเราเอง ไม่ใช่เพราะเรามีลูก ไม่ใช่เพราะพ่อแม่ป่วยชีวิตนี้เลยมีหนี้ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คาดการณ์และหาทางป้องกันได้
  • เงินเก็บหลังเกษียณหาได้จาก รายจ่ายต่อเดือน × 12 × 20 (20 คืออายุที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ) = เงินทุนหลังเกษียณ ทั้งนี้อาจปรับเปลี่ยนเผื่อเงินเฟ้อในอนาคตได้
  • วงจรแห่งความยากจน เกิดจากค่าใช้จ่ายที่มีภาระหนี้หนักมาตลอดชีวิต ไม่มีเงินเหลือเก็บออม เกษียณโดยไม่พอกิน สุดท้ายก็ฝากความหวังไว้กับคนรุ่นลูกมาช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ กลายเป็นมรดกหนี้รุ่นสู่รุ่น

Advertisement

Advertisement

แผ่นที่ 2

  • Road Map ชีวิตที่อยู่ดีกินดี คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี อย่าก่อหนี้ พัฒนาทักษะ ศึกษาการลงทุน สร้างทรัพย์สินให้เกิด Passive Income ช่วงอายุ 30-45 ปี สร้างครอบครัว สร้างชีวิตทางการเงินที่มั่นคง ช่วงอายุ 45-80 ปี ใช้ชีวิตอุดมสุข ไร้กังวลเรื่องเงินทอง รับมือการเปลี่ยนแปลงแบบรู้เท่าทัน รู้จักแบ่งปันคืนสู่สังคม
  • ยุทธศาสตร์การเงิน 20 ปี เพื่อความอยู่ดีกินดี มีอยู่ทั้งหมด 8 ประการ

1.ตัดเงินออมอัตโนมัติจากเงินเดือน 10 เปอร์เซ็นต์

2.สร้างเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เทียบเท่ารายจ่าย 6 เดือน

3.ปกป้องความเสี่ยงด้วยสิทธิพื้นฐาน เช่น สิทธิบัตรทอง หรือ ประกันสุขภาพ เพื่อไม่ให้หมดรายได้ไปกับค่ารักษาพยาบาล

4.สะสมทุนเกษียณ ด้วย กบข.สำหรับคนทำงานข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมก็ได้

5.วางแผนเกษียณ อย่าให้ต้องอายุมากแล้วค่อยวางแผน มันสายเกินไป ให้วางแผนตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานเลย

Advertisement

Advertisement

6.สะสมเงินลงทุน หาช่องทางทำรายได้เพิ่ม

7.สร้างงานที่ 2 อาชีพที่ 3 ธุรกิจที่ 4 ดึงทักษะตัวเองมาใช้ประโยชน์ เพราะตอนนี้ไม่มีความมั่นคงในงานประจำอีกแล้ว

8.สะสมทรัพย์สินเพื่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะได้เกษียณทางการเงิน หมดกังวลเรื่องเงิน ส่วนเรื่องการทำงานนั้นเราจะเลือกทำงานต่อหรือไม่ก็ได้ เราเลือกได้โดยที่ไม่มีเรื่องเงินมาบีบบังคับเหมือนแต่ก่อน

นับว่าเป็นความเพลิดเพลินที่แฝงแนวคิดทางการเงินที่ตอกย้ำให้เราหาทางลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อที่จะได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นนั่นเองครับ เพราะหากเราฟังผ่านๆหูแต่ขาดการลงมือทำ ผลลัพธ์ย่อมไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

เครดิตภาพ

ภาพปก โดย Product School จาก Unsplash.com

ภาพที่ 1 / 2 / 3 / 4 โดยผู้เขียน

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ข้อคิดที่ได้จาก MONEY COACH ON STAGE SPECIAL

(รีวิว) หนังสือ MONEY 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข

รีวิวหนังสือ เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง

รีวิวหนังสือ พ่อรวยสอนลูก

รีวิวหนังสือ WHY THE RICH ARE GETTING RICHER (ทำไมคนรวยยิ่งรวยขึ้น)

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Watcharapon
Watcharapon
อ่านบทความอื่นจาก Watcharapon

ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก มันเป็นการเรียนรู้ที่ดี แม้จะเป็นการเรียนรู้แบบถ่ายเดียว และอยากใ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์