อื่นๆ

[รีวิวหนังสือ] ยี่สิบสี่ดวงตา - โลกหลังชั้นเรียนที่ไม่มีวันเหมือนเดิม

146
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
[รีวิวหนังสือ] ยี่สิบสี่ดวงตา - โลกหลังชั้นเรียนที่ไม่มีวันเหมือนเดิม

ปกหนังสือฉบับภาษาไทย

สารภาพตั้งแต่ต้นว่าเดิมทีไม่ได้ตั้งใจจะอ่านนิยายเรื่องนี้ตั้งแต่แรก และตอนตัดสินใจอ่านก็ไม่เคยรู้จักนิยายเรื่องนี้มาก่อน แต่เนื่องจากกำลังหาหนังสืออ่านฟรี และนี่เป็นนิยายที่มีให้อ่านแบบดาวน์โหลดกันฟรีๆ ผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการตำราแบบถูกกฎหมาย(ใครสนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://openbase.in.th/textbookproject ) นิยายมีความยาวที่ไม่มากเกินไปนัก จึงลองเปิดใจใช้เวลากับงานชิ้นนี้แบบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหนังสือในเล่มมาก่อนเลย (ผู้เขียนมีความตั้งใจจะหาหนังสือมาอ่านไปเรื่อยๆ ติดต่อกันทุกวัน อ่านช้าบ้างเร็วบ้าง – น่าเสียดายที่ความตั้งใจนี้ได้หายมาหลายปีแล้ว บทรีวิวหนังสือนี้เขียนไว้เพื่อเตือนสติให้ตนกลับมาอ่านหนังสือใหม่เช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่เปิดโลกได้อย่างดียิ่ง)

พออ่านเรื่อยๆ กลับกลายเป็นว่าได้ค้นพบนิยายชีวิตที่สะเทือนใจมากเล่มหนึ่ง ตอนท้ายหนักหน่วงชนิดที่เร้าอารมณ์บีบคั้นให้ผู้อ่านเหมือนตายสนิท เพราะผู้เขียนบรรยายและถ่ายทอดบดขยี้ช่วงดังกล่าวโดยมีบทสรุปที่ทำให้เรามองเห็นทั้งความหวังและความสะเทือนใจไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทำได้ไม่ง่ายเลย

Advertisement

Advertisement

ต่อมาจึงทราบว่า ยี่สิบสี่ดวงตา เป็นนิยายญี่ปุ่นเขียนในปี ค.ศ.1952 ผลงานของ ซาคาเอะ ทสุโบอิ ผ่านการแปลโดย กิติมา อมรทัต ซึ่งนับเป็นนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของแดนอาทิตย์อุทัย และเป็นผลงานเรื่องเดียวของ ทสุโบอิ ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ(รวมถึงภาษาไทย) นับเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของเธอ เคยผ่านการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์มาแล้วในปี ค.ศ.1954 ผ่านการกำกับโดย เคสุเกะ คิโนชิตะ และตัวหนังเองก็ได้รับการยกย่องเป็นหนังอมตะเรื่องหนึ่ง นอกจากนี้ยังเคยถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ และอนิเมชั่นอีกด้วย

ตอนที่อ่านเกิดคำถามไม่น้อย เพราะไม่แน่ใจว่ายุคนั้นเขามองนิยายเรื่องนี้เป็นอย่างไร เพราะในแง่เนื้อหาต้องนับว่าตัวนิยายท้าทายทีเดียว คนเขียนเป็นผู้หญิงในญี่ปุ่น เขียนหลังภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านไปได้เพียงสิบปีเท่านั้น แต่เขียนวิจารณ์ภาวะสังคมภายใต้ชาตินิยมระดับสุดโต่งได้อย่างตรงไปตรงมาในหลายเหตุการณ์

Advertisement

Advertisement

ยี่สิบสี่ดวงตา (Twenty-Four Eyes หรือในชื่อภาษาญี่ปุ่น 二十四の瞳 –Nijushi no Hitomi ) เป็นเรื่องเล่าผ่านสายตาของครูคนหนึ่งในเกาะห่างไกล ที่ต้องมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในเด็ก 12 คนในชนบทเล็กๆ ที่เธอต้องดูแล คอยสอน รับรู้ชีวิตพวกเขาและเธอตั้งแต่เด็กจนโต บ้างเริ่มต้นจากใสซื่อ บ้างเลิกเรียนเพราะยากจน ในเกาะเล็กๆ เรื่องราวของพวกเขายังสะท้อนความไม่เท่าเทียมในชีวิตของหญิงและชายของสังคมญี่ปุ่น

ก่อนเวลาผ่านไปเกาะที่ชีวิตสงบสุขจะแปรเปลี่ยนสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง เรื่องราวที่เรียบง่าย ถ่ายทอดชีวิตในโรงเรียนก็เข้าสู่ช่วงบีบคั้นยิ่งขึ้น

ครูบางคนถูกกล่าวหาว่าเป็น "แดง" หากเขาและเธอสอนนักเรียนโดยไม่พูดถึงความรักชาติ หลายคนถูกรัฐเรียกสอบสวน ต่อมาเด็กผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ทหารไปออกรบ ความขัดสนในสภาพที่ประเทศสู้รบในสงครามทำให้เด็กผู้หญิงหลายคนซึ่งต้องออกมาหางานช่วยพ่อแม่ต้องอยู่อย่างขัดสน โดยครูได้เพียงช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

Advertisement

Advertisement

สงครามส่งผลต่อครอบครัวครู เด็กๆ และเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งแค่ไหน ? เป็นคำถามที่ผู้เขียนจำลองชีวิตผ่านตัวละครจำนวนหนึ่งสะท้อนผลกระทบของมัน รวมไปถึงแนวคิดแบบชาตินิยมที่ต่างไปจากที่รัฐพยายามส่งเสริมได้อย่างเรียบง่ายแต่สะเทือนอารมณ์อย่างยิ่ง เมื่อคนตัวเล็กๆ ในญี่ปุ่นแม้แต่เกาะที่มีคนหยิบมือได้รับผลกระทบจากแนวคิดดังกล่าว และสงครามที่ไม่ได้นำไปสู่อะไร

ซึ่งแม้จะเป็นนิยายญี่ปุ่น แต่ผู้แปล กิติมา อมรทัต ก็ถ่ายทอดด้วยสำนวนที่อ่านเข้าใจง่าย มีเชิงอรรถอธิบาย ให้เห็นภาพของอดีตชัดขึ้น เสริมเนื้อหาที่คนไทยกินใจได้ไม่ยาก

ภาพประกอบจาก : http://openbase.in.th/textbookproject และ hulu.jp

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์