อื่นๆ

รีวิวหนังสือ ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง

147
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
รีวิวหนังสือ ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง

หนังสือ ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษางานเขียนของท่านพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เขียนขึ้นโดยทันตแพทย์สม สุจีรา ซึ่งได้ทำการเรียบเรียงนำเสนอใหม่โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงที่มีเหตุผลมาสนับสนุน โดยทวารทั้งหกก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นอวัยวะสำคัญในการดำรงชีวิตและเป็นจุดเริ่มต้นของผัสสะอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ได้ด้วยเช่นกัน

ข้อดีของหนังสือเล่มนี้คือช่วยให้เราเข้าใจและรู้เท่าทันการทำงานของทวารทั้ง 6 ที่ต้องการสนองกิเลสตามที่จิตต้องการ เพื่อเราจะสามารถควบคุมการกระทำของตนเอง พิชิตกรรม ถือเป็นวิธีการตัดกรรมที่ได้ผลที่สุด สิ่งที่เราพลาดคือไม่รู้เท่าทันการเกิด-ดับของสิ่งที่เกิดขึ้น และรับเอาสิ่งนั้นเข้าสู่ใจ จึงก่อให้เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน ตามมา ซึ่งจะดับได้ยากกว่าผัสสะที่ได้รับมา แม้ภายหลังสิ่งเร้าได้ดับไปแล้ว แต่เวทนา ตัณหายังแฝงลึกอยู่ในจิต ซึ่งก็พร้อมแสดงออกมาในรูปของวิบากกรรมในอนาคต

Advertisement

Advertisement

หน้าปกหนังสือ ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง

ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องใช้สติตัดกรรมที่ทวารทั้ง 6 โดยไม่ให้มันกระทบเข้าสู่ใจ แม้บางครั้งมันจะหลุดเข้าสู่ความคิดบ้าง แต่ก็อย่าให้หลุดเข้าสู่ใจ เพราะใจเป็นเรื่องของความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ อยาก ไม่อยาก และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของกรรม

เนื้อหาภายในเล่ม

เปิดทวาร

ตา

หู

จมูก

ลิ้น

กาย

ใจ

ปิดทวาร

บทส่งท้าย

หลังปกหนังสือ ทวาร 6 ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง

แนวคิดที่ได้ภายในเล่มในมุมมองของผู้เขียน

  • ความแตกต่างระหว่างเพศสร้างความยากลำบากในการป้องกันกรรมเก่า เพราะเพศหญิงมีทวารทั้ง 6 ที่มีประสิทธิภาพกว่าผู้ชายถึง 2-3 เท่าตัว ผู้หญิงมีมุมมององศาการมองเห็นมากกว่าผู้ชาย แยกเฉดสีได้ดีกว่าผู้ชายจึงหลงใหลในเครื่องแต่งกาย ทองคำ เครื่องประดับมากกว่าผู้ชาย หูของผู้หญิงก็แยกแยะเสียงได้ชัดเจนได้ดีกว่า ด้วยเหตุนี้การควบคุมจิตของผู้หญิงจึงต้องใช้กำลังสติที่สูงกว่า

  • การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อฝึกสติ จะต้องเริ่มจากสำรวมทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำหนดสติรู้เท่าทันนิวรณ์ทั้ง 5 คือ กามฉันทะ ความรัก ความชอบ พยาบาท ความโกรธ เกลียด ไม่พอใจ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา หดหู่ อุทธัจจกุกกุจจะ ความหงุดหงิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ และวิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจ สติสามารถควบคุมได้ หากหมั่นฝึกเจริญสติเป็นประจำ

Advertisement

Advertisement

  • ในการฝึกสติด้วยนั่งสมาธิอย่างเดียวจะไม่ได้ผล เพราะกำลังสติยังไม่แข็งแกร่งพอ ต้องมีการเดินจงกรมอยู่เสมอด้วย ในระหว่างการเดินจงกรมจะสามารถจับความรู้สึกทางกายได้ชัด กำลังสติจึงสูงขึ้น
  • นามธรรมในทางพุทธคือความรู้สึกที่จิตขึ้นมารับอารมณ์ โดยส่วนของนามเกิดจากสัญญา คือความจำได้หมายรู้ รู้รส กลิ่น เสียง สัมผัส เวทนา คือความชอบ ไม่ชอบ สังขาร คือการปรุงแต่ง วิญญาณ คือการรับรู้ ความรู้สึกเหล่านี้ไม่เที่ยง ถ้าจับความไม่เที่ยงได้จึงจะเกิดปัญญา

unsplash.com

  • ระดับการหลุดพ้นในทางพุทธศาสนาแบ่งเป็น 3 ระดับ

1.หลุดพ้นจากอิทธิพลของตา หู จมูก ลิ้น กาย

2.หลุดพ้นจากอารมณ์ทางใจ ระดับนี้ถือว่าบรรลุญาณ 16

3.หลุดพ้นโดยสามารถแยกสติออกมาดูจิตจนเกิดปัญญาว่าแม้แต่ตัวจิตเองก็ไม่มีอยู่จริง ซึ่งต้องผ่านการบรรลุญาณ 16 หลายๆครั้งจนเกิดปัญญาอริยมรรค หรือที่เรียกว่าบรรลุอรหันต์นั่นเอง

Advertisement

Advertisement

  • ถ้าเราควบคุมเวทนา ตัณหาได้ เราก็กำหนดการเกิดใหม่ให้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีทางสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐานก็ตาม แต่ทว่าการยึดติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ล้วนส่งผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ทั้งสิ้น
  • ทวาร 6 นอกจากจะรับผัสสะแล้วยังเป็นฝ่ายให้ด้วย เรียกว่า เป็นการสะท้อนผลกรรมที่เคยได้รับมาในอดีต เช่น คนที่เคยได้รับทุกขเวทนาทางหูมา ย่อมพูดไม่ดีให้คนอื่นได้รับทุกขเวทนาทางหูบ้าง เด็กคนไหนได้รับการอบรมด้วยวิธีการดุด่ามาตลอด โตขึ้นเขาก็จะพูดไม่ดีกับคนอื่นๆบ้าง เพราะเกิดกระบวนการย้อนกลับทางผัสสะทางเวทนา ตัณหา อุปาทาน นี่คือตัวอย่างของกรรมเก่าที่สะสมอยู่ในภวังคจิต รอจังหวะที่เหมาะสมจนกรรมมีโอกาสแสดงผลออกมา
  • เคล็ดลับที่จะบรรลุเข้าสู่นิพพานก็คือ ใช้สติสัมปชัญญะเข้าไปกำหนดทวารทั้ง 6 เวลาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่เกิดเวทนา เวลาได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่เกิดเวทนา ได้ลิ้มรส ได้กลิ่น หรือได้ยินก็เช่นกัน ไม่เกิดความรู้สึกใดๆ หรือมีสิ่งกระทบผิวหนังก็สักแต่ว่ากระทบ คิดก็สักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็หายไป ถ้าทำเช่นนี้ได้ อุปาทานก็จะดับ ไม่มีทุกข์หลงเหลืออยู่ แม้จะทำได้ไม่ง่าย แต่เริ่มฝึกเจริญสติได้

unsplash.com

หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อขมวดเนื้อหาให้ง่าย แม้คนที่ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์หรือคนที่ไม่ได้สนใจธรรมะมาก่อนจะได้ทำความเข้าใจง่ายขึ้น ภายในเล่มจะมีคำอธิบายเสริมประกอบ พร้อมทั้งยกตัวอย่างงานวิจัยจากต่างประเทศที่มีการพูดถึงการทำงานของประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่สอดคล้องกับสภาวะเพศชายและหญิง

จะได้เห็นได้ว่าธรรมชาติมีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ในกายหยาบของเรา มีทั้งข้อดีข้อเสียซ่อนเร้นไว้มากมายโดยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน แต่ข้อเสียนั้นบางครั้งกลับเป็นข้อดี โดยเฉพาะเพศชายที่สามารถบรรลุธรรมได้ง่ายกว่าเพศหญิง เพราะเพศหญิงรับผัสสะได้ละเอียดกว่า กระตุ้นกิเลส รบกวนความสงบได้มากกว่า ในกรณีเพศทางเลือกก็จะมีความทุกข์อีกด้านหนึ่งเช่นกัน เพราะกายกับจิตไม่สามารถรับผัสสะได้อย่างสอดคล้องตามเพศสภาพ

นับเป็นหนังสือธรรมะประยุกต์ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับใครที่สนใจหนังสือธรรมะที่อธิบายถึงผัสสะที่กระตุ้นทวารทั้ง 6 เพื่อหาหนทางระงับกิเลส นำไปสู่หนทางความสำเร็จทางจิตวิญญาณเล่มนี้ก็ต้องถือว่าแนะนำเป็นอย่างยิ่ง

เครดิตภาพ

ภาพปก โดย Hal Gatewood จาก Unsplash.com

ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียน

ภาพที่ 3 โดย Katerina Jerabkova จาก Unsplash.com

ภาพที่ 4 โดย Norbert Kundrak จาก Unsplash.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

รีวิวหนังสือ “เดอะท็อปซีเคร็ต”

รีวิวหนังสือ จิตของนักเล่นหุ้น

รีวิวหนังสือ กรรมของนักเล่นหุ้น

รีวิวหนังสือ ธรรมะหน้าเด้ง

รีวิวหนังสือ วิชาแรก วิชาชีวิต

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Watcharapon
Watcharapon
อ่านบทความอื่นจาก Watcharapon

ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก มันเป็นการเรียนรู้ที่ดี แม้จะเป็นการเรียนรู้แบบถ่ายเดียว และอยากใ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์