อื่นๆ

เบื้องหลัง...ที่หนังไม่ได้บอกตอนดู

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เบื้องหลัง...ที่หนังไม่ได้บอกตอนดู

จากที่เคยมีโอกาสได้ทำหนังสั้นเยาวชนทั้งส่งประกวดตามรายการต่างๆ และทำไว้เผยแพร่เพื่อความบันเทิง มีโอกาสได้เขียนบท การถ่ายทำ ออกแบบฉากการต่อสู้  ร่วมตัดต่อ และเสนอเทคนิคการตัดต่อร่วมกับเพื่อน หาเสียงประกอบฉาก แต่งเพลงประกอบหนัง เป็นต้น จึงได้ประสบการณ์ส่วนหนึ่งมา ถือเป็นความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำหนังหลายๆ อย่าง ทำให้รู้เบื้องหลังการทำหนังที่มีความซับซ้อน แต่ก็ซ่อนความสนุกไว้ จึงนึกถึงสมัยที่เป็นเพียงผู้ชม ว่ามีอะไรที่หนังไม่ได้บอกเราในช่วงเวลานั้นบ้าง

จอภาพยนตร์1. เสียงพูดที่ได้ยินจากหนังต่างประเทศ ไม่ใช่เสียงจริงๆ ของนักแสดง หากแต่เป็นเพียงการพากย์เสียง ถ้าเป็นตอนเด็ก เราอาจจะไม่เคยสงสัยเลยเพราะด้วยความแนบเนียนหรือไม่เคยคิดว่าต้องถามด้วย ที่เห็นนักแสดงคนจีน ฝรั่ง อินเดีย ญี่ปุ่น พูดไทยได้ชัดเจน ทุกฉาก ทุกตอน พอโตขึ้นมาจึงรู้ว่ามันคือการใส่เสียงเข้าไปแทนให้เข้ากับจังหวะการพูดมากที่สุดเท่านั้นเอง

Advertisement

Advertisement

ฉากตลาด2. เสียงประกอบ เป็นเสน่ห์ที่สำคัญที่ทำให้หนังมีความสมจริงมากที่สุด เมื่อได้ยินเสียงอะไรได้ทุกรายละเอียด ทำให้คิดว่ามาจากเสียงนั้นจริง ที่แท้เขามีศาสตร์ทำเสียงที่เรียกว่า โฟเลย์ (Foley) เพราะบางครั้งเสียงจากการถ่ายทำจริงๆ อาจจะไม่ชัด เช่น ฉากอยู่ไกลๆ หรือควบคุมเสียงรอบข้างขณะถ่ายทำไม่ได้ อย่างเช่นในตลาด จึงต้องใช้เสียงประกอบนี้มาทดแทน

3. ความฉับไว โดยเฉพาะหนังแอ็กชัน ที่เราเคยคิดว่าตัวเอกของเรื่องเก่งมาก สามารถต่อสู้กับคนอื่นได้หลายคน อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ที่แท้มาจากการตัดต่อที่ฉับไว เลยดูต่อเนื่องกัน หรือการเพิ่มความไวของภาพก็สามารถทำให้ดูแข็งแรงกว่าเดิมได้

การตัดต่อแต่ละฉาก4. คนที่ไม่ใช่นักแสดงจริงทั้งแสตนด์อิน (Stand in) และสตั้นท์แมน (Stuntman) สิ่งเหล่านี้เพิ่งรู้เมื่อตอนโตว่ามีการทำแบบนี้ด้วย คือ การใช้นักแสดงแทนทั้งฉากไกลๆ และฉากใกล้แต่ไม่ให้เห็นหน้า โดยเฉพาะฉากที่มีความไว เลยทำให้สังเกตไม่ทัน แต่ก็ถือว่าดีมีอาชีพนี้เพิ่มทำให้มีรายได้ แม้ว่าบางครั้งต้องเสี่ยงก็ตาม

Advertisement

Advertisement

การถ่ายทำจริง5. ถ่ายหลายรอบ หลายเทค ภาพยนตร์หรือละครหลายๆ เรื่องจะมีการฉายเบื้องหลังการถ่ายทำให้ดู ทำให้คนดูรู้ว่าไม่ง่ายเลยที่จะถ่ายทำเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วผ่านทันที หนังบางเรื่อง บางฉาก ถ่ายทำเป็นพันครั้งก็มี กว่าจะสมบูรณ์ได้ไม่ง่ายเลย

การถ่ายทำ6. การตัดต่อ ความต่อเนื่อง ความน่าสนใจ ความตื่นเต้น การสลับฉากไปมา ทำให้สามารถเล่าเรื่องต่างๆ ออกมาได้ดี สร้างความรู้สึกร่วม ดังนั้นการตัดต่อจึงสำคัญมาก บางครั้งหนังดี แต่ฝีมือการตัดต่อไม่ดี ผลงานก็ออกมาไม่ดีด้วยเช่นกัน

7. Special Effect/CG ทุกวันนี้ การถ่ายทำภาพยนตร์ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงชีวิตหรือต้องไปในสถานที่จริงอีกแล้ว สามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาจากเทคโนโลยี แค่ในห้องโถงก็ทำได้จนสมจริง ตามจินตนาการได้หมด นักแสดงก็มีความปลอดภัยในการถ่ายทำมากขึ้น ภาพที่เราเห็นผ่านจอ ก็คือ การใช้เทคนิคต่างๆ ทั้งนั้น หากไม่รู้ก็คิดว่าเป็นจริงไปเสียหมด

Advertisement

Advertisement

เทคนิคทางคอมพิวเตอร์8. บทแฝด อีกลูกเล่นหนึ่งของการทำให้นักแสดงคนเดียวกลายเป็นหลายคน หลายบุคลิกได้อย่างแนบเนียนจนคิดว่าเป็นจริงก็คือ การทำให้เหมือนมีฝาแฝด แค่ 2 คน หรือมากกว่าได้ ชกต่อยกันเองได้ กอดคอกัน สัมผัสกันได้ ฯลฯ ถือว่าเป็นความสามารถที่ก้าวล้ำทางโลกภาพยนตร์จริงๆ

9. สิ่งที่เห็นล้วนเป็นอุปกรณ์ที่ทำขึ้นมา เช่น เลือด อาวุธ กระจกแตก โต๊ะ ห้อง ฯลฯ ไม่ใช่ของจริงทั้งหมด บางอย่างทำเหมือนมาก บางอย่างพังเร็วกว่าปกติ ถ้ามาดูเบื้องหลังก็จะรู้และเพิ่งเข้าใจได้เอง

อุปกรณ์ถ่ายหนังหากเป็นสมัยก่อน โลกภาพยนตร์ก็อาจเป็นพียงแค่ความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลาย แต่ปัจจุบันผู้ชมก็มีความก้าวหน้า พัฒนาขึ้นตามผู้สร้างภาพยนตร์เหมือนกัน ยิ่งมีโลกโซเชียลเป็นแหล่งเรียนรู้ เข้าใจโลกภาพยนตร์มากขึ้น แหล่งลงมือลองผิดลองถูกด้วย ทำให้ทุกคนสามารถใกล้ชิดโลกของหนังได้มากขึ้น ทุกคนมีโอกาสที่จะทำหนังเป็นของตนเองได้ด้วยเช่นกัน เพียงแต่ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน และเข้าถึงผู้ชมได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง


ทุกภาพประกอบ โดยผู้เขียน

ขอบคุณ แอปพลิเคชัน Canva ตกแต่งข้อความภาพปก

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์