อื่นๆ

เรื่องเล่า ชาวเรือนจำ EP.2 : การนอน/เรือนนอน

180
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เรื่องเล่า ชาวเรือนจำ EP.2 : การนอน/เรือนนอน

สวัสดีครับ....เพื่อนๆ นักอ่านทุกท่านครับ พบกันใน EP ที่ 2 แล้วนะครับ วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง "การนอน/เรือนนอน" ซึ่งจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการนอนและที่นอนของเหล่าผู้ต้องขังภายในเรือนจำว่ามีความเป็นอยู่อย่างไรแตกต่างจากข้างนอกอย่างไร ไปอ่านกันเลยครับ


ภาพ4

ห้องนอนสำหรับคนทั่วไปอาจเป็นที่ๆ จะทำให้เรามีความสุขจากการพักผ่อนได้ดีที่สุด แต่หากจะพูดถึงที่นอนภายในเรือนจำ ผมบอกได้เลยครับว่ามันเป็นคนละโลกกันเลยครับ คนภายนอกที่อาจจะมองเข้ามาอาจจะคิดว่าก็แค่นอนร่วมกันหลายๆ คน แต่เรื่องจริงมันยิ่งกว่านั้นมากเลยนะครับ

เริ่มจากวันแรกที่เข้าสู่เรือนจำเลยนะครับ เราก็จะถูกส่งเข้าแดนแรกรับซึ่งเป็นแดนที่รับผู้ต้องขังรายใหม่ที่เข้ามา ซึ่งในแดนนี้คนจะค่อนข้างพลุกพล่าน มีคนเข้าออกกันบ่อยแทบทุกวันๆ ละหลายๆ คน และคนที่เข้ามาใหม่ก็จะอยู่ที่แดนแรกรับนี้สักประมาณไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ ดังนั้นการนอนภายในแดนแรกรับนั้นจะเรียกได้ว่าอัดแน่นกันเลยทีเดียว

Advertisement

Advertisement

ภาพ3

เนื่องจากถ้าเราเพิ่งเข้ามาใหม่ในยุคก่อนก็จะสามารถนำที่นอนจากภายนอกที่ญาตินำมาให้เข้าไปนอนภายในเรือนจำได้ แต่ปัจจุบันนี้สิ่งที่เราได้รับนั่นก็คือ ผ้าห่ม 3 ผืน ถามว่าทำไมต้องสามผืนต้องบอกว่า ผืนที่1 ใช้สำหรับปูนอน ผืนที่2 ใช้สำหรับม้วนทำหมอน และ ผืนที่3 ใช้สำหรับเป็นผ้าห่ม นี่คือสิ่งที่ผู้ต้องขังทุกคนจะได้รับ

ภาพ2

หลังจากผ่านในแดนแรกรับแล้วก็จะถูกจำแนกย้ายไปตามแดนความผิดของผู้ต้องขังแต่ละคน เมื่อเข้าไปในแดนแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะเป็นผู้ที่จับเราลงตามห้องต่างๆ ตามความเหมาะสม เมื่อเราเข้าห้องไปพร้อมกับผ้า 3 ผืนแล้วก็จะถูกหัวหน้าห้องเป็นคนจัดการหาที่นอนภายในห้องให้ เราจะเลือกไม่ได้เลยแล้วหัวหน้าห้องก็จะบอกให้เราไปนอนตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่อยู่ที่หน้าบล็อกส้วมก็จะเป็นการนอนที่เรียกว่า "สายกลาง"

"สายกลาง" คือ ให้เพื่อนลองนึกภาพตามนะครับห้องนอนก็จะเป็นห้องนอนสี่เหลี่ยมปกติซึ่งการนอนก็จะแบ่งเป็นแถวที่1 นอนหัวชนกำแพงด้านหนึ่ง แถวที่2 ก็จะนอนโดยหันเท้าชนกัน ก็จะมีพื้นที่ว่างปลายเท้าสำหรับเป็นทางเดิน ช่องว่างนั้นแหละครับคือ สายกลาง เรียกได้ว่าหันหน้าไปทางไหนก็จะเจอแต่เท้าของคนอื่นทั้งซ้ายและขวาเลยที่เดียว

Advertisement

Advertisement

ผ่านไปสักช่วงเวลาหนึ่งเราก็จะถูกย้ายที่นอนไปนอนตามแถวปกติทั่วไปเมื่อมีผู้ต้องขังใหม่เข้ามานอนแทนที่สายกลางของเรา แต่อย่าคิดนะว่าจะสบาย ใช่ มันอาจสบายที่ไม่ต้องไปนอนดมเท้าของเพื่อน แต่ที่นอนเราก็จะต้องไปนอนในแถวที่เบียดอัดแน่นเรียกได้ว่ามีที่นอนกันแค่เพียงหนึ่งศอกเท่านั้น ไหล่ชนไหล่กันเลยทีเดียว ดังนั้นการนอนไม่ต้องคิดว่าจะพลิกซ้ายพลิกขวากันเลยครับนอนได้ท่าเดียวคือนอนตะแคงกันเพียงเท่านั้นครับ

ถามว่าทำไมจะต้องนอนลำบากกันถึงขนาดนั้น ก็ขอตอบว่า ห้องนอนห้องหนึ่งปกติแล้วจะนอนได้เต็มที่อยู่ที่ 30-40 คน แต่ด้วยจำนวนผู้ต้องขังในปัจจุบันภายในเรือนจำ 143 แห่งนั้น จำนวนความจุที่รับได้อยู่ที่ 100,000 คน แต่ปัจจุบันผู้ต้องขังทั่วประเทศมีอยู่เกือบ 400,000 คน ทำให้ต้องอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดมาก ภายในห้องนอนก็จะต้องนอนกันเกือบ 100 คน ถือเป็น 2 เท่าของความจุที่รับได้ ทำให้ผู้ต้องขังทุกๆ เรือนจำทั่วประเทศจะต้องประสบกับชะตากรรมและต้องนอนหลับกันด้วยความลำบากนั่นเองครับ

Advertisement

Advertisement

ภาพ3

แตกต่างจากเรือนจำในต่างประเทศที่เรือนนอนของผู้ต้องขังนั้นจะแบ่งเป็นห้องๆ ละ1-2 คน และที่นอนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเตียงเดี่ยวหรือบางทีก็เป็นเตียง 2 ชั้น ทำให้ผู้ต้องขังในต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีสุขภาพจิตที่ดีไม่เครียดเหมือนเช่นผู้ต้องขังในประเทศไทย

สุดท้ายจึงอย่างสะท้อนให้เพื่อนๆ เห็นว่าเรือนจำนั้นไม่ได้มีความสะดวกสบายเลยแม้แต่น้อย อยากฝากข้อคิดถึงผู้ที่คิดหรือกำลังกระทำความผิดจงเลิกทำและใช่ชีวิตอย่างตั้งสติอยู่ตลอด บอกเลยนะครับว่า "ใครใจร้อน ต้องนอนที่แคบ" นะครับ

  • เรื่องราวภายในเรือนจำของผมนั้นขอให้เป็นอุทธาหรณ์นะครับ ขอให้ท่านจงใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท และพยายามอย่านำตัวเองเข้าไปสู่ทางที่ผิดกฏหมาย ซึ่งจะช่วยให้ท่านปลอดภัยไม่ต้องมีโอกาสเข้าไปสู่ข้างในเรือนจำนะครับ  สุดท้ายขอฝากผลงานเรื่องเล่าชาวเรือนจำและรอติดตามเรื่องราวจากผมได้ต่อไปครับใน EP หน้านะครับ ขอบคุณครับ

เครดิตภาพ

🗺 แชร์ที่เที่ยวใหม่ๆ ไม่ว่าจะเที่ยวสายไหนก็มาแวะแชร์กับทรูไอดีคอมมูนิตี้ “เที่ยวไปให้สุด”

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เขียนเรื่องเล่าจำ
เขียนเรื่องเล่าจำ
อ่านบทความอื่นจาก เขียนเรื่องเล่าจำ

ขอฝากผลงานการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองและเรื่องราวที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์