อื่นๆ
เรื่องเล่า ชาวเรือนจำ EP.5 : เรือนจำเปิดและเรือนจำปิด
สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2566 หรือปีเถาะนะครับ ขอให้เพื่อนๆ นักอ่านทุกๆ ท่านประสบความสำเร็จในทุกเรื่องนะครับขอให้พบเจอแต่สิ่งดีๆ ในปีใหม่นี้ ขอให้ร่ำรวย เฮงๆ ตลอดปีและตลอดไปเลยทุกท่านนะครับ
กลับมาพบกับเรื่องเล่าชาวเรือนจำอีกครั้งนะครับ EP. นี้เป็นเรื่องแรกของปี 2566 เลยนะครับ วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองนะครับ วันนี้พบกับเรื่อง “เรือนจำเปิดและเรือนจำปิด” ซึ่งจะอธิบายให้ทราบถึงความหมายของเรือนจำทั้ง 2 แบบนี้ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรและคนที่จะได้อยู่เรือนจำทั้ง 2 แบบนี้คือนักโทษแบบไหนไปอ่านกันต่อเลยครับ
เรือนจำเปิด
เมื่อเราได้รับฟังคำตัดสินจากศาลแล้ว ได้รับคำตัดสินให้จำคุกเป็นเวลากี่ปีก็แล้วแต่ว่าจะเป็นคดีอะไรแล้วนั้น เราจะถูกคุมตัวไว้ที่ศาล เพื่อให้เราสามารถยื่นทำเรื่องขอประกันตัวหรือยื่นคำร้องขอต่อศาล โดยเราจะถูกควบคุมตัวจนถึงช่วงเย็น หากเราไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวหรือยื่นคำร้องไม่ทันภายในวันนั้น เราจะถูกส่งตัวไปฝากขังที่เรือนจำทันที เรือนจำที่เราจะถูกส่งตัวไปนั้นจะเป็นเรือนจำประจำจังหวัดหรืออำเภอนะครับ ซึ่งจะเป็นเรือนจำเปิดเพราะผู้ที่ถูกส่งตัวเข้ามาที่เรือนจำนั้น บางคนจะเป็นผู้ที่ยังไม่ถูกตัดสินเป็นนักโทษเด็ดขาด เช่น คดีอยู่ในระหว่างทำเรื่องขออุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน หรืออาจจะเป็นผู้ที่ศาลขอฝากขังเพราะอาจจะไม่ได้รับอนุญาตประกันตัวจึงต้องฝากขังไว้ก่อนก็เป็นได้
Advertisement
Advertisement
ผู้ต้องขังใหม่ทุกคนจะถูกส่งเข้าเรือนจำและต้องมาอยู่ที่แดนแรกรับทุกคน ถ้าหากเป็นนักโทษเด็ดขาดแล้วเมื่ออยู่ที่แดนแรกรับแล้วก็จะถูกจำแนกส่งตัวไปแดนอื่นๆ ตามแต่ละคดีหรือจำนวนวันต้องโทษ แต่ผู้ที่ยังไม่เป็นนักโทษเด็ดขาดก็ต้องอยู่ที่แดนแรกรับต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เรือนจำเปิดจึงเป็นเรือนจำที่มีคนเข้าออกทุกวัน ทั้งที่รับคนใหม่และออกไปฟังคำตัดสินที่ศาล เรือนจำเปิดจึงเป็นเรือนจำที่มีความวุ่นวายเพราะจะมีคนเข้า – ออกทุกวัน ส่วนใหญ่เรือนจำเปิดจะคุมขังนักโทษที่มีเวลาจำคุกไม่เกิน 10 – 15 ปี แต่ถ้าหากได้รับคำตัดสินต้องโทษเกิน 10 – 15 ปีขึ้นไป ก็จะต้องถูกย้ายไปขังที่เรือนจำที่มีขนาดใหญ่ต่อไป
เรือนจำปิด
จะเป็นเรือนจำที่ถือว่ามีความมั่นคงสูง สำหรับรับนักโทษที่มีโทษจำคุกสูง 15 – 20 ปีขึ้นไป ซึ่งนักโทษเหล่านี้ก็จะถูกย้ายมาจากเรือนจำเปิดทั่วประเทศหลังจากที่เป็นนักโทษเด็ดขาดเต็มตัวแล้ว ซึ่งนอกจากจะรับเฉพาะนักโทษที่รับโทษสูงทั่วไปแล้ว บางเรือนจำจะรับพวกนักโทษที่ได้รับคำตัดสินจำคุกตลอดชีวิต และนักโทษประหารด้วย ซึ่งประเทศไทยจะมีอยู่เพียง 2 เรือนจำเท่านั้นที่มีแดนประหารสำหรับคุมขังนักโทษและทำการประหารนักโทษได้
Advertisement
Advertisement
สำหรับความแตกต่างของทั้งสองเรือนจำก็ คือ เรือนจำปิดจะไม่รับนักโทษที่ยังไม่เด็ดขาด และจะไม่มีการเข้า - ออก ของนักโทษทุกวัน เรือนจำมีความมั่นคงสูง และมีระบบการคุมขังที่ค่อนข้างจะเข้มข้นมากกว่าเรือนจำทั่วไป มีการคุมขังนักโทษในรูปแบบซูเปอร์แม็กที่มีความมั่นคงสูง มีการตรวจสอบบุคคลที่เข้า - ออก อย่างละเอียด เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฏของเรือนจำ และสิ่งผิดกฏหมายทุกชนิด
และนี่ก็คือความหมายของเรือนจำทั้ง 2 แบบ ทั้งเรือนจำเปิดและเรือนจำปิด ที่ได้มาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันนะครับ ท่านผู้อ่านสามารถรับชมผลงานในเรื่องต่อๆ ไปได้ ใน EP ต่อไปนะครับ
สุดท้ายขอให้เพื่อนผู้อ่านทุกท่านรู้จักระวังในการดำเนินชีวิตไม่ใช้ชีวิตอยู่บนความประมาทและไม่มีสตินะครับ เพียงเท่านี้ ท่านก็จะไม่ต้องเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำได้อย่างแน่นอนนะครับ ขอบพระคุณครับ
Advertisement
Advertisement
สวัสดีครับ
เครดิตรูปภาพ
- ภาพที่1 / Mateusz Walendzik / Pexels
- ภาพที่2 / RODNAE Productions / Pexels
- ภาพที่3 / RODNAE Productions / Pexels
- ภาพที่4 / JCFUL / Pixabay
- ภาพปก / kesie91 / Pixabay
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ขอฝากผลงานการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองและเรื่องราวที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ความคิดเห็น