อื่นๆ

ไปขโมยบุญกัน...บ้านฉันยังมี

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ไปขโมยบุญกัน...บ้านฉันยังมี

เราเคยได้ยินคำพระท่านว่า "ฆ่าอะไร ไม่บาป " ซึ่งคำตอบก็คือ "การฆ่าความโกรธ" แต่ถ้าถามว่า "ขโมยอะไร ไม่บาป" ก็คงต้องตอบว่า "ขโมยบุญสิ ไม่บาป" เรื่องราวจะเกี่ยวกับอะไร ก็ลองมาอ่านกันดู

เตรียมพุ่มผ้าป่าช่วงหลังวันออกพรรษาชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงแถบเมืองกาญจนบุรีจะมีประเพณีอย่างหนึ่งที่เรียกจากคำแปลเป็นภาษาไทยว่า "ขโมยบุญ (อองงุงเชอโบว)" หรือเรียกในภาษาท้องถิ่นที่ถูกต้องว่า "ปุ่งสุกุ่งหล่องทิ" หมายถึง ผ้าบังสุกุลจีวรตกลงมา ความหมายก็คือ ผ้าบังสุกุลหรือผ้าป่าที่ไปถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่งโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า และที่สำคัญก็มากันตอนกลางคืนเพื่อไม่ให้เจ้าถิ่นรู้อีกด้วย โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในแถบอำเภอสังขละบุรีและอำเภอทองผาภูมิ ยังปฏิบัติทุกปี มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้

กรวดน้ำ1. เมื่อคณะสงฆ์และชาวบ้านหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งตั้งใจอยากจะไปทำบุญแบบ "ขโมยบุญ" ก็จะมีการมาตกลงกันว่าจะไปวัดไหนบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงหรือที่สามารถเดินทางไปได้ไม่ยากเกินไป

Advertisement

Advertisement

รวมตัวไปทำบุญ2. จากนั้นก็เตรียมนัดหมายคืนที่จะออกเดินทางพร้อมกองผ้าป่าและของบริวารที่จะไปถวาย ยิ่งวัดที่จะไปถวายอยู่ไกลก็ต้องรีบออกเดินทางโดยเร็ว เงื่อนไขที่นิยมทำกันก็คือ จะไปในช่วงที่คณะสงฆ์และชาวบ้านในหมู่บ้านหลับกันแล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็นเวลาหลังเที่ยงคืนจนถึงช่วงก่อนฟ้าสว่าง (24.00-05.00 น.) เพราะต้องไม่ให้เจ้าบ้านรู้เด็ดขาดว่าจะมีการมาทำบุญที่วัดในหมู่บ้านของตนเอง

เดินทางกลางคืน3. สมัยก่อนไม่มียานพาหนะ คณะทำบุญก็จะเดินย่างเข้าไปที่วัดอย่างช้าๆ ส่วนปัจจุบันอาจจะค่อยๆ ขับรถยนต์เข้าไปหรือจอดไว้ไกลๆ วัดแล้วเดินกันไปเงียบๆ นำกองผ้าป่าและผ้าบังสุกุลวางไว้บริเวณวัดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น หน้าบันไดวัด ลานวัด จุดเทียนไว้เล่มหนึ่ง แล้วชาวบ้านก็จะหลบมุมออกไปในที่มืด

ทำบุญบนวัด4. เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะมีการจุดประทัด ตีกลอง ตีฆ้อง เคาะไม้ ทำเสียงดังอย่างต่อเนื่อง แล้วไปหลบซ่อนตัวกันในความมืดต่อ เสียงที่ดังขึ้นเป็นการส่งสัญญาณให้เจ้าบ้านรู้ ให้พระสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดได้ยิน เมื่อพระสงฆ์ยังไม่แน่ใจว่า "เป็นการมาขโมยบุญหรือเปล่า" ท่านก็จะออกมาส่องไฟไปที่จุดเสียงดัง ก็จะเจอกองผ้าป่าตั้งอยู่ มีเทียนจุดอยู่ก็ทำให้รู้ว่าเป็นการมาทำบุญแบบขโมยบุญแน่นอน

Advertisement

Advertisement

พุ่มผ้าป่า5. พระสงฆ์ท่านก็จะลงไปชักผ้าบังสุกุลที่พุ่มผ้าป่านั้น และกล่าวออกมาถามว่า "พวกท่านเป็นมนุษย์หรือภูตผี ท่านมาดีหรือมาร้าย จงปรากฏตัวออกมา..." ทุกคนค่อยออกมาปรากฏตัวพร้อมตีฆ้องร้องป่าว และเมื่อทราบว่าเป็นใคร มาจากไหนแล้วก็ค่อยเชิญขึ้นไปประกอบพิธีบนวัด

ผ้าป่าบนวัด6. เมื่อยกพุ่มผ้าป่าขึ้นบนวัด พระสงฆ์ในวัดมาร่วมทำพิธี ชาวบ้านที่รู้ก็มาวัด บอกต่อๆ กันว่ามีคณะมาทำบุญ ตีเกราะส่งสัญญาณให้ในหมู่บ้านทราบ เมื่อทุกฝ่ายพร้อม ทั้งพระสงฆ์ ชาวบ้านที่มาทำบุญ และเจ้าบ้านก็เริ่มทำพิธีอาราธนาศีล ฟังพระสวดเมตตาสูตร แล้วกล่าวคำถวายเสร็จ พระท่านให้โอวาทหรือพูดคุยปราศรัย สุดท้ายชาวบ้านที่มาร่วมบุญก็กรวดน้ำตั้งจิตอธิษฐาน นิมนต์พระให้พร เป็นอันเสร็จพิธีขโมยบุญแบบชาวกะเหรี่ยง

ทำบุญประเพณีนี้ก็มีส่วนคล้ายหรืออาจจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับ "กฐินจร" หรือ "กฐินโจร" โดยคำหลังอาจจะเลียนเสียงจาก "กฐินโจล" ที่แปลว่า ผ้ากฐิน (โจน,โจ-ละ แปลว่า ผ้า,ท่อนผ้า) ได้ด้วยเช่นกัน

Advertisement

Advertisement

คำว่า "กฐินโจร" หรือผ้าป่าสายฟ้าแลบ ที่ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า "ปุ่งสุกุ่งหล่องทิ" เพื่อถวายผ้ากฐินและกองผ้าป่าหางกฐิน

ทำบุญถวายพระที่มาของประเพณีนี้ก็คือ กฐินโจร ที่ต้องการสื่อเหมือนวิธีการของโจรที่ไปโดยไม่บอกกล่าว หากแต่เป็นวิธีการทำบุญที่ไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าไว้เช่นกัน ซึ่งต่างจากการทำบุญอย่างอื่นที่ต้องแจ้งล่วงหน้ากันก่อน เป็นการไปแบบกระทันหัน ในส่วนของการขโมยบุญในพื้นที่จึงไปกันหลังเที่ยงคืน ช่วงตี 1-2 กำลังเงียบและเป็นช่วงเวลาที่คนทั่วไปหลับอยู่ และทำเสียงดังเพื่อให้เจ้าของพื้นที่ตกใจและต้องตื่นขึ้นมาดูจึงดูคล้ายกับวิธีการของโจรนั่นเอง

วัดในชนบทจากงานบุญประเพณีที่กล่าวมา ก็ถือเป็นประเพณีเฉพาะพื้นที่ ใครที่อยากร่วมก็ต้องเตรียมตัวเป็นปีๆ และต้องคอยติดตามว่าหมู่บ้านไหนจะทำหลังวันออกพรรษาไปเพียง 1 เดือนเท่าระยะเวลากำหนดการทอดกฐินเช่นกัน สามารถไปขโมยบุญได้หลายวัด มาขโมยบุญกัน หรือจะใช้ภาษาให้ทันสมัยใหม่ว่า "ไปร่วมงานบุญเซอร์ไพรส์" กันเถอะ ได้บุญ...ไม่ได้บาปเลย


ภาพประกอบ โดย ผู้เขียน หลานชายผู้เขียน และจกฺกธมฺโม ภิกฺขุ

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์