อื่นๆ

ทุจริต: ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งกลางมหาสมุทร

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทุจริต: ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งกลางมหาสมุทร

ในระหว่างที่ผมทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยของต้นสังกัด บังเอิญผมไปได้พบข้อคิดเห็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การทุจริตนั้น คงไม่มีใครมองว่าเป็นสิ่งดีแม้แต่ตัวผู้กระทำเอง นอกจากนี้ ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่า ปัญหาการทุจริตภายในประเทศเราไม่มีทางหมดไปเพราะ ต้นตอแห่งปัญหามันยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนที่เป็นข่าวหรือคดีก็เพียงแค่ตัวอย่างผิว ๆ  คล้ายที่เราเห็นภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งส่วนที่โผล่พ้นน้ำ คือ การทุจริตที่มองเห็นและสามารถจัดการได้ แต่ส่วนที่อยู่ใต้น้ำน่าจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้การทุจริตยังมีโอกาสขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม ผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น หรือไม่ก็แรงกดดันจากสังคมที่ ความน่าเชื่อถือ-ยอมรับได้รับการฐานะมากกว่าความดี จึงทำให้ การทุจริตมีหัวเชื้อให้แพร่หลายได้เรื่อย ๆ

icebergeภูเขาน้ำแข็ง กับการทุจริต

Advertisement

Advertisement

อย่างไรก็ดี มีผู้วิจารณ์ว่าโครงสร้างทางสังคมไทยมันเอื้อให้เกิดการทุจริต แม้ว่าผมจะแอบเห็นด้วยบางส่วน แต่ผมอาจจะเห็นแย้งนิดหนึ่งว่า โครงสร้างไม่ผิด ผิดที่คนโกงครับ เพราะต่อให้โครงสร้างทางสังคมไทยจะเปลี่ยนไปดุจตะวันตก ผมว่าการโกงยังคงจะมีอยู่แต่อาจจะเปลี่ยนวิธีการโกงให้จับยากขึ้น เพราะไม่ใครเอาด้วย แต่ถ้าจะให้เหมารวมว่า ทุกวงการใดวงการหนึ่งเป็นศูนย์รวมการทุจริต คงไม่ยุติธรรมนัก เพราะการทุจริตควรเป็นเรื่องส่วนตนมากกว่าส่วนรวมแม้ความความเสียหายจะกระทบภาพรวมก็ตาม สมมุติ เราพบว่า หน่วยงานรัฐในจังหวัดหนึ่งจะหมายถึงมีการทุจริตทั้งจังหวัด หรือ ทั้งภูมิภาคและอาจรวมไปถึงทั้งเทศ เห็นที่คงจะไม่ได้ เสมือน ภูเขาน้ำแข่งหนึ่งที่ดูไม่งดงามท่ามกลางมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล แต่ไม่ได้แปลว่า ภูเขาน้ำแข็งอื่นจะไม่งดงาม อย่างน้อยการใช้มาตรฐานในการวัดความสวยงามก็อาจไม่เป็นสากล ดังนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่สังคมมองว่าทุจริต แต่บางสังคมอาจจะมองว่าไม่ทุจริตก็เป็นได้ คำถามต่อมา แล้วเราจะใช้อะไรเป็นตัววัดว่าอะไรคือการทุจริต คำตอบง่าย ๆ คือ กฎหมาย ครับไม่ใช่ความรู้สึก เพราะกฎหมายน่าจะถือเป็นกติกากลางที่เอาไว้ใช้กำหนดสิทธิ-หน้าที่ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงเปรียบเสมือนมาตรฐานขั้นต่ำที่สังคมควรถือปฏิบัติตาม เพื่อมิให้ละเมิดกฎหมายแล้วมัยจะกลายเป็นความผิดเสีย บางท่านคงถามว่าทำไมต้องกฎหมาย ผมกล่าวแบบง่าย ๆ ไม่ต้องวิชาการมาก คือ สมมุติผมส่งอาหารจานหนึ่งไปให้คุณชิมแล้วถามว่าอร่อยไหม บางท่านอาจบอกว่า อร่อยมาก บางท่านบอกก็พอทานได้ บางคนบอกไม่ไหวจะเคลียร์ เห็นหรือไม่ครับว่าการประเมินคุณค่า (ความอร่อย) ของแต่ละบุคคลมันต่างกัน อาจจะด้วยเหตุผลส่วนตัวที่ยากจะคาดเดาได้ เพราะฉะนั้น กฎหมายจึงสมควรเข้ามาทำหน้าที่ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรต้องทำ ถ้าเกินกว่าที่กำหนดก็ไม่สมควรทำ หรือ ตราบใดถ้าไม่เกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดอยากทำอะไรก็ทำ ขอแค่อยู่ในกรอบกติกา ยกตัวอย่างกฎหมายกำหนดห้ามขับรถเกินกว่า 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ตราบใดที่คุณเคลื่อนที่โดยใช้พาหนะ ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยคุณจะจับพวงมาลัยมือซ้อหรือมือขวา หรือ จะจอดสลับกันขับกับเพื่อน ก็คงไม่มีใครว่าคุณ แต่มีคนอาจสงสัยว่า แล้วขับไม่เกิน 100 กม.ต่อชั่วโมงแล้วใช้โทรศัพท์ได้ไหม มันคนละเรื่องครับ เพราะมันมีข้อห้ามมิให้ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับขี่ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับขับเฉย ๆ โดยไม่โทรศัพท์ที่จะถูกจำกัดความเร็วเพียง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

Advertisement

Advertisement

speed limitตัวอย่าง จำกัดความเร็ว

เฉกเช่นเดียวกันกับการวัดว่าการกระทำใดจะเรียกว่าทุจริตนั้น ก็คงให้ยึดกฎหมายเป็นหลัก ถ้ากฎหมายบอกว่า ทำ 1 2 3 4 5 ว่าเป็นการทุจริต ดังนั้นถ้าทำ 6 7 8 9 10 ก็ไม่ควรจะถือว่าเป็นการทุจริต เว้นแต่ จะพิจารณาการกระทำที่ 6 7 8 9 10 พิเคราะห์แล้วเห็นว่า (3+3) (3+4) (3+5) (3+3+3) (3+3+3+1) จึงสมควรถูกกล่าวโทษว่าเป็นการทุจริต - แถวบ้านผมเรียกเลี่ยงบาลี(มีต่อ)

bribe

ท้ายนี้ขอบพระคุณ ภาพ

1.ปก โดย freepik จาก freepik

2. ที่ 1 โดย macrovector จาก freepik

3. ที่ 2 โดย macrovector จาก freepik

4. ที่ 3 โดย jcomp จาก freepik

5. ที่ 4 โดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์