อื่นๆ

ไม่ใหม่ ไม่สวย แต่ได้ลิขสิทธิ์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ไม่ใหม่ ไม่สวย แต่ได้ลิขสิทธิ์

นับเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ทุกงานสร้างสรรค์ที่จะได้รับลิขสิทธิ์ต้องมีความ "ใหม่+สวย" หรือ ต้องไม่เคยมีการผลิตขึ้นมาก่อน จริง ๆ แล้วในทางกฎหมาย "ความใหม่" นั้นเป็นองค์ประกอบของการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญา (อีกประเภท) ที่เรียกว่า "สิทธิบัตร" (ไม่ใช่ลิขสิทธิ์) แต่ในทางกลับกัน "ลิขสิทธิ์" แม้อาจมีบางท่านเข้าใจว่าต้องใหม่ถึงจะดี แต่นั่นไม่ได้แปลว่าเก่าคร่ำครึจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ทว่า งานเก่าที่ได้รับการรังสรร ในรูปแบบใหม่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะถือเป็นหนึ่งในงานลิขสิทธิ์ เช่น การรีวิวภาพยนตร์ หรือ การรีวิวงานเพลง แม้ตัวภาพยนตร์หรือเพลงจะได้รับความคุ้มครองในฐานะงานที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย (อย่างที่หลายคนทราบ) แต่ผมอยากให้ผู้อ่านพิจารณา "บทวิเคราะห์/วิจารณ์" ซึ่งใครก็ตามที่สร้างสรรค์ขึ้น หากบทวิจารณ์ดังกล่าวเข้าองค์ประกอบดังที่จะได้อธิบายต่อไป จนครบถ้วน บทวิเคราะห์/วิจารณ์ ย่อมได้ลิขสิทธิ์ และไม่ทับซ้อนกับลิขสิทธิ์ของงานภาพยนต์ หรืองานเพลง

Advertisement

Advertisement

ลิขสิทธิ์ต้องสวย?งานเขียนคุณภาพ

ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์

นอกจากนี้หลายท่านยังเข้าใจไปอีกว่างานที่ผ่านการสร้างสรรค์อย่างประณีต + จำเป็นต้องสวยเลิศ หรือได้รับค่าผลตอบแทนจำนวนมากและ/หรือต้องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด แท้จริงแล้วกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้สนใจว่างานสร้างสรรค์ต้องสวย เลิศ หรือเป็นที่นิยม/ได้รับค่าตอบแทนภายหลังจากการสร้างสรรค์แล้ว อย่างที่ทราบว่า สวย-หล่อหรือไม่เป็นเรื่องส่วนตัว ยกตัวอย่างภาพ Abstract ให้ตายเถอะโรบิ้นผมก็ไม่เคยมองว่าภาพนั้นสวยเลย แต่ ภาพ abstact ได้ลิขสิทธิ์นะครับ ดังนั้น งานเขียนคุณภาพนั้น หากเข้าองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด แม้อาจจะมีผู้อ่านบางท่านไม่ปลื้ม แต่นั่นไม่ได้แปลว่างานเขียนดังกล่าวจะไม่ได้รับลิขสิทธิ์

โดยสรุป

  1. ลิขสิทธิ์ ถือเป็นผลิตผลจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นเฉพาะ “แนวความคิด (Idea)” หรือการมโนลอย ๆ ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง (อ้างอิง https://bit.ly/2XxXANZ/https://bit.ly/2XLH4cb) ยกตัวอย่าง ผู้อ่านมีความคิดที่จะเขียน(เล่าเรื่อง)ประสบการณ์เจ๋ง ๆ และคิดจะวางรูปแบบการเขียนทั้งหมดในหัวแล้ว กอปรกับตั้งใจว่าพรุ่งนี้จะเริ่มเขียน เพียงเท่านี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่ให้ความคุ้มครอง จนกว่า จะมีการแสดงออกซึ่งความคิด อาทิ ได้เขียนฉบับร่าง แต่ยังไม่กดส่งเพื่อพิจารณา เพราะอยู่ในขั้นตอนการหาภาพมาประกอบ
  2. งานสร้าสรรค์ต้องเป็นผลผลิตจากผู้ผลิต/เจ้าของงานที่เกิดต้องจาก:
  3. (จากข้อ 2.) ความคิดริเริ่มด้วยตัวเอง เท่ากับว่าห้ามลอกเลียนงานของผู้อื่น ภาษาอังกฤษเรียกว่า originality ดังนั้น ขอเพียงแค่การสร้างสรรค์งานด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใหม่ เท่ากับว่า มีความเป็นไปได้ที่งานสร้างสรรค์งานจะบังเอิญซ้ำกันได้และได้รับการคุ้มครองทั้งคู่แต่ต้องอาศัยทักษะ ความชำนาญ และ/หรือ ความวิริยะอุตสาหะ ตลอดจนวิจารณญาณ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า (Skill(s),Labor, and Judgement ตามลำดับ) 3.1 นอกจากที่กล่าวข้างต้น ผู้อ่านยังต้องมีการแสดงออกซึ่งความคิด (Expression of Idea) หรือผู้อ่านสามารถแปลงความคิดให้จับต้องได้มากที่สุด หรือเปลี่ยนจากนามธรรม(ความคิด)เป็นรูปธรรม 3.2 ต้องเป็นงานที่อยู่ในข่ายความคุ้มครองตามกฎหมายที่ระบุในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 (ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทงานเขียน งานเต้นรำ ศิลปกรรม ดนตรี วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกงานนิพนธ์ วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด เป็นต้น)

Advertisement

Advertisement

ข้อ 1-3.2. อ้างอิงจาก วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม พ.ศ. 2559 หน้า 167 โดย ดารพุธ ศรีธรรมวุฒิ และ วรรณวิภา พัวศิริ, เรื่อง งานอันมีลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์)

4. งานลิขสิทธิ์จึงไม่จำเป็นต้องสวย งดงามและไม่ต้องจดทะเบียน ก็ได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ เข้าสำนวนฝรั่ง คือ Beauty is in the eye of the  beholder แปลว่าความสวยอยู่ที่คนมอง เมื่อความสวยเป็นเรื่องอัตวิสัย(เฉพาะบุคคล) ลิขสิทธิ์จึงให้น้ำหนักที่การสร้างสรรค์ผลงานมากกว่าความสวยงาม

สวยหรือไม่แล้วแต่คนมอง

Beauty in the eye of the beholder = ความสวยอยู่ที่คนมอง

เท่ากับว่า งานสร้างสรรค์ใด ๆ (เช่น งานเขียน) หากเข้าเงื่อนไขที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้น งานเขียนดังกล่าวย่อมได้ลิขสิทธิ์ ก่อนจะลาจากกันไปผมขอให้ข้อคิดว่า “กว่าเราจะมีหลอดไฟฟ้าใช้จนถึงทุกวันนี้ เอดิสัน ทดลองจนล้มเหลวมาตั้งหลายครั้ง” ดังนั้น แม้งานสร้างสรรค์อาจไม่เป็นที่พอใจ แต่ได้อาจลิขสิทธิ์นะครับ

Advertisement

Advertisement

ท้ายนี้กราบขอบพระคุณ

1. ภาพปก (Cr: by Joanna Kosinska from https://bit.ly/2BCRMus)

2. ภาพ งานเขียนคุณภาพ (Cr: byAaron Burden from https://bit.ly/2MrDsaf)

3. ภาพ ลิขสิทธิ์ (Cr: mstlion from https://bit.ly/3eQY73k)

4. ภาพ Beauty is in the eye of the beholder = ความสวยอยู่ที่คนมอง (Cr: Eloise Ambursley from https://bit.ly/3dzHBot)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์