ไลฟ์แฮ็ก
(กับดักปลา) จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว คำที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของไทยเรา ด้วยความเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากร ประชากรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผัก กินและส่งขายเพื่อเป็นรายได้ใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะคนไทยในภาคอีสานส่วนมากเกินกว่า 80% ยึดอาชีพนี้เป็นหลัก ปลูกเองกินเอง หาเองกินเอง หากุ้ง หอย ปู ปลา มาเพื่อประกอบอาหารในแต่ละมื้อ
ภาพโดย : จุง ชาวไร่
การหาปลาล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารยังคงเป็นวิถีชีวิตที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และ ที่ขาดไม่ได้ คืออุปกรณ์ ที่ใช้ในการจับสัตว์ที่มีหลากหลายชนิด จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เรามาดูกันว่ากับดักที่ใช้ในการจับปลาที่ได้มาจากความคิดที่เฉียบคมในการประดิษฐ์ ของภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีอะไรน่าสนใจบ้าง
- ไซ เป็นเครื่องมือดักปลาที่นิยมใช้กันมาก รูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์บวกกับลักษณ์การใช้งานที่เปี่ยมประสิทธิภาพ สามารถดักปลาได้ครั้งละหลาย ๆ ตัวส่วนมากจะเป็น ปลาขนาดเล็ก และ กุ้ง หอย ที่เข้ามาติดในนั้น ใช้สำหรับวางดักบริเวณคันนาหรือแหล่งที่มีน้ำไหลผ่าน
Advertisement
Advertisement
- ลอบ ลักษณะคล้าย ๆ กับไซ ที่เป็นทรงยาว แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า ทั้งด้านปากทางเข้าและขนาดของตัวลอบเอง ซึ่งทำให้ดักปลาหลากหลายขนาด และจำนวนที่มากกว่า ส่วนมากจะเป็น ปลาดุก ปลาช่อน ลักษณะการใช้ บริเวณน้ำที่ไม่ลึกมาก ทั้งน้ำนิ่งและที่น้ำไหลก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
- ตุ้ม รูปทรงแตกต่างจากสองแบบข้างต้นที่เป็นแนวนอนลาดยาวกับพื้น ลักษณะคล้าย หมวง ที่ชาวอีสานไว้สำหรับใส่ของใส่ปลา ใช้ดักปลา ในบริเวณน้ำลึก น้ำนิ่ง ส่วนมาก ปลาที่มาติดก็จะเป็น ปลาตะเพียน ปลาฉลาด และปลาขาว ปลาที่อาศัยในน้ำลึก เป็นต้น
อุปกรณ์ดักปลาทั้งสามนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งสิ้นและมีลักษณะที่สวยงามเป็นเอกลัษณ์ แยกการใช้งานตามแต่ละประเภท ซึ่งบ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์ภูมิปัญญาของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ทั้งสวยงามและใช้งานได้จริง สุดท้ายอยากให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่คู่วิถีชีวิต ให้ตราบนานเท่านาน สวัสดี
Advertisement
Advertisement
จุง ชาวไร่
ความคิดเห็น