ไลฟ์แฮ็ก

ลูกประคบ สมุนไพรพื้นบ้าน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ลูกประคบ สมุนไพรพื้นบ้าน

ลูกประคบสมุนไพร ไม่มีใครไม่รู้จัก มีชื่อเสียงโด่งดังแม้กระทั่งฝรั่งต่างชาติยังพูดถึง นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องที่สร้างชื่อเสียงให้ไทยมาเป็นเวลายาวนาน ด้วยสรรพคุณที่ช่วยผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาและรักษาอาการปวดเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างดี ลูกประคบสมุนไพรจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้รักษาที่เป็นที่นิยมชมชอบทั้งไทยและเทศ1

เครดิตภาพ : www.unsplash.com

ลูกประคบสมุนไพร นั้นเกิดจากการนำเอาสมุนไพรหลาย ๆ ชนิดมาห่อรวมกัน โดยส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรประเภทหอมระเหย เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบมะขาม ขมิ้น  ไพล ผิวมะกรูด น้ำมันหอมระเหย การบูร ใบส้มป่อย ใบเป้า เป็นต้น จากนั้นก็เอาไปนึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบตามร่างกายบริเวณที่ ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ยังสามารกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ขั้นตอนการทำงาของลูกประคบนั้นอาศัยความร้อน เป็นตัวนำพาสารสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ในผ้าที่ห่อ ส่งผ่านรูขุมขนที่เปิดกว้าง ซึบซาบเข้าสู่เนื้อเยื่อ ทำให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลายความตึงเครียด ทั้งยังมีส่วนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจที่เต้นแรงลดลง ส่วนกลิ่นของสมุนไพรจากลูกประคบนั้นยังทำให้มีการหายใจที่โล่งขึ้น2

Advertisement

Advertisement

เครดิต:www.freepik.com

การทำลูกประคบ นั้นไมยยากอย่างที่คิด คือนำเอาสมุนไพรต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น มาหั่นและตำแบบไม่ต้องละเอียดเอาแค่พอหยาบ ๆ เป็นใช้ได้นำมาโรยเกลือ พิมเสน และ การบูร คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาห่อด้วยผ้าข้าวบางขนาดลูกส้มโอ มัดด้วยเชือกให้แน่น นำไปนึ่งประมาณ 15-20 นาทีนำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ ส่วนมากมักจะทำครั้งละ 2 ลูกขึ้นไปเพราะจะเป็นการสะดวกต่อการใช้ในแต่ละครั้ง ไว้สับเปลี่ยนเวลาที่เอาอีกลูกไปนึ่งไม่เสียเวลารอทำให้เวลาประคบไม่ขาดตอน 3

เครดิต : www.freepik.com

วิธีการประคบ สำหรับวิธีการใช้หรือการประคบนั้น ไม่ยากมีไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้

- ขั้นตอนแรกเริ่มจากการจัดท่าคนไข้ให้เหมาะสมเสียก่อน ไม่ว่าจะนอนหงาย นอนตะแคง หรือนั่ง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งว่าจะทำการประคบ สมุนไพรตรงส่วนไหน ก็จัดให้เหมาะสมและสะดวกต่อการทำ

Advertisement

Advertisement

- ต่อมาให้นำลูกประคบที่นึ่งไว้เมื่อร้อนได้ที่แล้วก็นำมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ ก่อนการประคบควรทดสอบความร้อนของลูกประคบก่อน โดยการแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือเพื่อความแน่ใจว่าจะไม่ร้อนจนเกินไป

- ในส่วนของการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรก ๆ นั้น ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางลูกประคบกดหรือแช่ไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้คนไข้ร้อนและทนร้อนไม่ได้

3

เครดิต : www.freepik.com

เมื่อลูกประคบนั้นเริ่มคลายความร้อนลงเราสามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งที่นึ่งไว้แทนได้ และนำลูกเดิมที่ใช้กลับไปนึ่งต่อ เพื่อกลับมาใช้ได้อีกครั้งสลับกันได้ โดยปกติแล้วสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ลูกพร้อม ๆ กันหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความถนัดของแต่ละบุคคล

เครดิตปก : www.freepik.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์