ไลฟ์แฮ็ก

รับมืออย่างไรเมื่อลูกติดโทรศัพท์

287
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
รับมืออย่างไรเมื่อลูกติดโทรศัพท์

ในยุคที่เด็ก ๆ เกิดมาพร้อมเทคโนโลยีมากมาย  เราแทบปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่  5 ของใครหลายคนไปแล้ว  ไม่เว้นแม้แต่เด็กเล็ก ๆ  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน เทคโนโลยีการสื่อสารถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด สื่อต่าง ๆ มีมากมายให้เราได้ศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา  แต่ทุกอย่างบนโลกนี้ย่อมเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านเสมอ เมื่อมีด้านดีก็ต้องมีด้านไม่ดีคู่กันมาถ้าเรารู้ไม่เท่าทันมัน

การที่เด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มากเกินความจำเป็นและไม่ได้มีการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมนั้น ส่งผลให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการทางสมองที่ล่าช้าลง เพราะได้รับการเรียนรู้หรือตอบสนองทางเดียว ผ่านแค่การดูจากหน้าจอเท่านั้น มีผลเสียทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตตามมาหลายอย่าง และการรู้ไม่เท่าทันสื่อ ยังส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ ในด้านการกระบวนการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ  ทำให้ขาดสมาธิ  ความอดทน และมีปัญหาด้านความรุนแรงได้ ดังนั้นเราในฐานะผู้ปกครอง จะทำอย่างไร รับมืออย่างไร เมื่อลูกมีพฤติกรรมติดมือถือ  เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว  ก่อนที่จะสายเกินไปเด็กเล่นโทรศัพท์มือถือ ขอบคุณภาพจาก  https://pixabay.com/th/photos/เด็กผู้หญิง-เด็ก-สาว-ที่น่ารัก-5003421/

Advertisement

Advertisement

1. ปรับทัศนคติด้วยการพูดคุย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่การคุยด้วยเหตุผลเป็นทางออกที่ดีเสมอ อย่าคิดว่าเด็ก ๆ ไม่สามารถที่จะรับฟังเหตุผลให้เข้าใจได้  ลองพูดคุยกับเด็ก ๆ ถึงผลเสียที่ตามมาไม่ว่าจะด้านสุขภาพ สังคม หรือปัญหาต่าง ๆ การใช้เวลากับหน้าโทรศัพท์มากเกินไป เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจว่าทำไมเราต้องมีมาตรการในการลดเวลากับหน้าจอลง  โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ  ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น อย่าใช้อารมณ์  ค่อย ๆ บอกสอนอย่างใจเย็น ๆ นะคะพ่อแม่ลูก ขอบคุณภาพจาก  https://pixabay.com/th/photos/ครอบครัว-คน-เด็ก-รอยยิ้ม-ความสุข-2811003/

2. ปรับลดเวลาการใช้มือถือ เมื่อเราได้พูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการใช้โทรศัพท์มือถือแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อมา คือการกำหนดเวลาการใช้โทรศัพท์ โดยกำหนดเวลาให้แน่นอน และตกลงกับเด็ก ๆ ให้เข้าใจว่าสามารถใช้ได้เวลาไหนได้บ้าง ใช้เวลาเท่าไรในแต่ละครั้ง โดยอาจมีการกำหนดเวลาเพิ่มเป็นรางวัลสำหรับการทำกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ ได้ค่ะ เช่น ทำการบ้านเสร็จถูกหมดทุกข้อ เพิ่มเวลาให้ 5 นาที เป็นต้นเด็กเล่นโทรศัพท์ ขอบคุณภาพจาก  https://pixabay.com/th/photos/เด็ก-โทรศัพท์มือถือ-มาร์ทโฟน-เล่น-1931189/

Advertisement

Advertisement

3. เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ การเลือกสื่อเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะสื่อเหล่านี้นั้นสามารถหล่อหลอมหรือสร้างลักษณะนิสัยบ่างอย่างให้เด็กได้ เด็ก ๆ นั้นมีพฤติกรรมการเลียนแบบได้ง่าย ดังนั้นเขาควรได้รับสื่อที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ เหมาะสมกับวัยและส่งเสริมพัฒนาการของเขา โดยผู้ปกครองควรให้คำแนะนำ และอยู่กับเด็กขณะใช้สื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กในวัยที่ยังแยกแยะสื่อไม่ได้ เพื่อป้องกันการได้รับสื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัยเด็กดูสื่อ ขอบคุณภาพจาก  https://pixabay.com/th/photos/เด็ก-ความบันเทิง-โน๊ตบุ๊ค-4934085/

4. เลือกกิจกรรมหรือสื่อที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันได้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และทำให้คนในครอบครัวมีเวลาร่วมกันมากขึ้น ครอบครัว ขอบคุณภาพจาก  https://pixabay.com/th/images/search/ครอบครัวเล่นเกม/

Advertisement

Advertisement

5. ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ลูกชอบ ควรสนับสนุนให้ลูกมีกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบและมีความหลากหลายเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กด้วย เช่น กีฬา ศิลปะ ดนตรี  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาแล้ว ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วยค่ะเด็กอ่านหนังสือกับแม่ ขอบคุณภาพจาก  https://pixabay.com/th/photos/เด็ก-สนุก-ครอบครัว-รัก-เล่น-ทารก-3046494/

เด็กเล่นดนตรี ขอบคุณภาพจาก   https://pixabay.com/th/photos/มีความสุข-สนุก-เด็ก-นักดนตรี-ไฟฟ้า-3046565/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์