อื่นๆ

การเกิดใหม่ของขยะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การเกิดใหม่ของขยะ

เคยนับไหมคะว่าแต่ละวัน เราเป็น "ผู้ผลิตขยะ" กัน วันละกี่ชิ้น และขยะเหล่านั้น หลังจากทิ้งลงถังแล้ว มันเดินทางไปไหนต่อ?

ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่า มีสัตว์มากมายที่ได้รับผลกระทบจากขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก ไม่ว่าจะเป็น กวางป่า พะยูนที่เกยตื้นตาย เมื่อผ่าท้องออกมา พบว่ามีแต่เศษขยะพลาสติก หรือเต่าทะเลที่ต้องทนทุกข์ทรมาน เพราะมีหลอดกาแฟเสียบคาอยู่ที่จมูก เป็นต้น

ลองนับเล่นๆ ดูในแต่ละวันว่า

  • ถ้าตื่นเช้าขึ้นมาแวะซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้งไปทานที่ทำงาน
  • ตอนบ่าย ต้มน้ำฉีกซองกาแฟเทใส่แก้ว ขณะเดียวกันแกะซองขนมขบเคี้ยว เพื่อทานคู่กับกาแฟ
  • ตกเย็น ซื้อกับข้าวใส่ถุงสองอย่าง  ข้าวเปล่าอีกหนึ่งถุง

รวมขยะพลาสติกต่อหนึ่งวัน เราจะได้ขยะทั้งหมดจำนวนเก้าชิ้น และขยะทั้งเก้าชิ้น ก็จะลงไปเทรวมกับขยะอื่นๆ ในรถขยะที่มาเก็บไปเพื่อรอกำจัด โดยจงใจฝัง  หรือการเผา ในภายหลัง

Advertisement

Advertisement

ซึ่งระหว่างรอการจัดการนี่เอง ที่ "ภูเขาขยะ" มีโอกาสปลิว หรือรั่วไหลไปตามแม่น้ำลำคลอง และลงไปทะเล จนเกิดเหตุสลดต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้ายในที่สุด..


วันนี้ เราจะพามาดูวิธีที่ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก รวมถึงแนะนำวิธีจัดการขยะพลาสติก ไปจนถึงการแปรรูปขยะ เพื่อกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งกันค่ะ

วิธีแรก พยายามลดปริมาณ "การสร้างขยะ" ลงให้มากที่สุด ด้วยการ

  • หันมาใช้ปิ่นโต หรือกล่องพลาสติกที่มีฝาปิด เพื่อทดแทนการใช้ถุงพลาสติก
  • พกแก้วส่วนตัว
  • พกถุงผ้า ใช้แทนถุงหิ้วพลาสติก เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกเรื่อยๆ หรือที่เราเรียกว่า "รียูส" นั่นเองค่ะ

แยกประเภทขยะวิธีการต่อมา คือ "การแยกขยะ" ซึ่งจะทำได้หลายวิธี เช่น

  • เศษอาหารแยกทิ้งลงถังหมัก ทำเป็นปุ๋ย หรือ
  • แยกขยะที่ทำจากพลาสติกทุกชนิด ขวดน้ำ  ขวดแก้วต่างๆ เพื่อขายให้คนเก็บของเก่า
  • กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ ให้ตัด ล้าง และผึ่งให้แห้ง เก็บรวบรวม และจัดส่งไปแปรรูป ทำเป็นหลังคาได้ ตาม "โครงการหลังคาเขียว"

Advertisement

Advertisement

ซึ่งการแยกขยะแบบนี้ ยังแยกย่อยออกไปได้อีก ตามประโยชน์ของการนำไปใช้สอยต่อไป อย่างที่เราเรียกว่า "รีไซเคิล" นั่นเอง

กล่องนม ตัด ล้างสะอาด รอรวบรวม


หรือถ้ามีน้อยชิ้น อาจนำไปรวมกับพลาสติกชนิดอื่น เช่น ซองขนม ถุงหิ้ว ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซองกาแฟ

จากนั้น ให้ตัดเป็นชิ้นๆ เพื่ออัดลงในขวดพลาสติกให้แน่น

วิธีนี้เรียกว่า "การทำขวด ecobrick" เพื่อส่งไปทำเป็นชิ้นส่วน สำหรับงานก่อสร้างแทนการใช้อิฐ หรือเรียกว่า "พลาสอิฐ" ในโครงการ "ผึ้งน้อยนักสู้" หรือส่งไปยังที่ที่รับบริจาคอื่น

การทำecobrick


หากไม่มีเวลาแยกประเภทขยะ หรือไม่อยากเสียเวลาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

เราสามารถรวบรวมขยะทั้งหมด ในนิยามใหม่ที่ง่าย และกว้างขึ้น คือ ขอให้เป็นขยะที่สามารถเผาได้ หรือติดไฟ พวกนี้จะนับรวมตั้งแต่

  • แก้วกาแฟพลาสติก ตะกร้าพลาสติกหักๆ
  • เศษผ้า ของเล่นเก่าที่ทำจากยาง เช่น ลูกบอล
  • โฟมกันกระแทก โฟมห่อผลไม้
  • ซองน้ำยาปรับผ้านุ่ม แปรงสีฟันเก่า
  • หลอดยาสีฟัน ขวดแชมพู สบู่ ครีมทาผิวที่ใช้หมดแล้ว

Advertisement

Advertisement

ให้เก็บรวบรวมขยะทั้งหมด ส่งไปแปรรูป เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน ในเตาเผาโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โดยส่งไปที่ N15 Technology ต่อไปได้

ขยะพร้อมแปรรูปซึ่งวิธีสุดท้าย น่าจะเป็น "วิธีที่ง่ายที่สุด" ลดความยุ่งยากซับซ้อน แต่ยังคงช่วยลดปริมาณขยะ และยังช่วยส่งขยะทุกชิ้นที่เราเป็นผู้ผลิตขึ้นมา ให้ได้ไปสร้างประโยชน์ต่อไป

เรียกง่ายๆ ว่า "เป็นการเกิดใหม่ของขยะ" ได้เลยค่ะ


หวังว่า วิธีการแยกขยะ และส่งขยะแปรรูปไปจนถึงปลายทาง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างนะคะ

ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อโลกเราจะได้น่าอยู่สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมากขึ้นกันค่ะ


ท่านที่สนใจแยกขยะ และจัดส่งขยะไปตามโครงการต่างๆ สามารถส่งไปตามที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

"โครงการหลังคาเขียว" ศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด 30/11 หมู่ 11 ถ.บางนา-ตราด ก.ม.23 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540  โทร. 02-7528575

"โครงการผึ้งน้อยนักสู้" 1/778 อาคารการ์เดนโฮมพลาซ่าโซน2 ถ.พหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

"N15 Tecnology" บริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด 700/754 หมู่ 1 ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี 20160 โทร.086-3342612 คุณสมบูรณ์


ภาพถ่ายทั้งหมด จากผู้เขียนเองค่ะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์