อื่นๆ

ตามไปดู “ตานต๊อด” ประเพณีแปลก ที่เวียงป่าเป้า เชียงราย

440
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ตามไปดู “ตานต๊อด” ประเพณีแปลก ที่เวียงป่าเป้า เชียงราย

ในชนบทของประเทศไทย มักจะมีประเพณีท้องถิ่นหลายอย่างที่คนทั่วไปไม่ทราบกัน แม้จะทำสืบเนื่องกันมาแต่บรรพบุรุษก็ตาม นั่นเพราะไม่ใช่ประเพณีนิยมหรือปรากฏในปฎิทินประเพณีสำคัญของจังหวัดหรือของประเทศ

ครั้งนี้ ผมจะไปดูประเพณีแปลก ที่เวียงป่าเป้า นั่นคือ ประเพณี “ตานต๊อด” หรือ “การให้ทานแบบจู่โจม” ถ้าเรียกตามชื่อสมัยใหม่ก็คือ“โครงการแบ่งสรรปันรัก” ถ้าเป็นคนเฒ่าคนแก่ก็จะเรียกว่า “พิธีทำบุญตานต๊อดผ้าป่า”  เป็นประเพณีสำคัญของชุมชนบ้านแม่ห่าง ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งจัดมาต่อเนื่องทุกปีพระโยมในศาลา

พระครูโฆษิตสมณคุณ (สมชาติ ฐิติปญฺโญ) ซึ่งเป็นประธานในการจัดมาแทบทุกปี เลาสให้ฟังว่า กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่วัดและชุมชนช่วยกันทำขึ้นมาตั้งแต่อดีต มีวัตถุประสงค์ชัดเจน คือต้องการช่วยเหลือและสงเคราะห์ชาวบ้านในชุมชนด้วยกันเอง ด้วยการแบ่งปันอาหารการกินข้าวของเครื่องใช้ให้คนยากลำบากในชุมชน ภาษาพระเรียกว่า เรียกว่า ทานมัย ถือว่าเป็นการสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง ในแต่ละปีจะทำวันใดก็ได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนของเพื่อนบ้านหรือพระสงฆ์ในวัดก็ได้ ทั้งนี้ ชาวบ้านในชุมชนมีความเชื่อว่า เวลาเอาสิ่งของให้ไปคนที่ถูกคัดเลือกไว้ หากสามารถทำให้ผู้ที่ได้รับสิ่งของนั้นตกใจมากเท่าใด ก็ยิ่งได้บุญกุศลมากเท่านั้น

Advertisement

Advertisement

การจะทำประเพณีตานต๊อดได้นั้น ต้องมีผู้นำในการตานต๊อด อาจจะเป็นผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พระภิกษุสงฆ์ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์ต้องการทำบุญก็ได้ โดยมีขั้นตอนพิธีกรรมสงฆ์ ดังนี้คือ

จัดประชุมชาวบ้าน เพื่อปรึกษาหารือและสำรวจความคิดเห็นว่า บุคคลใดในหมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านบ้าง

จากนั้น ก็มาช่วยกันเตรียมงานที่วิหารของวัด ต้องจัดทำกันแบบเงียบ ๆ เรียบง่ายไม่มีพิธีรีตองมาก และที่สำคัญคือจะรู้กันเฉพาะกลุ่มที่จะทำบุญเท่านั้น เมื่อช่วยกันรวบรวมสิ่งของทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค ตลอดจนสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ข้าวสารอาหารแห้ง จำพวกของใช้ใครครัวเรือน เช่น สบู่ ยาสีฟัน จำพวกเครื่องมือเครื่องใช้ประจำวัน เช่น มีด จอบ  ก็จะนำสิ่งของทั้งหมดมาจัดเข้าชุดประดับตกแต่งให้สวยงาม และอาจมีต้นเงินเพื่อนำเงินที่ชาวบ้านทำบุญมาเสียบไว้ไปมอบให้ด้วยศาลา พระประธาน

Advertisement

Advertisement

จุดปะทัดต่อมากลุ่มคนที่ร่วมบุญ ก็จะนัดหมายเวลาพร้อมจุดนัดพบเพื่อรวมตัวกันไปทำพิธีตานต๊อด ณ บ้านของเพื่อนบ้านที่ต้องการจะช่วยเหลือ โดยปกติจะทำในเวลากลางคืนประมาณ 4-5 ทุ่ม ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้นตื้นตันใจของผู้รับนั่นเอง เมื่อผู้ร่วมบุญมารวมตัวกัน ณ จุดนัดพบแล้ว ก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีหรือเชิญคนที่เคยบวชเรียนมาแล้วเป็นผู้ทำพิธีสวดและพรมน้ำมนต์ใส่สิ่งของทั้งหมดก่อนที่จะตานต๊อด จากนั้นจึงช่วยกันถือเดินไปยังบ้านที่เลือกไว้อย่างเงียบ ๆ พอนำเอาของทั้งหมดไปวางไว้บริเวณหน้าบ้าน เช่น หัวบันไดเรียบร้อยแล้ว ก็จุดเทียนธูปบูชาตั้งจิตภาวนาอนุโมทนาบุญ แล้วจึงจุดประทัดให้มีเสียงดังเพื่อให้เจ้าของบ้านตกใจตื่น ส่วนกลุ่มคนที่มาร่วมบุญก็จะพากันหลบซ่อนไม่ให้เห็นตัว คอยแอบดูว่าผู้รับจะออกมารับด้วยวิธีใดมอบของให้ผู้ชาย

ในอดีต เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูออกมา เห็นเทียนจุดอยู่หลายเล่มใกล้ ๆ กับสิ่งของที่นำไปให้ก็จะทราบว่า มีคนเอาของมาวางไว้ให้ ถ้าคนเคยบวชเรียนมาแล้วก็จะกล่าวว่า “อิทังเป๋นะปะติถัง..นี่เป็นของผีหรือของคน” แล้วเข้าไปจุดธูปไหว้พระในบ้าน ทำเช่นนี้ประมาณ3 ครั้ง จึงพูดว่า “เห็นทีจะเป็นของคนแน่แล้ว จะรับไว้แล้วนะ ขอให้รับพรด้วย” แล้วก็กล่าวคำให้ศีลให้พร กลุ่มคนที่ร่วมบุญทั้งหมดที่แอบอยู่ก็พากันยกมือไหว้รับพร เสร็จแล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความอิ่มเอมใจในผลบุญที่ได้ทำร่วมกันพระมอบของ

Advertisement

Advertisement

แต่ปัจจุบัน พิธีดังกล่าวก็รวบรัดให้กระชับขึ้นเนื่องจากต้องไปสงเคราะห์บ้านหลายหลัง ดังนั้น พอจุดประทัดเป็นสัญญาณบอกให้เจ้าบ้านออกมารับสิ่งของที่มามอบให้แล้ว ก็ทำพิธีมอบสิ่งของพร้อมกับรับศีลรับพรแล้วก็ไปบ้านหลังอื่น ๆ ต่อจนกว่าจะครบตามที่เลือกไว้ในปีนั้น ๆ ว่ามีกี่หลัง

พระอาจารย์บอกว่า เนื่องจากปีนี้ มีวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การทำกิจกรรมประเพณี “ตานต๊อดหรือแบ่งสรรปันรัก” ต้องปรับรูปแบบอีกครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและสถานการณ์จริงทางสังคม จึงประกาศขอรับบริจาคข้าวสาร อาหารสด ไข่ไก่ เครื่องครัวปรุงอาหาร เพื่อทำข้าวกล่องแจกให้กับชุมชนบ้านแม่ห่างทุกหลังคาเรือน  โดยใช้ Social Distancing เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างเคร่งครัด นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐแล้ว ยังจะทำให้ประเพณี “ตานต๊อดหรือแบ่งสรรปันรัก” สามารถปรับตัวและสืบทอดต่อไปได้ไม่สะดุดอีกด้วย

ที่ตั้ง : วัดแม่ห่าง ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ข้อมูลเพิ่มเติม : พระครูโฆษิตสมณคุณ (สมชาติ ฐิติปญฺโญ) โทร. 0899972792

ขอบคุณภาพประกอบจาก : เพจ เจ้าที่ เชียงราย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แสนธรรมาวตาร
แสนธรรมาวตาร
อ่านบทความอื่นจาก แสนธรรมาวตาร

เรียนรู้ทดลองการใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์จริง​และแบ่งปันเรื่องราวดีๆมีสาระ​สนใจศาสตร์ทุกแขนงที่จุดประกา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์