อื่นๆ

พิธีสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ ต้อนรับปีใหม่

1.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
พิธีสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ ต้อนรับปีใหม่

ภาคเหนือเรานั้นมีประเพณีที่สำคัญของแต่ละจังหวัด โดยอาศัยความเชื่อทางด้านศาสนา การดำเนินชีวิต เข้ามาเกี่ยวข้องและพิธีกรรมต่าง ๆ นั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลดีต่อจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ที่ผู้คนล้วนแล้วแต่ยอมรับ  และปฏิบัติสิบต่อกันมายาวนาน วันนี้ผู้เขียนจะพาทุกท่านเดินทางไปที่จังหวัดน่าน  มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์  มีศาสนาเข้ามาสอดแทรกแนวทางการดำรงชีวิต  ผู้คนนับถือศาสนาพุทธ  ศาสนาคริสต์  ในขณะเดียวกันผู้เขียนเองนับถือศาสนาพุทธ  แต่ละพื้นที่นั้นมีพิธีกรรมดั้งเดิมที่แตกต่างกันออกไป ส่วนวันนี้เราจะพาทุกท่านนั้นมาบอกเล่าถึงเรื่องราว

"พิธีสืบชะตา"



ภาษาล้านนาเรียกว่า “พิธีสืบจ๊ะต๋า” เป็นประเพณีดั้งเดิมและมีความสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนา  โดยเชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุของคนให้อายุยืนยาว หรือต่อชีวิตของบ้านเมืองให้มีความเจริญ และผู้ที่ทำพิธีนั้นจะได้รับ ความร่มเย็นเป็นสุขในชีวิต ความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ  ด้าน และเชื่อว่าสามารถช่วยขจัดภัยอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย

Advertisement

Advertisement

ส่วนพิธีกรรมนั้นแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. สืบชะตาคน
นิยมจัดพิธีกรรมขึ้นเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น หรือฟื้นจากป่วยหนัก  หรือป่วยหนักหากมีการสืบชะตาเพื่อต่ออายุให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น หรือหากบุญวาสนา กรรมเก่ามีเท่านั้น ก็จะสิ้นอายุขัยไปลงภายใน 3 - 7  วัน หรือ นำ วัน เดือน ปี เกิด  ให้อาจารย์วัดดูตำราโบราณ เพื่อทำนายดวงชะตา  หากดวงชะตาต้องสืบชะตา ก็ให้จัดทำพิธีเพื่อความสิริมงคล

2. สืบชะตาบ้าน
นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไปโดยหาสาเหตุไมได้ เช่น หลับตาย  ถือเป็นเรื่องไม่ดีของหมู่บ้านนั้น  คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล

Advertisement

Advertisement

3. สืบชะตาเมือง
จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากความเชื่อทางโหราศาสตร์  สิ่งใดที่ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย  การทำศึกสงคราม  หรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคระบาดกับชาวบ้าน ชาวเมือง

ส่วนตัวผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมพิธีกรรมพร้อมกับครอบครัว ทางวัดของหมู่บ้านได้จัดเตรียมของเอาไว้เพื่อให้ชาวบ้านท่านใดมีความประสงค์ที่จะสืบชะตา สามารถมาทำพิธีกรรมที่วัดได้เลย เพื่อความสะดวกสบายในการพิธี

คนที่จะสืบชะตา ต้องเตรียมของเพื่อไปร่วมกับทางวัดโดยมี
1. ไม้ค้ำสลียาวเท่าตัวคนละ 3 ท่อน โดยการกางแขนออกมาเพื่อวัดความยาวแนวขวาง ปอกเปลือกไม้ออก ให้เหลือแต่แกนกลางของไม้
2. ด้ายกลุ่มนำมาวัดรอบหัวคน  นำมาวัดความสูง  นำมาวัดความกว้าง   คนที่จะทำพิธีอย่างละ  3  เส้น  นำด้ายที่วัดออกมาเรียบร้อยไปหมกกับเทียนให้เนื้อของเที่ยนกับด้ายเข้ากัน
3. เตรียมเทียนขนาดเล็กสุด  ขนาดกลาง  และขนาดเล่มละ 1  บาท
4. เตรียมของใส่บาตร อาหาร  ข้าวสวย  น้ำ นม ขนม ผลไม้  เพื่อถวายทานให้กับญาติผู้ล่วงลับ โดยแยกของออกเป็นถุง ๆ  และเขียนชื่อติด

Advertisement

Advertisement

ดีดีดี

ตื่นเช้า ๆ เพื่อเตรียมข้าวปลา อาหาร เพื่อทำบุญและสืบชะตาเช้านี้กันค่ะ  นำของที่เราเตรียมไว้ไปร่วมทำพิธีที่วัดกันค่ะ
เมื่อเริ่มเดินเข้าวัดของหมู่บ้าน จะเห็นซุ้มในการทำพิธี และเครื่องบูชาต่าง ๆ  มากมาย รอบ ๆ ตัวซุ้มไม้ค้ำสลีนั้นตกแต่งไปด้วยเครื่องประกอบทำพิธีทำจากไม้ง่าม

ดีดี

ดีดี

ไม้ค้ำเล็กขนาดหัวแม่มือยาว 1 ศอก จำนวนเท่าอายุ หรือมากกว่าแต่ไม่เกิน 108   บันได 7 ขั้น หรือ 9 ขั้น   ทำกระดาษทอง เงิน หมากพลู บุหรี่ เมี่ยง ข้าวตอก ดอกไม้ร้อยด้วยด้าย เรียกว่า ลวดคำ ลวดเงิน ลวดหมาก ลวดเมี่ยง ลวด นำมามัดกับบันไดที่ทำ   หม้อน้ำดื่มและกระบวย   หม้อเงิน หม้อทอง  เสื่อ หมอน (ใหม่)    ไม้สะพาน ใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็ง ทำ 2 สะพานทำให้ติดกัน   ตุงค่าคิง (ธงยาวเท่าตัวของเจ้าภาพ)    เทียนค่าคิง สีสายเท่าคิง (เทียนยาวเท่าตัว และฝ้ายยาวเท่าตัวชุบด้วยน้ำมันพืชสำหรับจุดเป็นพุทธบูชา)  กระบอกทราย หรือข้าวสาร ใช้ไม้อ้อยาวเท่านิ้วมือบรรจุทรายหรือข้าวสาร จำนวน 2 กระบอก  กระบอกน้ำ ใช้ไม้อ้อ 12 กระบอก   เทียน 4 เล่มหรือเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 108   ช่อน้อย ตุงไชย จำนวน 4 หรือเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 108   ข้าวเปลือก 1 หมื่น (10 ลิตร) ข้าวสาร พัน (หนึ่งลิตร)  งอกมะพร้าว  หน่ออ้อย   หน่อกล้วยกล้วยแก่ เครือ   มะพร้าว 1 ทะลาย   สะตวงหรือกระทงกาบกล้วยใส่เครื่องสรรพโภชนาหาร  ฝ้ายมงคล (ด้ายสายสิญจน์)

นําเครื่องประกอบพิธีทั้งหมดนำมารวมกันตั้งกันไว้ มีไม้ค้ำใหญ่ 3 อันเป็นหลัก ให้ปลายของไม้แต่ละเล่มค้ำสุมรวมกัน แล้วนำของต่าง ๆ วางไว้ที่โคนไม้ค้ำ มัดรวมกับไม้ค้ำบ้าง ไว้ข้างบนสุดยอดไม้ค้ำบ้าง   การสืบชะตาโดยทั่วไปใช้พระสงฆ์ประกอบพิธี เพื่อสวดพระปริตร สวดชยันโต ให้ศีลให้พร และเทศน์สืบชะตา  ทางวัดจะมีอาจารย์วัดคอยแนะนำและชี้แนะการทำพิธีต่าง ๆ

ส่วนพวกเรานั้นเข้าไปนั่งตรงกลางไม้สุม นั่งพนมมือถือสายสิญจน์   เพื่อทำพิธีให้เกิดความสิริมงคลแก่บ้านและครอบครัว เป็นพิธีกรรมเก่าแก่ที่ทำมาแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน  ของประกอบพิธีทุกอย่างล้วนมีความหมาย มีปริศนาธรรมแฝงอยู่ทุกอย่าง เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวล้านนาได้ปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมาหลายชั่วลูกชั่วหลาน เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ  ความเชื่อ  ความศรัทธา  เยาวชนคนรุ่นหลังควรค่ากับการรักษาสืบทอดต่อไปตลอดนานเท่านาน


เครดิตรูปภาพ : ผู้เขียนถ่ายด้วยตัวเองค่ะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์