อื่นๆ

สำนวนใต้เก่านำมาเล่าใหม่ (เกี่ยวกับอุปนิสัยของคนใต้)

1.4k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สำนวนใต้เก่านำมาเล่าใหม่ (เกี่ยวกับอุปนิสัยของคนใต้)

สำนวนภาษา ของแต่ละท้องถิ่นทุกภูมิภาคของไทยนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวในบริบทต่าง ๆ ของสังคม เช่น ความเป็นอยู่ ประเพณีความเชื่อ ฤดูกาล แม้กระทั่ง นิสัยใจคอของคน ในแต่ละท้องถิ่นก็ยังมีบันทึกเรื่องราวเอาไว้ แม้ในปัจจุบันเรื่องราวเหล่านั้นได้คลี่คลายลงแล้วด้วยกาลเวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แต่ปัจจุบันสำนวนเหล่านี้ได้สืบทอดเป็น มรดกทางวัฒนธรรมทางภาษา ที่ยังมีคนใช้พูดอยู่จวบปัจจุบัน วันนี้ผู้เขียนขอนำท่านผู้อ่าน มาค้นหาที่มาของ สำนวนใต้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยใจคอของคนในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ สำนวนเหล่านี้มีความหมายทั้งเชิงลบและบวก เป็นสำนวนเก่าที่ใช้กันจริง ๆ กับสำนวนที่ว่า

คนดีเมืองสุราษฎร์

คนปราชญ์เมืองคอน (นครศรีธรรมราช)

คนขี้ยอนเมืองสงขลา

คนขี้ด่าเมืองตรัง

คนชังกั้งเมืองลุง (พัทลุง)

Advertisement

Advertisement

คนขี้ยุ่งเมืองปัตตานี

คนเศรษฐีเมืองภูเก็ต

คนขี้เท็จเมืองแร่นอง (ระนอง)

คนจองหองเมืองกระบี่

เริ่มที่สำนวนแรกกันนะครับ คนดีเมืองสุราษฎร์ สำนวนนี้เข้าใจง่าย มาจากชื่อของจังหวัดเลย สุ แปลว่าดี ราษฎร์ แปลว่า ผู้คนในจังหวัด รวมความ แปลได้ว่า เมืองคนดี

วัดวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราชเป็นสถานที่ ๆ นักเพลงบอกนิยมมาโชว์ฝีปากกัน

สำนวนที่ 2 คนปราชญ์เมืองคอน แสดงให้เห็นว่านับแต่อดีต ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นหัวเมืองเอกทางภาคใต้มีนักปราชญ์ กวี ที่มีชื่อเสียงมากทุกยุคสมัย เช่น พระยาตรังคภูมาภิบาล กวีเอกต้นยุครัตนโกสินทร์ ผู้ประพันธ์โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยและโคลงนิราศพระยาตรังอันลือลั่น หรือ นักกลอนเพลงบอกที่มีชื่อเสียง คือ ท่านเจ้าคุณ พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) วัดท่าโพธ์, นายเรือง นาใน, บรมครูปานบอด แห่งหัวไทร, นายเนตร ชลารัตน์ จนถึง ศิลปินแห่งชาติเพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

เพลง การละเล่นเพลงบอกที่นครศรีธรรมราชเป็นปฏิภาณกวีที่นิยมนำสำนวนมาใช้ขับร้อง

สำนวนที่ 3 คนขี้ยอนเมืองสงขลา คำว่า ยอน แปลว่า พูดยุยง มีความหมายในทางลบ แท้จริงแล้วเป็นเพราะอุปนิสัยใจคอของคนสงขลา ที่ไม่ชอบขัดคอใคร มักโอนอ่อนผ่อนตาม จนดูเหมือนเป็นการยุยงมากกว่า ผู้เขียนมีเพื่อนเป็นคนสงขลาหลายคน สังเกตดูเห็นว่าคนสงขลามีนิสัยไม่ค่อยขัดคอใครจริง ๆ ดังสำนวนว่า

พัก บีพีสมิหลาบีช ที่พักริมหาดแหลมสมิหลาดินแดนที่มาของสำนวน คนขี้ยอนเมืองสงขลา

สำนวนที่ 4 คนขี้ด่าเมืองตรัง คำว่า ขี้ด่า หมายถึง ด่าเก่ง มาจากลักษณะนิสัยของคนตรังที่เป็นคนพูดจริงจังแทบทุกเรื่อง เวลาพูดจาก็จะมีสร้อยสบถสาบานออกมาด้วยทุกครั้ง เคยสังเกตเวลานายหลังตะลุงเมืองตรังเล่นหนังตะลุง เวลาพากย์เสียงตัวหนังตะลุงสำเนียงใต้ เช่น นายยอดทอง จะมีสร้อยคำว่า ฟ้าผ่าห่าเลือด ยิ่งได้พูดกับเพื่อนที่สนิทกันมาก ๆ คำเหล่านี้จะออกมาเยอะเป็นพิเศษ เป็นการเสริมรสชาติการพูดจาให้ดูหนักแน่นขึ้น ลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้ดูเหมือนว่าคนตรังด่าเก่ง

Advertisement

Advertisement

สำนวนที่ 5 คนชังกั้งเมืองลุง คำว่า ชังกั้ง คนภาคอื่นอาจจะงง แต่ถ้าเป็นคนภาคใต้ก็คงร้องอ๋อ หมายถึง ทะลึ่งตึงตัง หรือ เกกมะเหรกเกเร ยังมีหลายคำที่มีความหมายเช่นเดียวกันนี้ เช่น จันหวัน, กางหลาง เป็นต้น สำนวนนี้มีความหมายว่า คนพัทลุงสมัยก่อน มีนิสัยทะลึ่งตึงตัง ถ้าเห็นไม่ชอบมาพากลก็จะไม่ยอมลงให้ใครง่าย ๆ เรียกว่าดันให้สุดประมาณนั้น

แดง

แดง ทะเลบัวแดง (ทะเลน้อย) แหล่งท่องเทียวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพัทลุงดินแดนที่มาของสำนวนคนชังกั้งเมืองลุง

สำนวนที่ 6 คนขี้ยุ่งเมืองปัตตานี สำนวนนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจของนักประวัติศาสตร์ยิ่งนัก สมัยก่อนเมืองปัตตานีมักแข็งเมืองชอบยกทัพไปตีเมืองสงขลา (คนขี้เกรงใจคนอื่น) ทีนี้ก็จะเดือดร้อนเมืองคอน (นครศรีธรรมราช) ซึ่งเป็นหัวเมืองเอกทางใต้ที่ต้องยกทัพไปปราบ เพราะเมืองสงขลาสมัยก่อนขึ้นตรงกับเมืองนครศรีธรรมราชนั่นเอง

สำนวนที่ 7 คนเศรษฐีเมืองภูเก็ต ในสมัยก่อนนั้นจังหวัดภูเก็ตเศรษฐกิจดีจากการทำเหมืองแร่ดีบุก คนเลยเรียกว่า เศรษฐีเหมืองแร่ภูเก็ต ทำนองเดียวกับจังหวัดระนองในสำนวนที่ 8

แร่ ภาพถ่ายจากมุมสูงของการทำเหมืองแร่ในปัจจุบัน

สำนวนที่ 8 คนชี้เท็จเมืองแร่นอง (ระนอง) จังหวัดระนอง จังหวัดที่มีฉายาว่า เมืองฝนแปดแดดสี่ นั้น สมัยก่อนคนนิยมขุดแร่กันมาก มีอยู่เกือบทุกตำบล ขุดกันทุกวัน จนกลายมาเป็นชื่อจังหวัดว่า แร่นอง หมายถึง มีแร่มาก เมื่อมีคนถามว่า วันนี้ ขุดแร่ได้มากม้าย (ชุดแร่ได้เยอะไหม) ก็จะตอบว่า ได้หิดเดียว (นิดเดียว) เลยกลายเป็นสำนวนล้อกันว่า คนขี้เท็จเมืองระนอง

สำนวนที่ 9 คนจองหองเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ในสมัยก่อนหรือจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เป็นเมืองที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก เรียกว่า ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ เหตุนี้จึงมีความพอใจในถิ่นที่อยู่ของตน ไม่ค่อยยุ่งกับคนต่างถิ่น คนทั่วไปจึงมองว่าเป็นคนหยิ่งจองหอง ในทัศนะของผู้เขียนคิดว่า คนกระบี่ในสมัยก่อนเป็นคนรักสันโดษมากกว่า

สุสาน สุสานหอยล้านปีแห่งจังหวัดกระบี่ดินแดนที่มาของสำนวนคนจองหองเมืองกระบี่

สำนวนท้องถิ่นของภาคใต้ที่นำเสนอมานี้ ได้บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ในเรื่องสภาพความเป็นอยู่ของคนใต้อดีต ผ่านมุมมองของผู้คนที่กลั่นกรองออกมาเป็นสำนวนเพื่อให้เข้าใจง่าย และใช้พูดกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่าเมื่อไม่มีอดีตที่เรืองรองแล้วจะมีปัจจุบันที่ภาคภูมิได้อย่างไร เช่นสำนวนดังกล่าวที่กลายมาเป็นมรดกทางด้านภาษาที่มีคุณค่า และล้ำค่าที่สมควรอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป

ภาพประกอบบทความทั้งหมดโดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิโรจน์คงจันทร์
วิโรจน์คงจันทร์
อ่านบทความอื่นจาก วิโรจน์คงจันทร์

เปิดโลกกว้างสร้างอักษรด้วยความคิด

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์