อื่นๆ

Cloud gaming ก้าวสำคัญของวงการเกมกับความท้าทายที่ต้องเผชิญ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Cloud gaming ก้าวสำคัญของวงการเกมกับความท้าทายที่ต้องเผชิญ

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทุกคนต่างต้องเก็บตัวอยู่ภายในบ้านของตัวเองตามนโยบายของรัฐที่ต้องการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 บางคนอาจจำเป็นต้องปรับตัวเองโดยทำงานจากบ้านตามมาตรการ work from home ที่บรรดาบริษัทต่างๆ ต่างปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ นอกเหนือจากการนั่งจับเจ่าอยู่บ้านเพื่อทำงาน ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ต้องเก็บตัวอยู่แต่ในที่พัก หากจะออกไปข้างนอก ก็ออกไปเพื่อซื้อหาอาหารและข้าวของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แล้วก็กลับมาที่ห้องพักเพื่อทำงาน นอกจากการทำงาน หลายๆคนอาจใช้โอกาศนี้เป็นเวลาในการพักผ่อนไปในตัว ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะ ดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกม โดยเฉพาะการเล่นเกม นับเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาได้อย่างเต็มที่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนหากไม่นับช่วงวัยเด็กที่มีเวลาปิดเทอมยาวๆให้นั่งเล่มเกม พอพูดถึงเกมแล้วผู้เขียนนึกถึงเทคโนโลยีหนึ่งที่ตอนนี้กำลังได้รับการพัฒนาจากหลายบริษัท โดยคาดหวังว่าสักวันจะเปลี่ยนโฉมหน้าวงการเกมไปอย่างสิ้นเชิง เทคโนโลยีที่ว่านั้นคือการ "สตรีมมิ่งเกม" (game streaming) ในรูปแบบ Cloud gaming

Advertisement

Advertisement

แหล่งที่มา: Design vector created by macrovector - www.freepik.comแหล่งที่มา: Design vector created by macrovector - www.freepik.com

แล้ว cloud gaming ที่ว่านั้นคืออะไร? อธิบายง่ายๆก็คือการรันตัวเกมจากเครื่องเซิฟเวอร์ที่อยู่ห่างไกลและทำการสตรีมเกมกลับมายังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่เราใช้งานอยู่ ตัวเกมนั้นจะถูกประมวลผลและเรนเดอร์โดยคอมพิวเตอร์ที่เซิฟเวอร์ซึ่งมักจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสเปคที่สูงมาก ผ่านการออกคำสั่งจากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งาน นี่ทำให้เราสามารถเข้าถึงเกมโดยปราศจากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือคอนโซลที่มีประสิทธิภาพสูงๆ เราแค่เพียงออกคำสั่งควบคุมจากคอมพิวเตอร์เรา เรียกได้ว่าเราใช้คอมพิวเตอร์เราเพื่อป้อนคำสั่งส่งไปยังเซิฟเวอร์และรับสัญญาณที่ส่งกลับมายังเครื่องเราผ่านการแสดงออกที่หน้าจอ ปล่อยหน้าที่การประมวลผลให้กับคอมพิวเตอร์ที่เซิฟเวอร์ จากหลักการที่บอกไปนั้นเราจะสามารถใช้บริการเล่นเกมได้ คล้ายๆกับบริการที่เรียกว่า video on demand หรือ movie streaming อย่าง Netflix หรือบริการฟังเพลงอย่าง Spotify

Advertisement

Advertisement

แหล่งที่มา: Music vector created by studiogstock - www.freepik.com

แหล่งที่มา: Music vector created by studiogstock - www.freepik.com

ถึงตรงจุดนี้คงรู้สึกว่าเป็นบริการที่น่าจะเข้าถึงได้ง่ายแล้วสิ แต่เรื่องราวไม่ได้ง่ายเช่นนั้น ข้อจำกัดหนึ่งซึ่งทำให้การสตรีมเกมนั้นยังไม่สามารถเปิดบริการได้สมบูรณ์เหมือนบริการสตรีมมิ่งภาพยนต์หรือเพลงก็คือความหน่วงของการส่งสัญญาณ ผู้อ่านอาจจะทราบว่าอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้แม้ว่าจะเร็วดาวน์โหลดหรืออัปโหลดสูง แต่ข้อจำกัดของระยะทางจากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังเซิฟเวอร์นั้นยังถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการพัฒนา การกดแป้นบังคับจากคอมพิวเตอร์เราแล้วเกิดความหน่วงของการแสดงผลบนหน้าจอของเรานับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อเกมเมอร์ทุกคน โดยเฉพาะเกมที่ต้องอาศัยการชิงไหวชิงพริบตัดสินกันด้วยเสี้ยวเวลาอย่างเกมแนว FPS หรือ first person shooting อย่างไรก็ตามก็มีหลายบริษัทพยายามพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างมาตรฐาน cloud gaming อย่างเช่นแพลทฟอร์ม Stadia ของ Google หรือแม้แต่ Geforce now ของ Nvidia ที่ต่างฝ่ายต่างชูจุดเด่นของบริการตัวเอง แต่ก็ยังไม่มีเจ้าไหนที่สามารถปล่อยบริการออกมาโดยไร้ปัญหา ซึ่งทั้งสองเจ้ากำลังเผชิญก็คือความหน่วงของการแสดงผลดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า จำนวนเกมที่ยังน้อยนิดของ Stadia หรือการถอนตัวเกมออกไปของบรรดาผู้พัฒนาเกมจากบริการ Geforce now หลังเปลี่ยนจากเวอร์ชั่นเบต้า มาเก็บค่าบริการ

Advertisement

Advertisement

แหล่งที่มา: Google/Nvidiaแหล่งที่มา: Google/Nvidia

สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่าแต่ละบริษัทจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ต่อไป ใครจะรู้ อนาคตเราทุกคนอาจจะสามารถเล่นเกมกราฟฟิกสูงๆ คุณภาพเต็มเปี่ยมบนอุปกรณ์ธรรมดา และการออกไปอัปเกรดฮาร์ดแวร์อาจกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป

ภาพปกโดย Soumil Kumar จาก Pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์