ไลฟ์แฮ็ก

จุลินทรีย์....จากธรรมชาติ.....เพื่อการเกษตร

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
จุลินทรีย์....จากธรรมชาติ.....เพื่อการเกษตร

จุลินทรีย์....เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งให้โทษและให้ประโยชน์

ย้อนกลับไปตอนสนใจศึกษาเรื่องการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโชน์ในการเกษตร เลยมาแชร์เคล็ดลับ รวมถึงวิธีการคัดเลือกและเพิ่มปริมาณกล้าเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร ในการทำปุ๋ยหมัก


ในปัจจุบันนี้มีผู้ผลิตกล้าเชื้อหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ (Microbial seed) เป็นการค้าใช้กันมาอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้หัวเชื้อกลุ่ม EM ในการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ หรือ ใช้ในการควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อม หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM หรือ Effective microorganism เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้คัดเลือกสรรแล้วนำมาเพาะเลี้ยงด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ ได้แก่ กากน้ำตาล รำข้าว จากการค้นคว้าพบว่าใน EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมากกว่า 100 ชนิด ประโยชน์ที่ทางผู้ผลิตได้อ้างไว้ได้แก่ การปรับปรุงดิน น้ำ เพื่อการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ใน 2 ลักษณะ คือแบบน้ำกับแบบแห้ง ในแบบน้ำนั้นมีการใช้ผสมกับน้ำในอัตราส่วนต่างๆ แล้วใช้รด ราด พ่น เพื่อใช้เป็นปุ๋ยน้ำหรือฮอร์โมนสำหรับพืช หรือใช้ขับไล่แมลง หรือเป็นจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสิ่งสกปรกและสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

โดยในขั้นแรก จะเป็นการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์

  1. ข้าวสวยหุงสุกพอดี
  2. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6X10 นิ้ว
  3. ถาดพลาสติกกระบอกไม้ไผ่ผ่าตามแนวตั้ง
  4. ผ้าขาวบาง
  5. กากน้ำตาล

โดยมีขั้นตอนการทำ ดังนี้

นำข้าวสวยที่หุงเสร็จมาใหม่ๆ มาใส่ในถาดหรือกระบอกไม้ไผ่(ผ่าครึ่งตามแนวนอน) คลุมด้วยผ้าขาวบางแล้วนำไปวางใต้กองใบไม้ที่ทับถมกัน (เช่น ใต้กอไผ่หรือกองปุ๋ยหมัก ) ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

ข้าวสวยที่วางทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เชื้อราที่เติบโตบนข้าวสวยต่อมานำเชื้อรามาผสมกากน้ำตาลประมาณ 10-20% ในน้ำ 1 ลิตร หมักไว้ประมาณ 1 เดือน สามารถนำไปใช้เป็นกล้าเชื้อในการขยายปริมาณทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ

ขั้นตอนการนำเชื้อรามาผสมกับกากน้ำตาลขั้นตอนการผสมเมื่อได้เป็นน้ำหมักที่ต้องการ นำไปผสมกับกองปุ๋ยหมัก หรือเศษใบไม้ที่ทับถม ขึ้นกองวัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก มูลสัตว์และฟางข้าว เศษไม้ใบ ผสมให้เข้ากัน รดน้ำให้ชุ่ม ตามด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์  จากนั้นคลุมกองปุ๋ยหมัก คลุมกองปุ๋ยหมักการคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการนำมาเป็นกล้าเชื้อ โดยนำมาจากแหล่งของจุลินทรีย์ในธรรมชาติโดยใช้ข้าวหุงเป็นเหยื่อล่อ พบว่ามีการเติบโตของเชื้อราหลายชนิด จากนั้นนำไปผสมกับกากน้ำตาลเพื่อทำเป็นปุ๋ยหมัก เมื่อผสมกับกองปุ๋ยหมัก พบว่าเกิดการย่อยสลายกับมูลสัตว์ ซากใบไม้ได้ดี และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงทางการเกษตร และยังทำให้พืชผลให้ผลผลิตที่สวยงามอีกด้วย ยังเป็นการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์