อื่นๆ

ให้ภาพเล่าเรื่อง "ป้ายประกาศงานศพ" วัฒนธรรมข้างทางที่สร้างเอกลักษณ์ของเมืองตรัง

859
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ให้ภาพเล่าเรื่อง "ป้ายประกาศงานศพ" วัฒนธรรมข้างทางที่สร้างเอกลักษณ์ของเมืองตรัง
  • หากจะทัศนาจรไปจังหวัดตรัง สิ่งที่บันทึกอยู่ในความทรงจำของคนใครหลายคนคงไม่พ้นสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง หมู่เกาะทะเลริมฝั่งอันดามันพร้อมดื่มด่ำบรรยากาศยามตะวันตื่นที่ฉายแสงแรกรุ่งรับอรุณเช้าวันใหม่ควบคู่อาหารอันเลื่องชื่อประจำจังหวัดอย่าง ติ่มซำ และหมูย่างเมืองตรัง กระนั้นแม้มีจะสถานที่ท่องเที่ยวและอาหารที่ขึ้นชื่อ จังหวัดตรังยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ยังคงถักทอสืบสานมาจวบจนปัจจุบันนั่นคือ ป้ายประกาศศพ ด้วยปากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เมืองตรังที่กล่าวตรงกันว่าป้ายประกาศงานศพนี้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน แม้นว่าเรื่องของสีขาวดำนั้นอาจจะไม่มงคลเท่าไรนักแต่สิ่งนี้เองที่หากใครคนสนใจจะมีแค่จังหวัดตรังเท่านั่นภาพงานศพ ขอขอบคุณภาพถ่ายจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง

  • ป้ายประกาศงานศพ หรือใบประกาศงานศพ เกิดขึ้นเมื่อครั้งหมู่คนจีนที่เข้ามาในจังหวัดตรัง การเข้ามาของกลุ่มคนจีนนั้นมีมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3-5 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทางภาคใต้คนจีนก็ได้เหยียบอย่างเข้ามาในสองฝั่งคาบสมุทร ซึ่งเป็นจีนที่มาจากหลายมณฑลด้วยกันอาทิ จีนไหหลำและจีนแต้จิ๋วจากเกาะไหหลำจาก มณฑลกวางตุ้งจีนฮกเกี้ยนและจีนแคะจากมณฑลฟูเกียนและกวางตุ้ง ชาวจีนเหล่านี้เข้ามาค้าขายหรือบางกลุ่มเข้ามาทำงานแลกแรงเปลี่ยนเป็นเงิน เมื่อเข้ามาอยู่ในพื้นที่ต่างๆแล้วชาวจีนได้เอาวัฒนธรรมจีนของตัวเองเข้ามาทั้งยังเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมของตนไปด้วยชาวจีนที่มาตั้งรกรากในภาคใต้เอง เป็นสิ่งสำคัญต่อการเสริมสร้างและปรับเปลี่ยนวิธีคิดพร้อมวิถีการดำเนินชีวิตของคนในแต่ละชุมชนทั้งด้านภูมิปัญญา และประเพณีอันส่งผลต่อคนและชุมชนนั้นก่อให้เกิดความหลาหลายทางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภาพใบประกาศงานศพสองภาษา ขอขอบคุณภาพถ่าย หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง

Advertisement

Advertisement

เริ่มต้นของป้ายประกาศงานศพของจังหวัดตรังนี้ก็ได้รับอิทธิพลจากกกลุ่มคนจีนที่พลัดที่นาคาที่อยู่ เข้ามาทำการค้าขายตั้งรกรากหาเลี้ยงชีพ ในท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ชาวจีนเข้ามาในสมัยก่อนนั้นต้องดำรงหาเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบากต้องทำมาหากินและอยู่ห่างไกลกันเมื่อมีผู้ตาย ก็จะเริ่มเขียนกับพู่กันจีนประกาศบนกระดาษที่หาได้โดยเริ่มจากการเขียนแผ่นกระดาษเป็นใบปลิวและเป็นกระดาษ ไปติดที่ร้านกาแฟให้ญาติมิตรได้ทราบหรือคนรู้จักด้วยกันได้ทราบถึงการตาย ระยะแรกนั้นจะเป็นภาษาจีนทั้งหมดเพื่อเป็นการติดต่อระหว่างกลุ่มคนจีนด้วยกัน เมื่อระยะเวลาผันผ่านไปหลายปี คนจีนที่เข้ามาในตรังมาลงหลักปักฐานมาเป็นเวลานานควบคู่กับการมีปฎิสัมพันธ์กับคนพื้นที่มีการแต่งงานระหว่างสองเชื้อสายเกิดขึ้นในจังหวัด เป็นการขยายผสมผสาน อัตลักษณ์ พร้อมกับในขณะนั้นโรงพิมพ์เริ่มเข้ามา ป้ายประกาศงานศพเริ่มมีการแพร่หลายขยายวงกว้างขึ้นและในป้ายประกาศก็ปรากฎสองภาษาคือภาษาไทยและภาษาจีน การประกาศงานศพ ที่เป็นใบประกาศ เป็นการประกาศบอกข่าวการตั้งบำเพ็ญกุศลศพให้สาธารชนทราบ ซึ่งชาวไทยท้องถิ่นจังหวัดตรังไม่บอกข่าวการตั้งศพบำเพ็ญศพด้วยบัตรเชิญหรือเชิญแขกเฉพาะบุคคลเป็นรายๆ ไปอย่างเหมือนจังหวัดอื่นๆ โดยการพิมพ์ ใบประกาศงานศพนี้ได้มีรายละเอียดถึง ชื่อผู้ตาย อายุ วันที่ ตาย สาเหตุการตาย สถานที่ตั้งบำเพ็ญกุศลศพ วันงานและวันเริ่มงาน วันเวลาฌาปนกิจศพ สถานทีฌาปนกิจศพ และคณะเจ้าภาพ ทั้งสองฝ่ายของผู้ตาย  เจ้าภาพจึงจัดพิมพ์ใบประกาศงานศพเสร็จก่อนวันตั้งบำเพ็ญกุศลอย่างน้อย7วัน หรืออาจจะน้อยกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาห่างระหว่างวันตายกับวันตั้งบำเพ็ญกุศลศพ แล้วนำไปติดประกาศตามสถานที่ชุมชนหนาแน่น หรือหมู่บ้านที่มีญาติพี่น้อง คนรู้จักหรือคนที่อยู่อาศัยในที่นั้น มีคนสัญจรไปมาเห็นได้ชัด อย่าง ร้านกาแฟ บริเวณสามแยกสี่แยก ตลาด คิวรถใบประกาศงานศพยุคปัจจุบัน ภาพถ่ายโดยผู้เขียน

Advertisement

Advertisement

บล๊อคพิมพ์ใบประกาศงานศพแต่ก่อน ภาพถ่ายโดยผู้เขียน

แท่นพิมพ์ที่ลงใบประกาศ ภาพถ่ายโดยผู้เขียน

กล่าวโดยสรุป ป้ายประกาศงานศพนี้เริ่มต้นจากหมู่คนจีนที่ได้เข้ามาพื้นที่ในจังหวัดตรังเกิดการมีปฎิสัมพันธ์กับคนไทยในพื้นที่ผสมผสานวัฒนธรรมของสองเชื้อชาติ  กระนั้นแล้วป้ายประกาศงานศพยังจะเป็นข้อความสุดท้ายที่สื่อให้ญาติพี่น้องของผู้สูญเสียได้รับรู้และได้มาแสดงความอาลัยครั้งสุดท้ายแก่ผู้สูญเสียร่วมกันแล้วนั้น อีกทั้งป้ายประกาศงานศพยังเป็นวัฒนธรรมข้างทางที่ยังหลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของคนตรังที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบันนี้

อ้างอิง

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดตรัง

สุนทรีย์ สังขยุทธ์ (2559 ) หนังสือ ตรังเมือง เมืองท่าอันดามัน

เทศบาลนครตรัง ( 2559 )หนังสือ แลตรัง เมืองตรังใต้ร่มพระบารมี

วงศ์สุรา(  2545 ) วารสารสมาคมฮกเกี้ยน  การจัดการงานศพ.

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์